กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการ เสริมการมองเห็นเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียน “ตรวจสายตา ประกอบแว่นตา เด็กนักเรียน”

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ เสริมการมองเห็นเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียน “ตรวจสายตา ประกอบแว่นตา เด็กนักเรียน”

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

โรงเรียนวัดสังวรพิมลไพบูลย์ (จันทากูล)

นายณรรฐพล ใจศรี
นางสาวอัจจิมา สมทรัพย์
นางสาวพิมพิกา ปาใจ

ห้องเรียนโรงเรียนวัดสังวรพิมลไพบูลย์ (จันทากูล)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กวัยเรียน(อายุ 6 ปีขึ้นไป) ที่มีคัดกรองพบภาวะสายตาสั้นและเอียง

 

10.00

ด้วยโรงเรียนวัดสังวรพิมลไพบูลย์ (จันทากูล) มีการเปิดสอนในระดับชั้น อนุบาล 2 – ประถมศึกษาปีที่ 6 มีจำนวนนักเรียน 210 คน ซึ่งโรงเรียนได้มีนักเรียนที่มีปัญหาทางสายตา ซึ่งเป็นอวัยวะที่สำคัญมากของร่างกายและเป็นสิ่งสำคัญต่อการเรียนรู้ของนักเรียน จึงควรดูแลรักษาเป็นอย่างดี เพื่อให้คงสภาพการใช้งานให้ได้นานที่สุด หากเกิดความผิดปกติ แม้จะเป็นเพียงการมองเห็นที่แย่ลงก็ควรปรึกษาแพทย์ เพราะอาจเกิดโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวกับตาได้ โรคตาเป็นโรคที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ได้ในทุกเพศทุกวัย การเสื่อมของดวงตา ไม่มีวิธีใดยับยั้งไม่ให้เกิดได้ โรคตาบางโรคอาจเป็นสาเหตุให้เด็กเยาวชน เกิดการเรียนรู้ที่ถดถอยจากการมองเห็น ซึ่งมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในอนาคตและครอบครัวเป็นอย่างมาก การให้การดูแลรักษาที่เหมาะสม อาจช่วยให้มีสุขภาพทางตาที่ดี และส่งผลต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย การแก้ไขและรักษาภาวะสายตาเป็นวิธีหนึ่ง อาจทำได้ด้วยการใส่แว่น ซึ่งแว่นสายตามีทางเลือกมากมายให้ใช้ตามความเหมาะสม ความสะดวก และตามลักษณะชีวิตของแต่ละคน การใส่แว่นเป็นวิธีที่ทำกันโดยทั่วไป และง่ายในการใช้ชีวิตประจำวัน แว่นตาที่มีเลนส์เหมาะกับ สายตาของผู้ที่มีปัญหาทางสายตา จึงเป็นอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตเป็นอย่างมาก
ดังนั้น กลุ่มเป้าหมาย เทศบาลตำบลบ้านบางม่วง จึงได้ทำโครงการ เสริมการมองเห็นเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียน “ตรวจสายตา ประกอบแว่นตา เด็กนักเรียน” ประเมินคัดกรองตรวจสายตาและประกอบแว่นให้กับผู้ที่มีปัญหาทางสายตาปี 2566 เพื่อให้ได้รับการคัดกรองโรคตา และตรวจวัดสายตาในการมองเห็นมีการส่งต่อเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องกรณีพบโรคตาและประกอบแว่นในผู้ที่มีปัญหาในการมองเห็นทำให้กลุ่มเป้าหมายสามารถประกอบกิจกรรมประจำวันได้ด้วยตนเอง ลดภาวะการเรียนรู้ที่ถดถอยจากการมองเห็น ทำให้รู้สึกสนใจและตั้งใจเรียนไม่ให้กระทบกับสังคมในอนาคตได้และใช้ชีวิตได้ตามปกติ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดภาวะสายตาสั้นและเอียงของเด็กวัยเรียน(อายุ 6 ปีขึ้นไป) ลง

ร้อยละของเด็กวัยเรียน(อายุ 6 ปีขึ้นไป) ที่มีคัดกรองพบภาวะสายตาสั้นและเอียง

10.00 0.00

1. เพื่อให้ผู้ที่มีปัญหาทางสายตาและการมองเห็น มีความรู้/ความเข้าใจ ทักษะในการป้องกัน การดูแล รักษาสายตาที่ถูกต้อง
2. เพื่อให้ ได้รับการตรวจคัดกรองโรคตา ตรวจสายตาประกอบแว่น และส่งต่อเพื่อการรักษาที่ถูกต้องกรณีพบโรคตา
3. เพื่อให้ผู้ที่มีปัญหาทางสายตาและการมองเห็น สามารถประกอบกิจกรรมประจำวันได้ มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีที่ขึ้นอย่างมีความสุข

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 28/10/2022

กำหนดเสร็จ 15/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมการมองเห็นเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียน “ตรวจสา

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการมองเห็นเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียน “ตรวจสา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • อบรมให้ความรู้การดูแลเรื่องสุขภาพดวงตา จำนวน 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,800บาท วัสดุ/อุปกรณ์ในการจัดกิจกรรม
  • คัดกรองโรคตา วัดสายตาโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เป็นเงิน 8,000บาท
  • ตรวจสายตาประกอบแว่นด้วยคอมพิวเตอร์ เป็นเงิน 40,000บาท
  • ค่าจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์(ไวนิล) ขนาด 1.5 เมตรX2.5เมตร เป็นเงิน 600บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
28 ตุลาคม 2565 ถึง 15 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียนที่มีปัญหาทางสายตาและการมองเห็นมีความรู้/ความเข้าใจทักษะในการป้องกันการดูแลรักษาสายตาได้ถูกต้อง
  2. นักเรียนที่ได้รับการตรวจคัดกรองโรคตาตรวจสายตาประกอบแว่นและส่งต่อเพื่อการรักษาที่ถูกต้องกรณีพบผู้ป่วยโรคตา
  3. นักเรียนที่มีปัญหาทางสายตาและการมองเห็นสามารถเรียนรู้ได้ดีขึ้นและมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่ขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
50400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 50,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ที่มีปัญหาทางสายตาและการมองเห็นมีความรู้/ความเข้าใจทักษะในการป้องกันการดูแลรักษาสายตาได้ถูกต้อง
2. ผู้ที่ได้รับการตรวจคัดกรองโรคตาตรวจสายตาประกอบแว่นและส่งต่อเพื่อการรักษาที่ถูกต้องกรณีพบผู้ป่วยโรคตา
3. ผู้ที่มีปัญหาทางสายตาและการมองเห็นสามารถเรียนรู้ได้ดีขึ้นและมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่ขึ้น


>