กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนบาโร๊ะรวมพลังเฝ้าระวังไข้มาลาเรีย ปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบาโร๊ะ

นางมีซัน มณีหิยา
นายนิมะ นิสนิ
นส.สากีเร๊าะ ลาเต๊ะ
นส.รอฮาณี ฆอมียอ
นส.สือเมาะ ปุซา

หมู่ 1-8ตำบลบาโร๊ะอำเภอยะหา จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันโรคไข้มาลาเรียยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของจังหวัดยะลา โดยมีอัตราป่วย เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์และสภาพภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตและการระบาดของเชื้อมาลาเรีย การเคลื่อนย้ายของประชากรตามแนวชายแดนยังคงมีอยู่
จากสภาพปัญหามาลาเรียในพื้นที่ตำบลบาโร๊ะ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำตำบลบาโร๊ะได้รับรายงานผู้ป่วยโรคมาลาเรีย จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโร๊ะ ปี 2560 จำนวน 18 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 195.52ต่อประชากรแสนคน, ปี 2561 จำนวน 8 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 86.90ต่อประชากรแสนคน, ปี 2552 จำนวน 11 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 119.49ต่อประชากรแสนคนปี 2563 และ 2564ไม่พบผู้ป่วยไข้มาลาเรีย จากข้อมูล 5 ปี ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิตจากป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรีย ประกอบกับข้อมูลจากหน่วยควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 12.1 จังหวัดยะลา พื้นที่ตำบลบาโร๊ะ ปีงบประมาณ 2565 พื้นที่ A1 หมู่ 6หมู่บ้านที่เหลือของพื้นที่ตำบลบาโร๊ะจะเป็น พื้นที่ B1 นั้น
พนักงานมาลาเรียและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีจึงความจำเป็นในการดูแลประชาชนในเขตรับผิดชอบในการป้องกันให้ประชาชนให้ห่างการป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรีย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้องค์กรในชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโรคไข้มาลาเรีย
2. เพื่อลดอัตราป่วยของโรคไข้มาลาเรียไม่เกิน 400 ต่อแสนประชากร
3. เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ A1 ได้รับการเจาะคัดกรองหาเชื้อ ไม่น้อยกว่า 80%
4. เพื่อให้ทุกหลังคาเรือนในพื้นที่ A1 ได้รับการพ่นสารเคมีตกค้าง ไม่น้อยกว่า 80%
5. เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ B1 ได้รับการเจาะคัดกรองหาเชื้อ ไม่น้อยกว่า 10%

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 4,721
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ประชุมคณะกรรมการชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
1.ประชุมคณะกรรมการชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างประชุมการดำเนินโครงการ จำนวน 12 คนๆละ 2 มื้อๆละ 50 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท 2.ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1*2 เมตร จำนวน 1 ผื่นๆละ 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2022 ถึง 30 กันยายน 2022
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.การดำเนินโครงการบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
2.เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1700.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมฟื้นฟูการเจาะเลือดปลายนิ้ว

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมฟื้นฟูการเจาะเลือดปลายนิ้ว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่อาหารว่างในการจัดอบรมฟื้นฟูการเจาะเลือดปลายนิ้ว จำนวน 24 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2022 ถึง 31 มีนาคม 2022
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้ารับการอบรมสามารถเจาะเลือดปลายนิ้ว และสามารถทำฟีล์มเลือดได้อย่างถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1200.00

กิจกรรมที่ 3 เจาะเลือดคัดกรอง ค้นหาเชื้อมาลาเรีย

ชื่อกิจกรรม
เจาะเลือดคัดกรอง ค้นหาเชื้อมาลาเรีย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.เจาะเลือดคัดกรองในพื่นที่ A1 จำนวน 950 รายๆละ 5 บาท
2.เจาะเลือดคัดกรองในพื่นที่ B1 จำนวน 770 รายๆละ 5 บาท 3.ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ (เข็มเจาะเลือด/แผ่นสไลค์) เป็นเงิน 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2022 ถึง 31 สิงหาคม 2022
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนในพื้นที่ A1ได้รับการเจาะคัดกรองหาเชื้อ ไม่น้อยกว่า 80% 2.ประชาชนในพื้นที่ B1 ได้รับการเจาะคัดกรองหาเชื้อ ไม่น้อยกว่า 10%

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13600.00

กิจกรรมที่ 4 การพ่นสารเคมีตกค้าง

ชื่อกิจกรรม
การพ่นสารเคมีตกค้าง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.พ่นสารเคมีตกค้างในพื้นที่ A1 จำนวน 260 หลังคาเรือนๆละ 60 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2022 ถึง 31 สิงหาคม 2022
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.หลังคาเรือนในพื้นที่ A1 ได้รับการพ่นสารเคมีตกค้าง ไม่น้อยกว่า 80%

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 32,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.องค์กรในชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโรคไข้มาลาเรีย
2. อัตราป่วยของโรคไข้มาลาเรียไม่เกิน 400 ต่อแสนประชากร
3. ประชาชนในพื้นที่ A1ได้รับการเจาะคัดกรองหาเชื้อ ไม่น้อยกว่า 80%
4. หลังคาเรือนในพื้นที่ A1 ได้รับการพ่นสารเคมีตกค้าง ไม่น้อยกว่า 80%
5. ประชาชนในพื้นที่ B1 ได้รับการเจาะคัดกรองหาเชื้อ ไม่น้อยกว่า 10%


>