2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
สถานการณ์โควิดระลอกใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นเชื่อว่าส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของคนทั่วๆไปมากกว่าในระลอก2 ที่เกิดขึ้นเมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา ทั้งจากลักษณะของเชื้อที่ระบาดได้ง่ายขึ้น จำนวนยอดผู้ติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงคนใกล้ตัวหรือคนรู้จักจำนวนมากขึ้นที่ตกเป็นเหยื่อของโควิดในครั้งนี้ ประกอบกับความไม่แน่นอนของโอกาสที่จะได้รับฉีดวัคซีน ก็ทำให้หลายๆ ท่าน (หรือคนใกล้ตัวท่าน) เกิดทั้งอาการกลัว วิตกกังวล จนถึงขั้นตื่นตกใจขึ้นมาได้ความน่ากลัวของโควิดนั้นนอกจากตัวเชื้อโรคที่ส่งผลต่อสุขภาพกายแล้ว ความไม่แน่นอนที่มาจากโควิดก็ยังส่งผลต่อสุขภาพจิตอีกด้วย ความไม่แน่นอนดังกล่าวครอบคลุม ทั้งความไม่แน่นอนว่าตนเองหรือคนในครอบครัวจะได้รับเชื้อโรคมาโดยไม่รู้ตัวหรือไม่ ความไม่แน่นอนว่าถ้ารับเชื้อมาแล้วอาการจะเป็นอย่างไร ความไม่แน่นอนว่าถ้าติดเชื้อมาจะมีโรงพยาบาลรับรักษาหรือไม่ ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับแผนการต่างๆ ที่ได้วางไว้ล่วงหน้า (แผนการเรียน การทำงาน ท่องเที่ยว สังสรรค์ ฯลฯ) ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการจะได้รับวัคซีน ความไม่แน่นอนในภาวะเศรษฐกิจ ความไม่แน่นอนว่าตนเองจะมีงานและรายได้หรือไม่ ฯลฯ “ความไม่แน่นอน” (Uncertainty) ที่เกิดขึ้นเนื่องจากโควิดนั้น อาจจะพบว่าร้ายกาจพอๆกับเจ้าตัวไวรัสโควิดเอง เพียงแต่แทนที่จะส่งผลต่อสุขภาพกาย ก็จะส่งผลต่อสุขภาพจิตแทน เนื่องจากความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นจะไปกระตุ้นความหวาดกลัว (Fear) ในสมองของคน ซึ่งความกลัวก็เป็นหนึ่งในอารมณ์พื้นฐานของคนและเมื่อเราเผชิญกับความกลัว คนก็จะมีปฏิกิริยาที่จะปรับพฤติกรรมหรือปรับตัวเพื่อหลบเลี่ยงจากความกลัวดังกล่าวที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างไรก็ดี เมื่อความกลัวที่เกิดขึ้นมาจากความไม่แน่นอน และเป็นความไม่แน่นอนที่มีปริมาณมาก ก็จะนำไปสู่ความวิตกกังวล หรือ Anxiety ที่จะส่งผลสุขภาพจิตโดยตรง และที่น่ากลัวคือการแพร่กระจายของข้อมูลต่างๆ บนโลกสังคมออนไลน์ ที่เมื่อเปิดเข้าไปอ่านข้อความหรือข้อมูลต่างๆ ในช่วงนี้ก็มักจะมีแต่เรื่องราวที่เกี่ยวเนื่องกับโควิด ซึ่งถึงแม้ผู้โพสต์ข้อความจะมีเจตนาดีที่จะกระจายข้อมูลข่าวสารให้ผู้อื่นได้รับรู้ แต่เมื่อผู้รับสารต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนจากโควิด มีความกลัวและความวิตกกังวลเป็นทุนเดิม ก็ยิ่งทำให้ข้อมูลข่าวสารต่างๆที่ได้รับนั้นกลายเป็นการตอกย้ำและทำให้ความวิตกกังวลแพร่กระจายไปในวงกว้างมากขึ้น และสามารถที่จะนำไปสู่ความตื่นตกใจในสังคมวงกว้างส่งผลกระทบให้คนในสังคมที่ร่วมกันต่อสู้กับภาวะวิกฤติการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน มีโอกาสเกิดความกดดัน ความเครียดและความวิตกกังวลส่งผลต่อสุขภาพจิตของคนไทยเป็นจำนวนมาก
จากการคัดกรองภาวะเครียดและซึมเศร้า พบว่าในประชาชนกลุ่มเสี่ยงไม่ว่าจะเป็นกลุ่มวัยทำงานกลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากโรคประจำตัว การเบื่อหน่ายชีวิตการถูกทอดทิ้ง การเกิดโรคระบาดไวรัสโควิด 19 ทำให้เกิดภาวะเครียดและซึมเศร้าตามมาโดยในปี 2560 ฆ่าตัวตายสำเร็จ 1 ราย และในปี 2563 ฆ่าตัวตามสำเร็จ 2 รายประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีภาวะเครียดและซึมเศร้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสนจึงได้จัดทำโครงการใส่ใจสุขภาพป้องกันภาวะเครียดและซึมเศร้าในประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน หมู่ที่ 13ตำบลโคกสักอำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุงปี 2564 ขึ้นโดยการสร้างแกนนำสุขภาพจิตในชุมชนเพื่อช่วยดูแลติดตามคัดกรองภาวะเครียดและซึมเศร้าในชุมชนและต้องมีการดำเนินงานด้านสุขภาพจิตอย่างเร่งด่วนโดยอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนในทุกเขตสุขภาพเพื่อเตรียมความพร้อมการเข้าสู่คลื่นลูกที่4ภายใต้“แผนการฟื้นฟูจิตใจในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพื่อมุ่งเน้นให้ประชาชน ครอบครัว และชุมชน ปลอดภัยจากผลกระทบด้านสุขภาพจิตในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) นี้และมีความเข้มแข็งทางจิตใจเต็มเปี่ยมด้วยพลังสามารถปรับตัวเข้าสู่ชีวิต วิถีใหม่ (New Normal) ได้
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 18/08/2021
กำหนดเสร็จ 20/08/2021
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
หมายเหตุ: ทุกกิจกรรม/ทุกรายการ สามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ตามความเหมาะสม
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.แกนนำสุขภาพจิตมีความรู้และแนวทางการคัดกรองที่ถูกต้อง
2. แกนนำสามารถสำรวจคัดกรองผู้มีภาวะซึมเศร้าประชาชนกลุ่มเสี่ยง
3. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะเครียดและซึมเศร้าได้รับการส่งต่อที่ถูกต้องเหมะสม
4. ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันภาวะเครียดและซึมเศร้าในชุมชน
5. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการร้อยละ100