กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเกาะนางคำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ของนักเรียนโรงเรียนบ้านท่าเนียน ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเกาะนางคำ

โรงเรียนบ้านท่าเนียน

ตำบลเกาะนางคำ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

พญ.พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย กล่าวถึงมาตรการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียนว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย (WHO Thailand) องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จัดทำคู่มือเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียนของสถานศึกษา ตามที่องค์การเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติและองค์กรภาคี ได้เสนอกรอบแนวทาง 6 มิติ เชื่อมโยงกับมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด 19 ของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) (ศบค.) เพื่อคุ้มครองสุขภาพและความปลอดภัยของนักเรียน
โดย 6 มาตรการหลักในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในสถานศึกษาประกอบด้วย
1.มีมาตรการคัดกรองวัดไข้และอาการเสี่ยงก่อนเข้าสถานศึกษา
2.สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
3.จัดจุดล้างมือหรือเจลแอลกอฮอล์อย่างเพียงพอ
4.จัดระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1-2 เมตร
5.ทำความสะอาดห้องเรียน/พื้นผิวสัมผัสร่วม เปิดหน้าต่างประตู ระบายอากาศ
6.ไม่จัดกิจกรรมรวมกลุ่มคนจำนวนมาก เหลื่อมเวลา ลดเวลาทำกิจกรรม
จาก 6 มาตรการหลักในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในสถานศึกษา ดังกล่าวข้างต้นทางโรงเรียนบ้านท่าเนียน ยังประสบปัญหาด้านงบประมาณในการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ เพื่อใช้ในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ได้แก่ เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรดเจลแอลกอฮอล์ ที่กดเจลแบบเหยียบ หน้ากากอนามัยผ้า สายคล้องคอ อีกทั้งนักเรียนยังขาดความรู้และความตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ที่ถูกต้อง ทางโรงเรียนบ้านท่าเนียน จึงจัดทำโครงการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ของนักเรียนโรงเรียนบ้านท่าเนียนขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้คณะครู บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนโรงเรียนบ้านท่าเนียน มีความรู้ในการป้องกันโรคติดต่อเชื้อไวรัสโควิด 19 (COVID-19) และปฏิบัติตนได้ถูกต้องทั้งใน โรงเรียนและในการดำเนินชีวิตจริง

คณะครู บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนในโรงเรียนบ้านท่าเนียน จำนวน 35 คน มีความรู้ในการป้องกันโรคติดต่อเชื้อไวรัสโควิด 19 (COVID-19) และปฏิบัติตนได้ถูกต้องทั้งใน โรงเรียนและในการดำเนินชีวิตจริง

0.00
2 เพื่อสร้างความตระหนักให้แก่คณะครู บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนโรงเรียนบ้านท่าเนียน ในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 (COVID-19)

คณะครู บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนในโรงเรียนบ้านท่าเนียน จำนวน 35 คน มีความตระหนัก ในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 2019 (COVID-19)

0.00
3 เพื่อให้คณะครู บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนมีความรู้ในการทำหน้ากากอนามัยผ้าและสามารถซ่อมแซมหน้ากากอนามัยผ้าเมื่อชำรุดได้ด้วยตนเอง

คณะครู บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนในโรงเรียนบ้านท่าเนียน จำนวน 35 คน มีความรู้ในการทำหน้ากากอนามัยผ้าและสามารถซ่อมแซมหน้ากากอนามัยผ้าเมื่อชำรุดได้ด้วยตนเอง

0.00
4 เพื่อให้มีวัสดุ อุปกรณ์ เพียงพอต่อการดำเนินงานเฝ้าระวัง และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโควิค 19 ให้กับคณะครู บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนในโรงเรียนบ้านท่าเนียน และผู้มาติดต่อราชการในสถานศึกษา

คณะครู บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนโรงเรียนบ้านท่าเนียน จำนวน 35 คน มีวัสดุ อุปกรณ์ เพียงพอต่อการดำเนินงานเฝ้าระวัง และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 อีกทั้งยังเพียงพอต่อการรองรับผู้มาติดต่อราชการในสถานศึกษา

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 29
กลุ่มวัยทำงาน 6
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19และ ให้ความรู้เรื่องสุขบัญญัติ ๑๐ ประการ
  • กิจกรรมอบรมสอนทำหน้ากากอนามัยผ้าและการซ่อมแซมหน้ากากอนามัยผ้าเมื่อชำรุดได้ด้วยตนเอง
  1. ค่าวิทยากร จำนวน 2 คน ชั่วโมงละ 600 บาท คนละ 2 ชั่วโมง (4×600=2,400)  เป็นเงิน 2,400 บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ของวิทยากรและผู้เข้าอบรมจำนวน 37 คนๆละ 2 มื้อๆละ 30 บาท (60×37=2,220) เป็นเงิน 2,220 บาท
  3. ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม ของวิทยากรและผู้เข้าอบรมจำนวน 37 คนๆละ 1มื้อๆ ละ 70 บาท(37×70=2,590) เป็นเงิน 2,590 บาท
  4. ค่าวัสดุ - อุปกรณ์ ในการอบรมให้ความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 และ ให้ความรู้เรื่องสุขบัญญัติ ๑๐ ประการ เป็นเงิน 360 บาท รายละเอียดดังนี้

- กระดาษปรู๊ฟ 6 แผ่น ขนาด 80×112 แผ่นละ 10 บาท (6×10=60บาท) - สีเมจิก 6 กล่องๆละ 50 บาท (6×50=300บาท) 5. ค่าวัสดุ-อุปกรณ์ ในการอบรม(ทำหน้ากากอนามัยผ้า) เป็นเงิน 1,877 บาท รายละเอียดดังนี้ - ผ้าฝ้าย สำหรับทำหน้ากากอนามัยผ้า ชั้นนอก 8 หลาๆละ 60 บาท (8×60=480 บาท) - ผ้าฝ้ายสีขาว สำหรับทำหน้ากากอนามัยผ้า ชั้นใน 8 หลาๆละ 60 บาท (8×60=480 บาท) - ยางยืดแบบแบนสีดำ ขนาด 2.7 มิล 10 เมตรๆ ละ 6 บาท(6×10=60 บาท) - เข็มเย็บผ้าขนาดเล็ก จำนวน 3 เซต  เซตละ 12 เล่ม ราคาเซตละ 29 บาท (3×29=87 บาท) - ด้ายเย็บผ้าขนาด 3.5 ซ.ม.×4.5 ซ.ม. จำนวน 6 หลอดๆละ12 บาท (6×12=72 บาท) - เข็มหมุด 1 แผงมี 18 เล่ม แผงละ 5 บาท จำนวน 10 แผง (5×10=50 บาท) - ชอล์คขีดผ้าแบบแท่ง จำนวน 6 แท่งๆละ 8 บาท (6×8=48 บาท) - กรรไกรตัดผ้า ขนาด 8 นิ้ว จำนวน 6 เล่มๆละ 100 บาท (6×100=600 บาท) รวม  9,447  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9447.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • เจลล้างมือแอลกอฮอล์ 70% ขนาด 5 ลิตร จำนวน 5 แกลลอนๆละ 450 บาท เป็นเงิน  2,250 บาท
  • สบู่เหลวล้างมือ ขนาด 5 ลิตร 5 แกลลอนๆละ 450 บาท เป็นเงิน 2,250 บาท
  • ค่าหน้ากากอนามัยผ้า จำนวน 87 ชิ้นๆละ 20 บาท เป็นเงิน  1,760 บาท
  • สายคล้องคอ สำหรับใส่หน้ากากอนามัย จำนวน 29 ชิ้นๆละ 20 บาท เป็นเงิน 580 บาท
  • เครื่องวัดอุณหภูมิ 1 เครื่อง เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ที่กดเจลแบบเหยียบ 1 เครื่อง เป็นเงิน 1,200 บาท
    รวม  10,540 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10540.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,987.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนได้รับความรู้จากการอบรมจากวิทยากร เรื่อง โรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 และสุขบัญญัติ ๑๐ ประการ
2. นักเรียนสามารถทำหน้ากากอนามัยผ้าได้และสามารถซ่อมแซมหน้ากากอนามัยผ้าเมื่อชำรุดได้ด้วยตนเอง
3. นักเรียนมีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพป้องกันโรคโควิด 19 ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
4. นักเรียนนำความรู้ไปเผยแพร่แก่ผู้ปกครองและบุคคลในครอบครัวได้


>