กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลท่าบอนร่วมใจขับเคลื่อนศูนย์กักกัน และศูนย์พักคอย ปี 2565

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าบอน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลท่าบอนร่วมใจขับเคลื่อนศูนย์กักกัน และศูนย์พักคอย ปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าบอน

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

อาคารอเนกประสงค์ ม.8 และในตำบลท่าบอน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบทางสุขภาพ ด้านร่างกาย จิต สังคม และปัญญา

 

90.00
2 จำนวนจิตอาสาและอสม.(คน)ที่สามารถมาช่วยเหลือคนในชุมชนได้

 

50.00
3 ร้อยละของคนที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโควิด-19 ที่ได้รับการดูแล ป้องกัน เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหอบหืดและระบบทางเดินหายใจ)

 

80.00

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งย่อมาจาก “Coronavirus disease 2019”เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส ที่ระบาดเมื่อปี 2545 ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบเฉียบพลัน ปอดอักเสบและมีภาวะแทรกซ้อน พบแหล่งกำเนิดจากเมืองอู่ฮั่น มลฑลหูเป่ย ประเทศจีน จากที่มีผู้ป่วยมีอาการคล้ายปอดอักเสบและไข้หวัดใหญ่เป็นจำนวนมาก จึงมีการเก็บตัวอย่างของคนไข้เหล่านี้ไปถอดรหัสพันธุกรรมและพบว่าเป็นเชื้อไวรัสโคโรนา ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ 7 ที่ถูกค้นพบ เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส (SARS) และเมอร์ส (MERS) สถานการณ์ติดเชื้อไวรัสโคโรนาไวรัส หรือ โควิด-19 ระลอกที่สามตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมาพบว่ามีแนวโน้มทวีความรุนแรงและพบการระบาดในวงกว้างมากขึ้น จำนวนมีผู้ติดเชื้อรายใหม่วันละ 10,000 กว่ารายต่อวัน ประชาชนทั่วไปได้รับการฉีดวัคซีนไม่ถึงร้อยละ 70 ขณะนี้มีมาตรการจากภาครัฐเข้มงวดลดการสัญจร หรือลดการทำกิจกรรมของประชาชนด้วยการปิดเมืองหรือ Lockdown แต่ยังไม่สามารถลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ได้ ส่งผลให้เกินศักยภาพของระบบสาธารณสุขปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจำนวนเตียงไม่เพียงพอสำหรับการรักษาตัวผู้ป่วย เมื่อเกิดสถานการณ์ระบาดที่รุนแรง ผู้ติดเชื้อจะถูกปฏิเสธและต้องรอคอยอยู่ที่บ้านและทำให้คนใกล้ชิดต้องติดเชื้อต่อๆกัน และขยายเข้าสู่ชุมชนในวงกว้างมากขึ้น
ดังนั้น การพัฒนาระบบโรงพยาบาลสนามเพื่อพักคอยเตียง หรือดูแลผู้ป่วยโควิดแก่คนในชุมชน(Community Isolation & Home Isolation) จึงเป็นทางออกเพื่อการรับมือสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 เป็นสถานที่สำหรับรับผู้เดินทางมาจากจังหวัดเสี่ยง ผู้ติดเชื้อหรือผู้ติดเชื้อกลับมากักตัวจากการรักษาที่โรงพยาบาล

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนจิตอาสาที่สามารถช่วยเหลือคนในชุมชน

จำนวนจิตอาสาและอสม.(คน)ที่สามารถช่วยเหลือคนในชุมชนเพิ่มขึ้น

50.00 80.00
2 เพื่อให้มีครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบทางสุขภาพ ด้านร่างกาย จิต สังคม และปัญญา ลดลง

ร้อยละของครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบทางสุขภาพ ทั้งทางกาย จิต สังคม และปัญญาลดลง

90.00 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80
กลุ่มวัยทำงาน 274
กลุ่มผู้สูงอายุ 96
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 73
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,257
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 27/09/2021

กำหนดเสร็จ 30/04/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมผู้นำชุมชน พนักงานและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

ชื่อกิจกรรม
ประชุมผู้นำชุมชน พนักงานและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.แจ้งประชุมคณะผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการ พนักงานและเจ้าหน้าที่อบต.ท่าบอน 2.ประชุมคณะผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการ พนักงานและเจ้าหน้าที่อบต.ท่าบอน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม * กลุ่มข้าราชการ และลูกจ้างประจำ * กลุ่มพนักงานจ้าง 3.ประชุมผู้นำชุมชน อสม. จิตอาสา อปพร. เป็นต้น

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 กันยายน 2564 ถึง 29 ตุลาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการ พนักงานและเจ้าหน้าที่อบต.ท่าบอน มีความรู้ความเข้าใจและร่วมกันดูแลศูนย์กักกัน และศูนย์พักคอย 2.มีคำสั่งแต่งตั้งคำสั่งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานสนับสนุนโรงพยาบาลสนาม ในด้านต่างๆ 3.ประชาชนในชุมชนที่ได้รับการคัดกรองแล้วเป็นผลบวก ได้รับการดูแลและรักษาใช้อาคารอเนกประสงค์เพื่อการกักตัวและรักษาบุคคลที่มีผลการคัดกรองเป็นบวกและไม่มีอาการแทรกซ้อน 4.ผู้ป่วย และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานสนับสนุนศูนย์กักกัน และศูนย์พักคอยมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 การคัดกรองบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้่อโควิด-19

ชื่อกิจกรรม
การคัดกรองบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้่อโควิด-19
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าชุดทดสอบเบื้องต้น (Antigen -Test-Kit) จำนวน 100 ชุด เป็นเงิน 19,000 บาท (ประสาน รพ.สต.ในการจัดซื้อและเอาใช้ชุดทดสอบ ATK ไปใช้ หรือ ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานสาธารณสุข หรือซื้อเพิ่มเติมกรณีไม่เพียงพอ) 2.ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่อสม. หรือ(เบี้ยเลี้ยงตามระเบียบการจ่ายของหน่วยงานขอรับทุน) จำนวน 10 คน x 240 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท( กรณีลงช่วยงาน รพ.สต.) หมายเหตุ:ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 พฤศจิกายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนได้รับการคัดกรองบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 2.สามารถตรวจคัดกรองผู้ป่วยโควิดเบื้องต้น โดย ATK ได้มากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21400.00

กิจกรรมที่ 3 จัดหาเครื่องมือทางการแพทย์สำหรับการปฏิบัติงาน และการปรับปรุงศูนย์กักกัน และศูนย์พักคอย

ชื่อกิจกรรม
จัดหาเครื่องมือทางการแพทย์สำหรับการปฏิบัติงาน และการปรับปรุงศูนย์กักกัน และศูนย์พักคอย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดซื้อเครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟาเรดอัตโนมัติพร้อมจ่ายแอลกอฮอล์ และขาตั้ง จำนวน 2 ชุดๆละ 2,990 บาท เป็นเงิน 5,980 บาท 2.วัสดุและอุปกรณ์ในการปิดกั้น และปรับปรุงอาคารอเนกประสงค์ 1 ชุด เป็นเงิน 9,000 บาท 3.ป้ายไวนิลต่างๆ ในศูนย์กักกัน ศูนย์พักคอย และการกักตัว เป็นเงิน 5,000 บาท หมายเหตุ:ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 กันยายน 2564 ถึง 31 ตุลาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีเครื่องวัดอุณหภูมิใช้สำหรับศูนย์กักกัน และศูนย์พักคอย 2.อาคารสถานที่พร้อมสำหรับการกักตัว 14-28 วัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19980.00

กิจกรรมที่ 4 ค่าตอบแทน และวัสดุทางการแพทย์ และวัสดุอุปกรณ์สำหรับการปฏิบัติงานสนับสนุนศูนย์กักกัน และศูนย์พักคอย

ชื่อกิจกรรม
ค่าตอบแทน และวัสดุทางการแพทย์ และวัสดุอุปกรณ์สำหรับการปฏิบัติงานสนับสนุนศูนย์กักกัน และศูนย์พักคอย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดซื้อแอลกอฮอล์เข้มข้นไม่น้อยกว่า 70 เปอร์เซ็น ขนาด 5 ลิตร แกลลอนละ 425 บาท เป็นเงิน 2,125 บาท 2.จัดซื้อน้ำยาฆ่าเช์้อโควิด-19 ขนาด 10 ลิตร แกลลอนละ 680 บาท เป็นเงิน 680 บาท 3.จัดซื้อชุดสำหรับฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อ PPE(ชนิดใช้ซ้ำ) จำนวน 10 ชุดๆละ 340 บาท เป็นเงิน 3,400บาท 4.จัดซื้อหน้ากากสำหรับฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อและสารเคมี จำนวน 5 ชุดๆละ 240 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท 5.จัดซื้อถุงมือทางการแพทย์ จำนวน 10 กล่องๆละ 290 บาท เป็นเงิน 2,900 บาท 6.จัดซื้อถุงแดงสำหรับใส่ขยะติดเชื้อ ขนาดใหญ่จำนวน 10 แพ็กๆละ 242 บาท เป็นเงิน 2,420 บาท 7.จัดซื้อถุงดำสำหรับใส่ขยะทั่วไป ขนาดใหญ่ จำนวน 20 แพ็กๆละ 179 บาท เป็นเงิน 3,580 บาท 8.ค่าอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการกักตัวของบุคคลเสี่ยง จำนวน 10 ชุด ชุดละ 300 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท 9.ค่าภาชนะใช้ส่วนบุคคล (เช่น จาน ชาม ช้อน แก้วน้ำ)จำนวน 10 ชุด ชุดละ 300 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท 10.ค่าอาหารสำหรับผู้ที่กักตัวศูนย์กักกัน และศูนย์พักคอย คนละ 150 บาทต่อวัน เป็นเงิน 11,000 บาท 11.ค่าเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว จำนวน 10 อัน อันละ 590 บาท เป็นเงิน 5,900 บาท ( รายการ 10,11 รพ.สามารถเบิกจาก สปสช.ไม่เกิน 1,100 บาท หาก รพ.ไม่เบิกก็เป็นค่าใช้จ่ายเบิกจ่ายกองทุนฯ) 12.ค่าหน้ากากอนามัยจำนวน 20 กล่อง กล่องละ 80 บาท เป็นเงิน 1,600 บาท 13. น้ำยาทำความสะอาด สบู่ ผงซักฟอก จำนวน 10 ชุด ชุดละ 500 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท 14.น้ำดื่มสะอาด ชนิดขวด จำนวน 50 โหล โหลละ 50 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท 15.กระดาษทิชชู่ กระดาษชำระจำนวน 10 โหล โหลละ 319 บาท เป็นเงิน 3,190 บาท 16.ค่าตอบแทน/ค่าใช้จ่ายเจ้าหน้าที่ อปพร. ฯลฯ ที่ปฏิบัติหน้าที่ในศูนย์กักกัน และศูนย์พักคอยเป็นเงิน 5,000 บาท

หมายเหตุ:ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 พฤศจิกายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.วัสดุทางการแพทย์สำหรับการปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสนามอย่างเพียงพอ 2.เจ้าหน้าที่ได้รับการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโลนา และสารเคมี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
56495.00

กิจกรรมที่ 5 จัดหาสารเคมีและวัสดุอุปกรณ์ในการทำความสะอาดศูนย์กักกัน และศูนย์พักคอย

ชื่อกิจกรรม
จัดหาสารเคมีและวัสดุอุปกรณ์ในการทำความสะอาดศูนย์กักกัน และศูนย์พักคอย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ทำความสะอาดศูนย์กักกัน และศูนย์พักคอย ก่อนรับกลุ่มเสี่ยง/ผู้ป่วย เพื่อพร้อมใช้และคืนสภาพเมื่อเสร็จสิ้น 1.จัดซื้อไม้ม๊อบถูพื้น จำนวน อันๆละ 500 บาท เป็นเงิน 500 บาท 2.จัดซื้อแปรงขัดห้องน้ำ จำนวน 5 อันๆละ 30 บาท เป็นเงิน 150 บาท 3.จัดซื้อน้ำยาถูพื้น จำนวน 10 ขวดๆละ 90 บาท เป็นเงิน 900 บาท 4.จัดซื้อน้ำยาขัดห้องน้ำ จำนวน 5 ขวดๆละ 50 บาท เป็นเงิน 250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 กันยายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้มีการทำความสะอาดโรงพยาบาลสนามเมื่อไม่มีผู้ป่วย เพื่อคืนสภาพเป็นศูนย์พักพิงผู้ประสพภัยชั่วคราว และการจัดกิจกรรมต่างๆ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 99,675.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนมีผลบวกติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้รับการคัดกรองด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น(Antigen -Test-Kit) และได้รับการดูแลรักษาผ่านโรงพยาบาลสนามเพื่อการพักคอยเตียง Community Isolation& Home Isolation

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?
ประชาชนมีผลบวกติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้รับการคัดกรองด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น(Antigen -Test-Kit) และได้รับการดูแลรักษาผ่านโรงพยาบาลสนามเพื่อการพักคอยเตียง Community Isolation& Home Isolation


>