กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนสตอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนบ้านกลาง ยั่งยืนเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบครบวงจรตามยุทธศาสตร์ชาติ ภ.9

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนสตอ

ชุมชนหมู่ที่ 4 บ้านกลาง

1นางรอหวันอุเจ๊ะ
2.นายยะโกบสะบิลาย………………………
3.นางสอลีฮะฮะปาน………………….
4.นายอนุศักดิ์นีโกบ……………………
5.นางชิดาภาสาริปา…………………….

สนามกีฬากลางหมู่ที่ 4 ตำบลควนสตอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ตามที่รัฐบาลได้กำหนดให้การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ เนื่องจากปัญหายาเสพติด เป็นปัญหาความมั่นคงที่ส่งผลกระทบต่อการบริหารและการพัฒนาประเทศทั้งในพื้นที่หมู่บ้าน ชุมชน รวมทั้งปัญหาทางด้านสังคม เศรษฐกิจ สาธารณสุข และความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน การติดยาเสพติดเป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อภาวะสุขภาพ ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และอาจก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อสังคมและประเทศชาติ และมีการคาดการณ์แนวโน้มว่าจำนวนผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติดจะเพิ่มขึ้นตามสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคม มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับปัญหาเศรษฐกิจ การศึกษาโครงสร้างและสัมพันธภาพของครอบครัว การเลี้ยงดู ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีต่าง ๆ ซึ่งปัญหาอาชญากรรมหลายประเภทที่เกิดขึ้น เช่น คดีข่มขืน ฆ่า ลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ทำร้ายร่างกาย เป็นต้น ผู้ก่อเหตุในหลายคดีเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ไม่ว่าจะในฐานะเป็นผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้เสพ หรือผู้ที่สนับสนุนอยู่เบื้องหลัง ผลกระทบที่เกิดจากยาเสพติดเป็นตัวบ่อนทำลายสุขภาพของผู้เสพติดและความสงบสุขของประชาชนในการดำรงชีวิตอย่างปกติสุข
ชุมชนหมู่ที่4บ้านกลาง อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่4บ้านกลาง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกุบังปะโหลด ได้ร่วมกับสภ.ควนโดนที่ได้รับมอบหมายจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดในชุมชน โดยตั้งเป้าหมายเลือกชุมชนบ้านกลาง ที่มีทุนทางสังคมสูงมาเป็นหมู่บ้านชุมชนต้นแบบของตำบลควนสตอ ชุมชนบ้านกลางยั่งยืน เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบครบวงจรตามยุทธศาสตร์ชาติ ภ.๙ บ้านกลางมีจำนวนประชากร
หมู่ที่4 ทั้งหมด 490 คน กลุ่มเป้าหมายที่ต้องการดำเนินการช่วงอายุ 15-50 ปีจำนวน 210 คน คิดเป็นร้อยละ 42.85 เปอร์เซ็นต์ กลุ่มเป้าหมายเหล่านี้ ต้องตรวจคัดกรองสารเสพติดทุกคน ผลการตรวจครอบคลุม 100 เปอร์เซ็น พบผู้เสพ จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 6.19 เปอร์เซ็น กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบ สมัครเข้ารับการบำบัดแบบชุมชนบำบัดCBTx ทุกคน เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบครบวงจรตามยุทศาสตร์ชาติ พ.ศ 2565 โดยมีจุดมุ่งหมายเสริมสร้างให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งสร้างความรู้ความเข้าใจและรับรู้ ปัญหาพิษภัยที่เกิดขึ้นจากยาเสพติด ที่มีผลกระทบต่อตนเอง ครอบครัว สังคม ประเทศชาติ ในทางการแพทย์ปัจจุบัน ให้ถือว่าการเสพติดยาคือการเจ็บป่วย เป็นโรคสมองติดยาที่ต้องได้รับการรักษาและเป็นภัยต่อสุขภาพที่สำคัญ ส่งผลกระทบถึงความมั่นคงของประเทศด้วยทางชุมชนบ้านกลางและภาคีเครือข่าย เห็นถึงความสำคัญในการช่วยดูแลบำบัดผู้เสพติด โดยโรงพยาบาลควนโดนแม่ข่ายสนับสนุนบุคคลากรในการช่วยชุมชนบำบัด แบบการบำบัดฟื้นฟูโดยการมีส่วนร่วมชองชุมชน [Community based Treatment and Rehabilitation (CBTx)] หรือเรียกว่าชุมชนบำบัดCBTx และมุ่งหวังการลดอันตรายจากการใช้สารเสพติด (Harm Reducttion) ซึ่งแนวทางการช่วยเหลือบำบัดรักษาทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพย่อมส่งผลถึงการแก้ไขปัญหาสำคัญของประเทศ อย่างไรก็ตามปัญหาการติดยาเสพติดเป็นปัญหาที่ซับซ้อนมีความสัมพันธ์กับปัญหาอื่น ๆ หลายด้าน เช่น ปัญหาสังคม เศรษฐกิจ การศึกษา ซึ่งเป็นทั้งปัจจัยสาเหตุและผลกระทบที่เกิดขึ้น ดังนั้น การบำบัดรักษาและการช่วยเหลือผู้ติดยาเสพติดย่อมต้องพิจารณาหลายมิติแบบองค์รวม หาสาเหตุที่แท้จริงเพื่อการแก้ไขปัญหาได้รอบด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมิติด้านสังคม
แต่จากการดำเนินการที่ผ่านมา พบว่า ผู้เสพยาที่ผ่านการบำบัดขาดภูมิคุ้มกันทางใจ ขาดความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ จึงกลับไปใช้ยาเสพติด ซ้ำอีก รวมถึงการบำบัดต้องครอบคลุมถึงครอบครัวผู้เสพติดดังนั้นโครงการชุมชนบ้านกลาง ยั่งยืนเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบครบวงจรตามยุทธศาสตร์ชาติ ภ.๙ มุ่งหวังช่วยให้ ผู้ผ่านการบำบัดมีพลังในการดำเนินชีวิต และอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างสงบสุขเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง ชุมชนช่วยซึ่งกันและกัน ไม่ทอดทิ้งกัน ในรูปแบบการบำบัดโดยชุมชน มีส่วนร่วม และนำไปสู่ชุมชนเข้มแข็งแบบยั่งยืนและครบวงจร ในการดูแลผู้ใช้ยาเสพติดให้เกิดการบำบัดฟื้นฟูใกล้บ้านหรือภายในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ทิศทางการเปลี่ยนแปลงในระดับสากล ให้เป็นไปตามหลักการสาธารณสุขและสิทธิมนุษยชน มีกระบวนการตั้งแต่การค้นหา คัดกรอง ฟื้นฟู และลดอันตรายจากยาเสพติด อีกทั้งสร้างภูมิคุ้มกันทางใจและติดตาม ดูแล ช่วยเหลือ จากครอบครัวร่วมกับชุมชน โดยทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมแบบบูรณาการเพื่อคืนคนดีกลับสู่สังคม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อสร้างชุมชนยั่งยืน ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบครบวงจรตามยุทธศาสตร์ชาติ แบบบูรณาการภาคีเครือข่าย ข้อที่ 2. เพื่อให้เกิดกระบวนการป้องกัน แก้ไข และการบำบัดยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ข้อที่3 เพื่อสร้างรูปแบบการดำเนินงานชุมชนเข้มแข็ง ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน ข้อที่4 เพื่อให้ผู้เสพที่สมัครใจเข้าร่วมบำบัดชุมชนบำบัดCBTx

ข้อที่ 1. เกิดชุมชนบ้านกลาง เป็นชุมชนต้นแบบ การแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบครบวงจรโดยการบูรณาการร่วมกับเครือข่าย

ข้อที่ 2.1มีแนวทางการบำบัดโดยชุมชนบ้านกลางมีส่วนร่วม อย่างน้อย 1 แนวทาง 2.2.มีการบำบัดโดยชุมชนมีส่วนร่วม ในการดำเนินโครงการ

ข้อที่ 3.1 มีวิเคราะห์ การแยกชุมชนโดย CBTx
      3.2 มีผู้นำในชุมชนที่มีความรู้การชุมชนบำบัดCBTx       3.3 การจัดเวทีประชาคม สะท้อนข้อมูลในชุมชน สร้างความสัมพันธ์ ร่วมมือความปลอดภัย       3.4 การค้นหา คัดกรองในชุมชน แบบระบุตัวตน       3.5 มีการส่งต่อผู้เสพครอบคลุมอย่างน้อย 80 เปอร์เซ็น       3.6 มีระบบการเฝ้าระวังและการติดตามโดยชุมชนหลังการบำบัดเสร็จสิ้น

ข้อที่ 4 ผู้เสพที่สมัครใจเข้าร่วมบำบัดชุมชนบำบัดCBTx บำบัดครบตามโปรแกรม ครอบคลุม 100 เปอร์เซ็น

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 13
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการชุมชนบ้านกลาง ยั่งยืนเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบครบวงจรตามยุทธศาสตร์ชาติ

ชื่อกิจกรรม
โครงการชุมชนบ้านกลาง ยั่งยืนเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบครบวงจรตามยุทธศาสตร์ชาติ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.กิจกรรม การประชุมคณะทำงานและจัดทำแผนงานโครงการ    -ค่าวัสดุในการจัดอบรม 600   บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อๆละ25 บาทจำนวน 30 คน
เป็นเงิน 750 บาท
รวมเป็นเงิน   1,350 บาท 
2.กิจกรรมประชุมเตรียมความพร้อมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สร้างรูปแบบการทำงานแบบมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย  -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อๆละ25 บาทจำนวน 30 คน
รวมเป็นเงิน 750 บาท 
3.กิจกรรม บำบัด CBTx ครั้งที่ 1 ค่าวัสดุในการจัดอบรม 1250 -ค่าวิทยากรกลุ่ม3คน x3 ชม.x300บาท เป็นเงิน 2700 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อๆละ25 บาทจำนวน 25 คน
เป็นเงิน 625 บาท รวมเป็นเงิน 4,575 บาท

  1. กิจกรรม บำบัด CBTx ครั้งที่ 2    -ค่าวิทยากรกลุ่ม3คน x3 ชม.x300บาท เป็นเงิน 2,700 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อๆละ25 บาทจำนวน 25 คน
    เป็นเงิน 625 บาท
    รวมเป็นเงิน 3,325 บาท
    5.กิจกรรม บำบัด CBTx ครั้งที่ 3 -ค่าวิทยากรกลุ่ม3คน x3 ชม.x300บาทเป็นเงิน 2,700 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อๆละ25 บาทจำนวน 25 คน
    เป็นเงิน 625 บาท   รวมเป็นเงิน 3,325 บาท
    5.กิจกรรม บำบัด CBTx ครั้งที่ 4 -ค่าวิทยากรกลุ่ม3คน x3 ชม.x300บาท เป็นเงิน 2,700 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อๆละ25 บาทจำนวน 25 คน
    เป็นเงิน 625 บาท รวมเป็นเงิน 3,325 บาท 
    6.กิจกรรม บำบัด CBTx ครั้งที่ 6 -ค่าวิทยากรกลุ่ม3คน x3 ชม.x300บาท เป็นเงิน 2,700 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อๆละ25 บาทจำนวน 25 คน
    เป็นเงิน 625 บาท
    รวมเป็นเงิน 3,325 บาท
    7.กิจกรรม บำบัด CBTx ครั้งที่ 7 -ค่าวิทยากรกลุ่ม3คน x3 ชม.x300บาท เป็นเงิน 2,700 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อๆละ25 บาทจำนวน 25 คน
    เป็นเงิน 625 บาท
    รวมเป็นเงิน 3,325 บาท 
  2. กิจกรรมฝึกอาชีพ ครั้งที่ 1  -ค่าวิทยากรจำนวน 1 คนx3 ชม.x600 บาท เป็นเงิน 1800บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อๆละ25 บาทจำนวน 25 คน
    เป็นเงิน 625 บาท
    ค่าวัสดุในการฝึกอาชีพ 2,500 บาท
    รวมเป็นเงิน 4,925 
  3. กิจกรรมฝึกอาชีพ ครั้งที่ 2  -ค่าวิทยากรจำนวน 1 คนx3 ชม.x600 บาท เป็นเงิน 1800บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อๆละ25 บาทจำนวน 25 คน
    เป็นเงิน 625 บาท
    ค่าวัสดุในการฝึกอาชีพ 2,500 บาท
    รวมเป็นเงิน 4,925
    10.ประชุมประเมินผล วัดผลความสำเร็จของโครงการ    -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อๆละ25 บาทจำนวน 30 คน
    รวมเป็นเงิน 750 บาท 
    รวม ……………33,900……..บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กิจกรรม การประชุมคณะทำงานและจัดทำแผนงานโครงการ    -ค่าวัสดุในการจัดอบรม 600   บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อๆละ25 บาทจำนวน 30 คน
เป็นเงิน 750 บาท
รวมเป็นเงิน   1,350 บาท 
2.กิจกรรมประชุมเตรียมความพร้อมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สร้างรูปแบบการทำงานแบบมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย  -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อๆละ25 บาทจำนวน 30 คน
รวมเป็นเงิน 750 บาท 
3.กิจกรรม บำบัด CBTx ครั้งที่ 1 ค่าวัสดุในการจัดอบรม 1250 -ค่าวิทยากรกลุ่ม3คน x3 ชม.x300บาท เป็นเงิน 2700 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อๆละ25 บาทจำนวน 25 คน
เป็นเงิน 625 บาท รวมเป็นเงิน 4,575 บาท

  1. กิจกรรม บำบัด CBTx ครั้งที่ 2    -ค่าวิทยากรกลุ่ม3คน x3 ชม.x300บาท เป็นเงิน 2,700 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อๆละ25 บาทจำนวน 25 คน
    เป็นเงิน 625 บาท
    รวมเป็นเงิน 3,325 บาท
    5.กิจกรรม บำบัด CBTx ครั้งที่ 3 -ค่าวิทยากรกลุ่ม3คน x3 ชม.x300บาทเป็นเงิน 2,700 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อๆละ25 บาทจำนวน 25 คน
    เป็นเงิน 625 บาท   รวมเป็นเงิน 3,325 บาท
    5.กิจกรรม บำบัด CBTx ครั้งที่ 4 -ค่าวิทยากรกลุ่ม3คน x3 ชม.x300บาท เป็นเงิน 2,700 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อๆละ25 บาทจำนวน 25 คน
    เป็นเงิน 625 บาท รวมเป็นเงิน 3,325 บาท 
    6.กิจกรรม บำบัด CBTx ครั้งที่ 6 -ค่าวิทยากรกลุ่ม3คน x3 ชม.x300บาท เป็นเงิน 2,700 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อๆละ25 บาทจำนวน 25 คน
    เป็นเงิน 625 บาท
    รวมเป็นเงิน 3,325 บาท
    7.กิจกรรม บำบัด CBTx ครั้งที่ 7 -ค่าวิทยากรกลุ่ม3คน x3 ชม.x300บาท เป็นเงิน 2,700 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อๆละ25 บาทจำนวน 25 คน
    เป็นเงิน 625 บาท
    รวมเป็นเงิน 3,325 บาท 
  2. กิจกรรมฝึกอาชีพ ครั้งที่ 1  -ค่าวิทยากรจำนวน 1 คนx3 ชม.x600 บาท เป็นเงิน 1800บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อๆละ25 บาทจำนวน 25 คน
    เป็นเงิน 625 บาท
    ค่าวัสดุในการฝึกอาชีพ 2,500 บาท
    รวมเป็นเงิน 4,925 
  3. กิจกรรมฝึกอาชีพ ครั้งที่ 2  -ค่าวิทยากรจำนวน 1 คนx3 ชม.x600 บาท เป็นเงิน 1800บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อๆละ25 บาทจำนวน 25 คน
    เป็นเงิน 625 บาท
    ค่าวัสดุในการฝึกอาชีพ 2,500 บาท
    รวมเป็นเงิน 4,925
    10.ประชุมประเมินผล วัดผลความสำเร็จของโครงการ    -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อๆละ25 บาทจำนวน 30 คน
    รวมเป็นเงิน 750 บาท 
    รวม ……………33,900……..บาท
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
33900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 33,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.ชุมชนบ้านกลางมีทีมในการติดตามผู้เสี่ยง กลุ่มเสพ ร่วมกับภาคีเครือข่ายแบบบุณณาการโครงการ อย่างน้อย1ทีม
2.คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ให้ความร่วมมือในการตรวจเอกเรย์ค้นหาผู้เสพ อย่างน้อย 80 เปอร์เซ็น
3.มีแนวทางการบำบัดโดยชุมชนบ้านกลางมีส่วนร่วม อย่างน้อย 1 แนวทาง
4.เกิดกระบวนการป้องกัน แก้ไข และการบำบัดยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน
5.เกิดรูปแบบการดำเนินงานชุมชนเข้มแข็ง โดยมีระบบการเฝ้าระวังและการติดตามโดยชุมชนหลังการบำบัดเสร็จสิ้นและคงความยั่งยืนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด


>