กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาสนามเด็กเล่นเพื่อส่งเสริมสุขภาพนักเรียน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า

โรงเรียนบ้านหว้าหลัง

โรงเรียนบ้านหว้าหลัง ตำบลนาหว้า อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของนักเรียนที่มีภาวะการเจริญเติบโตสมวัย

 

65.00
2 ร้อยละของเวลาในโรงเรียนมีการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้นักเรียนจัดการเรียนรู้ Active Learning

 

50.25
3 ร้อยละของเด็กนักเรียนที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง ถึง มาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)

 

65.00

ด้วยปัจจุบันโรงเรียนบ้านหว้าหลังมีนักเรียนทั้งหมด ๓๓ คนเป็นนักเรียนชั้นปฐมวัย จำนวน ๖ คนระดับประถมศึกษา จำนวน๒๗คนมีภาวะร่างกายตามหลักโภชนาการเป็นไปตามปกติและมีสมรรถนะทางร่างกาย การเจริญเติบโตสมวัย คิดเป็นร้อยละ ๖๐เนื่องจากนักเรียนไม่ได้รับการพัฒนาสมรรถนะทางร่างกายอย่างเพียงพอและเหมาะสมสาเหตุที่สำคัญเกิดจากทางโรงเรียนยังขาดแคลนสนามเด็กเล่นที่มีความสมบูรณ์เนื่องจากสนามเด็กเล่นชำรุด ผุพัง ขึ้นสนิมเกินกว่าจะซ่อมแซมเสี่ยงต่อการใช้ประโยชน์ในการเล่นซึ่งทางโรงเรียนได้พยายามฝึกประสบการณ์ด้วยการละเล่นพื้นบ้าน หรือวิธีการอื่นๆในการนี้เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์และสามารถพัฒนาสมรรถนะทางร่างกายและการเจริญเติบโตให้สมวัยของนักเรียนระดับปฐมวัยและระดับประถมศึกษาให้มีร้อยละในการพัฒนาในระดับที่สูงขึ้นแต่ยังไม่เป็นไปตามความคาดหวังทั้งนี้เพื่อเป็นการให้สอดคล้องตอบสนองกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๔๖การพัฒนาเด็กให้ครบทั้ง๔ด้านคือ ร่างกายอารมณ์สังคมและสติปัญญาเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเด็กทางโรงเรียนเห็นว่าสนามเด็กเล่นในโรงเรียนมีความสำคัญมากต่อพัฒนาการดังกล่าวของนักเรียนจึงเห็นควรให้มีการปรับปรุงพื้นที่สนามเด็กเล่นสนามโดยใช้วัสดุท้องถิ่นที่มีความคงทน ราคาถูกปลอดภัยจัดทำอย่างมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียนและชุมชนทั้งยังเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งระหว่างโรงเรียนและชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ร้อยละของนักเรียนที่มีภาวะการเจริญเติบโตสมวัย

เพื่อให้นักเรียนมีภาวะการเจริญเติบโตสมวัย

65.00 80.00
2 ร้อยละของเวลาในโรงเรียนมีการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้นักเรียนจัดการเรียนรู้ Active Learning

เพื่อให้นักเรียนในโรงเรียนมีเวลาในการเรียนการสอน ส่งเสริมให้นักเรียนจัดการเรียนรู้ Active learning

50.25 58.00
3 ร้อยละของเด็กนักเรียนที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง ถึง มาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)

เพื่อให้นักเรียนมีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง ถึง มาก อย่างน้อย ๖๐  นาทีต่อวัน)

65.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 22/09/2022

กำหนดเสร็จ 31/03/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดค่าใช้จ่าย

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 14 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 350 บาท

หมายเหตุ กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูและบุคลากร จำนวน 7 คน, คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 7 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 กันยายน 2565 ถึง 22 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

การเข้าร่วมกิจกรรมการมีส่วนร่วมของคณะทำงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
350.00

กิจกรรมที่ 2 ขับเคลื่อนกระบวนการนโยบายของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกาย

ชื่อกิจกรรม
ขับเคลื่อนกระบวนการนโยบายของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สนับสนุนนโยบายการปรับปรุงสภาพแวดล้อมของสถานศึกษาเอื้อต่อการสร้างแรงจูงใจความปลอดภัยในการมีกิจกรรมทางกายการจัดสรรเวลา สถานที่ และส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายของนักเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบActive learning

รายละเอียดค่าใช้จ่าย

  • ค่าจัดซื้อเครื่องเล่นสนามชุดปีนป่าย จำนวน 1 ชุดๆ ละ 36,900 บาท เป็นเงิน 36,900 บาท
  • ค่าล้อยางเก่า จำนวน 50 ล้อๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 1,024 บาท
  • ค่าแปรงทาสี จำนวน 15 อันๆ ละ 90 บาท เป็นเงิน 1,350 บาท
  • ค่าสีน้ำมันเคลือบเงิน ขนาด 3 ลิตร จำนวน 5 แกลลอนๆ ละ 950 บาท เป็นเงิน 4,750 บาท
  • ค่าน้ำมันสน จำนวน 5 ขวด ๆ ละ 170 บาท เป็นเงิน 850 บาท

หมายเหตุ ค่าจัดซื้อเครื่องเล่นสนามชุดปีนป่าย จำนวน 1 ชุด จำนวน 36,900 บาทโรงเรียนบ้านหว้าหลังขอรับงบประมาณสนับสนุนค่าจัดซื้อเครื่องเล่นสนามชุดปีนป่าย จากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้าจำนวน 10,000 บาท และงบประมาณจากโรงเรียนบ้านหว้าหลัง จำนวน 26,900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
11 พฤศจิกายน 2565 ถึง 11 พฤศจิกายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • จำนวนเครื่องเล่นสนาม
  • นักเรียนได้รับการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18450.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมเชิงปฏิบัติการ การออกกำลังกายและเครื่องเล่นสนามกับพัฒนาการของนักเรียนพร้อมจัดทำเรื่องเล่นสนามจากวัสดุท้องถิ่น

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการ การออกกำลังกายและเครื่องเล่นสนามกับพัฒนาการของนักเรียนพร้อมจัดทำเรื่องเล่นสนามจากวัสดุท้องถิ่น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดค่าใช้จ่าย

  • ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน5 ชั่วโมงๆ ละ600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ ขนาด 1.5x2 เมตรๆ ละ 150 บาท จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 450 บาท

หมายเหตุ กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ครูและบุคลากร จำนวน 7 คน ตัวแทนนักเรียน จำนวน 20 คน คณะกรรมการสถานศึกษา 7 คน และตัวแทนผู้ปกครองนักเรียน 16 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 พฤศจิกายน 2565 ถึง 18 พฤศจิกายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • จำนวนผู้เข้าอบรม
  • ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการออกกำลังกายและประโยชน์ของเครื่องเล่นสนามที่ถูกต้อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7450.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมส่งเสริมเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และมีความสุขกับการเล่น

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และมีความสุขกับการเล่น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • กิจกรรมพี่สอนน้อง
ระยะเวลาดำเนินงาน
21 พฤศจิกายน 2565 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • จำนวนนักเรียนที่ร่วมกิจกรรม
  • นักเรียนเกิดการเรียนรู้และมีความสุขกับการเล่น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 ประเมินภาวะสุขภาพจากน้ำหนักและส่วนสูงของนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
ประเมินภาวะสุขภาพจากน้ำหนักและส่วนสูงของนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประเมินภาวะสุขภาพจากน้ำหนักและส่วนสูงของนักเรียน ครั้งที่ 1 วันที่ 21 พฤศจิกายน 2565
  • ประเมินภาวะสุขภาพจากน้ำหนักและส่วนสูงของนักเรียน ครั้งที่ 2 วันที่ 31  มีนาคม  2566
ระยะเวลาดำเนินงาน
21 พฤศจิกายน 2565 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • จำนวนนักเรียนที่ร่วมกิจกรรม
  • โรงเรียนมีผลการประเมินสุขภาพของนักเรียนจากน้ำหนักและส่วนสูง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 6 ประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดค่าใช้จ่าย

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 14 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 350 บาท
  • เอกสารสรุปผลการดำเนินโครงการ จำนวน 2 เล่มๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 400 บาท

หมายเหตุ กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูและบุคลากร จำนวน 7 คน, คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 7 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
31 มีนาคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 27,000.00 บาท

หมายเหตุ :
*** ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้ ***

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนมีการพัฒนาศักยภาพด้านสมองของเด็กจากการเคลื่อนไหวมีการพัฒนาการทุกด้านเหมาะสมตามวัย
2. นักเรียนได้ฝึกความสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่มีสมรรถนะทางกายและสภาวะการเจริญเติบโตสมวัย
3. นักเรียนมีเครื่องเล่นสนามที่เหมาะสมตามวัยมีความปลอดภัย


>