กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลกำแพง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลกำแพง

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลกำเเพง

1.น.ส.จุฑาพร กาสเส็น
2.น.ส.วรวลัญช์ ทองขาว
3.น.ส.ปวีณา เถาวัลย์
4.นางนันทนี นักรำ
5.น.ส.พรรณทิพา หลังแดง

ชุมชนในเขตเทศบาลตำบลกำเเพง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาโรคติดต่อ เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในระดับประเทศทั้งโรคติดต่อประจำถิ่น โรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ เช่น โรคโควิด-19 ไข้เลือดออก อุจจาระร่วง ไข้หวัดใหญ่ มือเท้าปาก เป็นต้น จากการรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของโรงพยาบาลประจำอำเภอละงู ในปี พ.ศ.2564 มีโรคที่ต้องเฝ้าระวังที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากร 10 อันดับแรกของอำเภอละงู ได้แก่ อุจจาระร่วง 172 ราย โรคปอดอักเสบ จำนวน 42 ราย โรคมือเท้าปาก จำนวน 10 ราย โรคอีสุกอีใส จำนวน 8 ราย อาหารเป็นพิษ จำนวน 4 ราย ไข้เลือดออก จำนวน 3 ราย โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จำนวน 2 ราย โรคฉี่หนู จำนวน 2 ราย โรคหนองใน จำนวน 2 ราย โรคตาแดง จำนวน 2 ราย ซึ่งปัญหาการเกิดโรคติดต่อ นอกจากจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย จิตใจและสังคม ของผู้ป่วยแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอีกด้วย ดังนั้น การเฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่อจึงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง มีความครอบคลุม รวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์ และเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย การดำเนินงานจึงต้องสร้างเครือข่ายในชุมชนที่มีคุณภาพและมีทักษะในการดำเนินงานได้ทันต่อสถานการณ์กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลกำเเพง ได้ตระหนักถึงปัญหาโรคติดต่อที่มีผลกระทบต่อประชาชนในด้านต่างๆจึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชน ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ

 

0.00
2 เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคติดต่อและลดอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 249
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 1,280
กลุ่มวัยทำงาน 2,631
กลุ่มผู้สูงอายุ 850
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 10
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 500
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 100
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 04/07/2022

กำหนดเสร็จ 15/12/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เดินรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้แก่ประชาชนในชุมชน ในการป้องกันโรคโควิด-19 โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หญิงตั้งครรภ์ ป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ในครอบครัวและในชุมชน การฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19

ชื่อกิจกรรม
เดินรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้แก่ประชาชนในชุมชน ในการป้องกันโรคโควิด-19 โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หญิงตั้งครรภ์ ป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ในครอบครัวและในชุมชน การฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม อสม.และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 100 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท -ค่าจัดทำเอกสารแผ่นพับและเอกสารให้ความรู้ในการป้องกันโรคติดต่อ เป็นเงิน 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 กรกฎาคม 2565 ถึง 15 ธันวาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7500.00

กิจกรรมที่ 2 ดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนโรคและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยการตรวจคัดกรองเบื้องต้นด้วย ATK โดย อสม.ในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนโรคและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยการตรวจคัดกรองเบื้องต้นด้วย ATK โดย อสม.ในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าชุดทดสอบโควิด-19 Antigen Test Kit (ATK) จำนวน 200 ชุดๆละ75 บาท = 15,000 บาท
  • ค่าถุงมือยางทางการแพทย์ จำนวน 40 กล่องๆละ 220 บาท = 8,800 บาท
  • ค่าชุดป้องกันเชื้อโรค PPE จำนวน 40 ชุดๆละ 240 บาท = 9,600 บาท
  • ค่าหน้ากาก N 95 จำนวน 12 กล่องๆละ 900 บาท = 10,800 บาท
  • ค่าชุดกาวน์กันน้ำ จำนวน 400 ชิ้นๆละ 45 บาท = 18,000 บาท
  • ค่าสเปรย์แอลกอฮอล์ จำนวน 160 ขวดๆละ 15 บาท = 2,400 บาท
  • ค่าหมวกคลุมผมทางการแพทย์ จำนวน 400 ชิ้นๆละ 3 บาท = 1,200 บาท
  • ค่าหน้ากากใสคลุมหน้า (Face shield) จำนวน 100 ชิ้นๆละ 50 บาท = 5,000 บาท
  • ค่าแอลกอฮอล์ ขนาด 5 ลิตร จำนวน 12 แกลลอนๆละ 850 บาท = 10,200 บาท
  • ค่าหน้ากากอนามัย จำนวน 120 กล่องๆละ 100 บาท = 12,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
4 กรกฎาคม 2565 ถึง 15 ธันวาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
93000.00

กิจกรรมที่ 3 ดำเนินการสำรวจและทำลายลูกน้ำยุงลาย แจกทรายอะเบทและเอกสารแผ่นพับในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ดำเนินการสำรวจและทำลายลูกน้ำยุงลาย แจกทรายอะเบทและเอกสารแผ่นพับในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม อสม.และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 100 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
4 กรกฎาคม 2565 ถึง 15 ธันวาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 103,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และมีพฤติกรรมในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ
2.ประชาชนมีอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อลดลงและมีอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้ลดลง
3.ประชาชนให้ความร่วมมือในการเฝ้าระวังป้องกัน ควบคุม การระบาดของโรคติดต่อ


>