กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาวะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการจัดตั้งศูนย์สถานที่กักกัน (Local Quarantine) ในระดับท้องถิ่น

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาวะ

องค์การบริหารส่วนตำบลกาวะ

หอประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลกาวะ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

 

100.00

ด้วยจังหวัดนราธิวาส ได้มีคำสั่งฯ ที่ 2146/2564 ลงวันที่ 11 เมษายน 2564 เรื่อง การประกาศสถานที่กักกัน (Local Quarantine) จำนวน 34 แห่ง เพื่อเป็นสถานที่กักกัน (Local Quarantine) เพื่อสังเกตอาการผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และมติที่ประชุม เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2564 เวลา 15.30 น ณ ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดนราธิวาส มีมติให้เตรียมการจัดตั้งสถานที่กักกันเพิ่มเติม ในระดับท้องถิ่น ตำบล หรือชุมชน
เพื่อรองรับผู้เข้ากักกันจากสถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกใหม่ ภายในประเทศ ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลกาวะ จึงได้จัดทำโครงการจัดตั้งศูนย์สถานที่กักกัน (Local Quarantine) ในระดับท้องถิ่นขึ้น พร้อมปรับปรุงสถานที่ให้มีความเหมาะสมตามหลักเกณฑ์และมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข รวมไปถึงการเตรียมการในการจัดหาอาหารสำหรับผู้กักกันไว้ให้พร้อม เพื่อเร่งดำเนินการป้องกัน ควบคุมการแพร่กระจายโรค และการสร้างสุขนิสัยส่วนบุคคลให้ถูกต้อง รวมไปถึงการให้ข้อมูลที่ถูกต้องและคัดกรองภาวะเสี่ยง
แก่ประชาชนในพื้นที่ ช่วยลดผลกระทบในด้านเศรษฐกิจและสังคมต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดบริการกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงใน LQ

ร้อยละของบุคคลที่มีความเสี่ยงได้รับการกักตัว

100.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 10
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองและกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงในสถานที่กักกัน (Local Quarantine)

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองและกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงในสถานที่กักกัน (Local Quarantine)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • คัดกรองและกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงในสถานที่กักกัน
  • งบประมาณ
  1. ค่าอาหารสำหรับผู้ถูกกักกันและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในบริเวณสถานที่ควบคุมเป็นเงิน31,500 บาท 1.1 ค่าอาหารและเครื่องดื่มสำหรับกักตัวบุคคลที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง จำนวน 10 คนๆ ละ 3 มื้อๆ ละ 50 บาท14 วัน เป็นเงิน 21,000 บาท 2.2 ค่าอาหารและเครื่องดื่มสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ณ ศูนย์กักกัน จำนวน 5 คนๆ ละ 3 มื้อๆ ละ 50 บาท14 วัน เป็นเงิน 10,500 บาท

  2. ค่าวัสดุ/อุปกรณ์สำหรับผู้ถูกกักกันในสถานที่ควบคุม เพื่อสังเกตการณ์ เป็นเงิน 19,210 บาท 2.1 ค่าชุด PPE สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ณ ศูนย์กักกัน จำนวน 6 ชุดๆ ละ 270 บาท เป็นเงิน 1,620 บาท 2.2 ค่าเสื้อกันฝนสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ใช้เพื่อป้องกันเชื้อโรค จำนวน 12 ชุดๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 360 บาท 2.3 หน้ากากอนามัย จำนวน 20 กล่องๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท 2.4 เจลล้างมือแอลกอฮอล์ จำนวน 20 ขวดๆ ละ 190 บาท เป็นเงิน 3,800 บาท 2.5 น้ำยาฆ่าเชื้อสำหรับทำความสะอาด Alcohol 99% จำนวน 2 ขวดๆ ละ 550 บาท เป็นเงิน1,100 บาท 2.6 ถุงมือยาง จำนวน 2 กล่องๆ ละ 250 บาท เป็นเงิน 500 บาท 2.7 แอลกอฮอล์ความเข้มข้น 70% จำนวน 3 ขวดๆ ละ 90 บาท เป็นเงิน 270 บาท 2.8 ปลั๊กพ่วงสายยาว 5 เมตร จำนวน 10 อันๆ ละ 170 บาท เป็นเงิน 1,700 บาท 2.9 ปลั๊กพ่วงสายยาว 10 เมตร จำนวน 1 อันๆ ละ 220 บาท เป็นเงิน 220 บาท 2.10 ตาข่ายกรองแสง (สแลน) จำนวน 1 ม้วน เป็นเงิน 2,000 บาท 2.11 แคร่จากไม้ไผ่ จำนวน 2 ตัวๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท 2.12 ค่าอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับกักตัวบุคคลที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง

    • ไม้แขวนเสื้อ จำนวน 10 แพคๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 300 บาท
    • ผ้านวม จำนวน 1 ผืนๆ ละ 280 บาท เป็นเงิน 280 บาท
    • หมอน จำนวน 5 ใบๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 500 บาท
    • ปลอกหมอน จำนวน 10 ใบๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 600 บาท
    • ถังมีฝาปิด จำนวน 2 ใบๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 300 บาท
    • ตะกร้าเหลี่ยมลายหวายมีฝาปิด จำนวน 2 ใบๆ ละ 130 บาท เป็นเงิน 260 บาท
    • ถุงขยะดำ (เล็ก) จำนวน 3 แพคๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 90 บาท
    • ถุงขยะดำ (ใหญ่) จำนวน 3 แพคๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 180 บาท
    • ถังขยะ (เล็ก) จำนวน 2 ถังๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 60 บาท
    • ถังขยะอันตราย (ถังแดง) จำนวน 1 ถังๆ ละ 250 บาท เป็นเงิน 250 บาท
    • กระดาษทิชชู่ จำนวน 10 ห่อๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 300 บาท
    • ผงซักฟอก จำนวน 10 ห่อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 250 บาท
    • แก้วน้ำ จำนวน 2 ใบๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 50 บาท
    • ชาม จำนวน 2 ใบๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 60 บาท
    • พัดลม จำนวน 3 ตัวๆละ 350 บาท เป็นเงิน1,050 บาท
    • สบู่ก้อน จำนวน 1 โหลๆ ละ 120 เป็นเงิน 120 บาท

- แป้งฝุ่น จำนวน 1 โหลๆ ละ 160 บาท เป็นเงิน 160 บาท - แปรงสีฟัน จำนวน 1 โหลๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 150 บาท - ยาสีฟัน จำนวน 1 โหลๆ ละ 160 บาท เป็นเงิน 160 บาท - แชมพู จำนวน 1 โหลๆ ละ 260 บาท เป็นเงิน 260 บาท - ผ้าห่ม จำนวน 2 ผืนๆ ละ 130 บาท เป็นเงิน 260 บาท 3. ค่าป้ายไวนิล ป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.2 X 2.4 เมตร ตารางเมตรละ ๒๕๐ บาท เป็นเงิน 720 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

บุคคลที่มีความเสี่ยงได้รับการกักตัวในสถานที่กักกัน (Local Quarantine) จำนวน 10 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
51430.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 51,430.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 สามารถคัดกรองกลุ่มผู้ที่มีภาวะความเสี่ยง พร้อมนำไปสู่ระบบการรักษาตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุขต่อไป
2 สามารถป้องกัน ควบคุมการแพร่ และการระงับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลกาวะได้อย่างมีสิทธิภาพ
3 สร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนตระหนักถึงการป้องกันตนเอง และบุคคลในครอบครัว
4 สามารถบูรการการทำงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐและเอกชนได้อย่างรวดเร็ว ตามนโยบายของภาครัฐในสภาวะสถานการณ์ฉุกเฉิน


>