กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ Zero Waste โรงเรียนและชุมชนบ้านตูแตหรำเปลี่ยนขยะให้เป็นศูนย์

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

โรงเรียนบ้านตูแตหรำ

1. นายบาฮารูดิน ยาโงะ ผู้ประสานงานคนที่ 1 เบอร์โทร 066 - 0744946
2. นางสาววิละยาเหมรา ผู้ประสานงานคนที่ 2 เบอร์โทร 089 - 2939849
3. นางสาวมาลินี หลีมานัน
4. นางสาวฟารีดา หวันสู
5. นางปิยะวดี ยาวาหาบ

โรงเรียนบ้านตูแตหรำและชุมชนบ้านตูแตหรำ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของนักเรียนที่มีพฤติกรรมการแยกขยะไม่ถูกต้อง

 

75.00
2 ร้อยละของชุมชนไม่มีความรู้ในการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี

 

80.00

จากการเพิ่มสูงขึ้นของขยะมูลฝอยในปัจจุบันเนื่องจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นและพฤติกรรมการบริโภคของประชาชนที่มีความสะดวกสบาย เครื่องใช้บรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เป็นพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว การใช้บริการการสั่งซื้อสินค้าและอาหารผ่านระบบออนไลน์ ส่งผลให้ขยะที่เพิ่มขึ้นไม่ได้ถูกกำจัดอย่างเป็นระบบเกิดปัญหาและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามมาในชุมชนและโรงเรียน อีกทั้งชุมชนบ้านตูแตหรำยังขาดความรู้ในการคัดแยกขยะ โรงเรียนบ้านตูแตหรำได้พยายามดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในการแก้ปัญหาการจัดการขยะ โดยที่ผ่านมาการจัดการขยะ นักเรียนที่ยังขาดความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ ร้อยละ 75 และประชาชนยังขาดความรู้ในการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธีร้อยละ 80 ส่งผลให้การจัดการขยะมีประสิทธิภาพไม่เท่าที่ควร อีกทั้งปริมาณขยะต่อวันในโรงเรียน ซึ่งแยกเป็นประเภทขยะทั่วไป ประมาณ 12 กก.ต่อวัน 240 กก.ต่อเดือน และประมาณ 2,880 กก.ต่อปี ประเภทขยะอินทรีย์ประมาณ 3 กก.ต่อวัน 60กก.ต่อเดือนและ 720 กก.ต่อปี ประเภทขยะรีไซเคิลประมาณ 5 กก.ต่อวัน 100 กก.ต่อเดือน 1,200 กก.ต่อปี ประเภทขยะอันตราย 0.2 กก.ต่อวัน 4 กก.ต่อเดือน และ 48 กก.ต่อปี ประเภทขยะเปียกที่เหลือหลังจากนักเรียนรับประทานอาหารกลางวันประมาณ 3 กก.ต่อวัน 50 กก.ต่อเดือน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพนักเรียนทำให้เกิดมลภาวะทางอากาศส่งกลิ่นไม่พึงประสงค์และสกปรกนำไปสู่การเป็นแหล่งเพาะเชื้อสู่การแพร่เชื้อโรคต่างๆ ได้ทาง โรงเรียนเล่งเห็นถึงความสำคัญของการจัดการขยะ จึงจัดทำโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม สนับสนุน การสร้างเครือข่ายสถานศึกษา ที่ดำเนินกิจกรรม ลด คัดแยก และนำกลับมาใช้ประโยชน์ การรวบรวมขยะเพื่อส่งไปกำจัดอย่างถูกต้อง ปลูกจิตสำนึกการลด คัดแยกขยะ และนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ในสถานศึกษา โรงเรียนจึงมีนโยบายในการส่งเสริมให้นักเรียน และบุคลากรของโรงเรียนคัดแยกขยะ มีการดำเนินกิจกรรมลดขยะ และการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์มีการสอนการทำปุ๋ยอินทรีย์จากเศษอาหาร นำพลาสติก ขวดและกล่องนมเหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นของใช้ ของเล่น การรณรงค์ให้มีการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก ลดการใช้พลาสติกและโฟม ส่งเสริมการใช้วัสดุจากธรรมชาติ มีการจัดนักเรียนแกนนำในการสร้างความรู้และจัดตั้งชุมนุมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน โดยมุ่งเน้นให้เกิดการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมในการพัฒนาวิธีการจัดการขยะตามโครงการโรงเรียนปลอดขยะที่มีประสิทธิภาพตามบริบทของโรงเรียน การมีส่วนร่วมในชุมชนตลอดจนการรณรงค์ให้เห็นปัญหาและผลกระทบของขยะมูลฝอย รวมถึงวิธีการในการจัดการขยะมูลฝอยที่ถูกต้อง และการร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกในการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพจากความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาดังกล่าวข้างตัน ผู้จัดทำโครงการจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการจัดการขยะ และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครอง ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะอย่างถูกวิธี

นักเรียน ผู้ปกครอง ครูและบุคลากรทางการศึกษาร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะอย่างถูกวิธี

0.00 80.00
2 เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้นักเรียน ผู้ปกครอง ครูและบุคลากรทางการศึกษามีแนวทางในการจัดลดปริมาณขยะ การคัดแยกขยะ และนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์
  1. ปริมาณขยะในโรงเรียนและชุมชน ลดลงร้อยละ 70
  2. โรงเรียนมีการจัดการขยะอย่างถูกวิธี ร้อยละ 80
0.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 26
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 74
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 06/12/2022

กำหนดเสร็จ 31/12/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมการจัดการขยะ

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมการจัดการขยะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  • จัดอบรมให้ความเรื่องขยะให้แก่ ครู นักเรียน บุคลากร ผู้ปกครอง หลักสูตร 1 วัน

เป้าหมาย

  • นักเรียน ทั้งหมด 100 คน

  • บุคลากรทางการศึกษา 12 คน

  • ผู้ปกครอง 80 คน

งบประมาณ

  • ค่าป้ายไวนิลขนาด 1.5 X 3 ม. เป็นเงิน 675 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 192 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 9,600 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 192 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 65 บาท เป็นเงิน 12,480 บาท

  • ค่าเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 192 ชุด ๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 11,520 บาท

  • ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท


    กำหนดการ

    08.00 - 09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าอบรม

    09.00 - 09.30 น. พิธีเปิดกิจกรรม โดยผู้อำนวยการสถานศึกษา

    09.30 - 10.30 น. บรรยาย เรื่องการจัดการขยะอย่างถูกวิธี

    10.30 - 10.45 น.รับประทานอาหารว่าง

    10.45 - 12.00 น.บรรยายเรื่อง การจัดการขยะอย่างถูกวิธี (ต่อ)

    12.00 - 13.00 น.รับประทานอาหารกลางวัน

    13.00 14.30 น.บรรยายเรื่อง การจัดการขยะอย่างถูกวิธี (ต่อ)

    14.30 - 14.45 น. รับประทานอาหารว่าง
    14.45 - 16.15 น. บรรยายเรื่อง การจัดการขยะอย่างถูกวิธี (ต่อ)
    16.15 - 16.30 น.พิธีปิด

ระยะเวลาดำเนินงาน
12 ธันวาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครู นักเรียน บุคลากรทางการศึกษา และผู้ปกครอง เข้าใจการจัดการขยะและแยกขยะได้ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
37875.00

กิจกรรมที่ 2 จัดทำชุดกิจกรรม Zero Waste

ชื่อกิจกรรม
จัดทำชุดกิจกรรม Zero Waste
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม จัดทำชุดกิจกรรม“ZeroWaste” โรงเรียนและชุมชนเปลี่ยนขยะให้เป็นศูนย์วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 จัดทำเพื่อให้นักเรียนใช้เป็นแนวทางประกอบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง “ZeroWaste” โรงเรียนและชุมชนเปลี่ยนขยะให้เป็นศูนย์เน้นให้นักเรียนได้ใช้กระบวนการสร้างความรู้และพัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ด้วยการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงจากธรรมชาติในท้องถิ่นเพื่อการจัดการขยะที่ยั่งยืนโดยผู้จัดทำได้แบ่งเนื้อหาออกเป็น 13 เล่ม ดังนี้

เล่มที่ 1 เรื่องประเภทของขยะ

เล่มที่ 2 เรื่องการลดขยะโดยหลัก 3 ช.

เล่มที่ 3 เรื่องธนาคารขยะ

เล่มที่ 4 เรื่องขยะอินทรีย์

เล่มที่ 5 เรื่องขยะรีไซเคิล

เป้าหมาย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1- 6 จำนวน 74 คน

งบประมาณ

  • กระดาษจำนวน10ลัง ๆ ละ 750 เป็นเงิน 7,500 บาท
  • กระดาษแข็งสำหรับทำปกจำนวน2 ลัง ๆ ละ 1,000เป็นเงิน 2,000 บาท
  • กระดาษกาวย่นจำนวน12 ม้วน ๆ ละ 45 บาท เป็นเงิน540 บาท
  • กาวลาเท็ก ขนาด 32 ออนซ์4 ขวด ๆ ละ85บาท เป็นเงิน 340 บาท ค่าวัสดุ เป็นเงิน 10,380 บาท

    รวมเป็นเงิน 10,380 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
12 ธันวาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนมีชุดกิจกรรม Zero Waste คนละ 5 เล่ม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10380.00

กิจกรรมที่ 3 จัดตั้งธนาคารขยะ

ชื่อกิจกรรม
จัดตั้งธนาคารขยะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  • จัดตั้งธนาคารขยะภายในโรงเรียน

  • จัดตั้งคณะทำงานธนาคารขยะ โดยทุกวันพุธ ตอนเที่ยง จะมีการรับซื้อขยะจากห้องเรียนนักเรียน หรือผู้ปกครองนำมาขาย

  • ทางโรงเรียนนำขยะไปขายต่อที่โรงรับซื้อของเก่า

  • นำเงินที่ได้จากการขายขยะ ไปเข้ากองทุนอาหารกลางวันนักเรียน

เป้าหมาย
- ธนาคารขยะในโรงเรียน จำนวน 1 แห่ง

งบประมาณ

  • กรงเหล็กสำหรับแขวนถุงดำ จำนวน 4 อัน ๆ ละ 590 บาท เป็นเงิน 2,360 บาท
  • ถุงดำ จำนวน 20 แพ็ค ๆ ละ 55 บาท เป็นเงิน 1,100 บาท
  • เข่งหรือตะกร้าใส่ขยะ จำนวน 4 ใบ ๆ ละ 199 บาท เป็นเงิน 796 บาท
  • กระดานไวท์บอร์ด จำนวน 1 อัน ๆ ละ 890 บาท เป็นเงิน 890 บาท
  • ปากกาไวท์บอร์ด จำนวน 1 กล่อง ๆ ละ 280 บาท เป็นเงิน 280 บาท
  • คัตเตอร์ขนาดใหญ่ จำนวน 1 กล่อง เป็นเงิน 660 บาท
  • ใบมีดคัตเตอร์ จำนวน 1 กล่อง เป็นเงิน 240 บาท
  • ตาชั่งขนาด 15 กิโลกรัม เป็นเงิน 650 บาท.

รวมเป็นเงิน 6,976 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
12 ธันวาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • มีธนาคารขยะจำนวน 1 ห้อง
  • มีที่รับซื้อขยะและที่เก็บขยะมีมาตรฐาน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6976.00

กิจกรรมที่ 4 การจัดการขยะอินทรีย์ในโรงเรียนและชุมชน

ชื่อกิจกรรม
การจัดการขยะอินทรีย์ในโรงเรียนและชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
4.1 ทางโรงเรียนได้มีการจัดทำขยะอินทรีย์จากขยะเปียก เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่นักเรียน และเป็นปุ๋ย กับต้นไม้ภายในบริเวณโรงเรียน โดยใช้วัสดุจากขยะเปียก เช่น ใบไม้ หญ้าเศษอาหารจากโรงครัวและ เศษอาหารที่เหลือจากการรับประทานอาหารที่นักเรียนไม่สามารถทานได้ เช่น กระดูกสัตว์ น้ำ แกงที่เหลือ เปลือกผลไม้ เป็นต้น นำมาทำขยะอินทรีย์โดยการขุดหลุมแล้วนำถังพลาสติกมาใส่ในหลุมเทขยะเปียกใส่แล้วปิดฝา ทางโรงเรียนได้ขุดหลุมบริเวณใต้ต้นไม้เพื่อนำขยะเปียก เช่น เศษอาหารจากการรับประทานอาหารกลางวัน ใสในหลุมเพื่อเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งทางโรงเรียนได้ขุดหลุมดังกล่าวไว้หลายจุด ทั่วทั้งบริเวณโรงเรียนและทางโรงเรียนเพ่ิมพื้นที่ บริเวณแปลงผักของนักเรียน เพื่อเป็นปุ๋ยอินทรีย์สำหรับแปลงผักของนักเรียน

4.2 รณรงค์ให้แกนนำนักเรียน ป.4 - ป.6 จัดทำถังขยะเปียกในครัวเรือน

4.3 โรงเรียนดำเนินการจัดทำขยะอินทรีย์ จากขยะเปียกภายในบริเวณโรงเรียน โดยนำเศษอาหารที่เหลือจากอาหารกลางวัน มาใส่ลงในถังขยะเปียก ซึ่งมีจำนวนหลายจุดภายในโรงเรียน

เป้าหมาย

  • ภายในโรงเรียนบ้านตูแตหรำ

  • บ้านนักเรียนชั้น ป.4-6

งบประมาณ
- ถังพลาสติดขนาด 50 ลิตร จำนวน 10 ใบ ๆ ละ 250 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท - ถังพลาสติกขนาด 20 ลิตร จำนวน 12 ใบ ๆ ละ 89บาท เป็นเงิน 1,068 บาท - หัวแร้งไฟฟ้าแบบปืนจำนวน 5 ตัว ๆ ละ 168 บาท เป็นเงิน 840 บาท รวมเป็นเงิน 4,408 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
12 ธันวาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • มีจุดทำขยะอินทรีย์ บริเวณโรงเรียน
  • มีจุดทำขยะอินทรีย์ บริเวณบ้านนักเรียน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4408.00

กิจกรรมที่ 5 การจัดการขยะรีไซเคิลในโรงเรียนและชุมชน

ชื่อกิจกรรม
การจัดการขยะรีไซเคิลในโรงเรียนและชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  • ให้นักเรียนรู้จักแยกขยะ และนำกลับมาใช้ใหม่ โดยการประดิษฐ์เป็นของใช้สอย หรือเป็นผลงานของห้องเรียน
  • นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา มีการนำขยะรีไซเคิลบางอย่างที่มาจากการคัดแยกขยะมาทำสิ่งประดิษฐ์ ที่สามารถนำมาใช้งานได้ และเกิดประโยชน์เช่นถุงนมส่วนขยะที่ขายได้นำไปขายจัดตั้งธนาคารขยะโดยมีนักเรียนเป็นคณะกรรมการดำเนินงาน มีครูเป็นที่ปรึกษา มีการรับซื้อและ จัดการจำหน่ายจากนักเรียน ทำสมุดบัญชีสะสมเงินแก่นักเรียนการรับซื้อขยะจากนักเรียน สัปดาห์ละ 1 วันคือวันพุธตอนพักเที่ยง หลังรับประทานอาหารกลางวันเสร็จ

  • นักเรียนแต่ละห้องทำชิ้นงานจากขยะรีไซเคิล

    อนุบาล ที่รองจานจากถุงนม/ ประถมมหัศจรรย์กระดาษลังรักษ์โลก / ออมสินน้อยรักษ์สิ่งแวดล้อม / เปเปอร์มาเช่ / สะพายสะดวกใช้ / หมวกรักษ์โลก

เป้าหมาย
- นักเรียนทั้งหมด จำนวน 100 คน

งบประมาณ
- กรรไกรขนาดใหญ่ จำนวน 12 อัน ๆ ละ 75 บาทเป็นเงิน 900 บาท
- เข็มขนาดกลาง จำนวน 2 โหล ๆ ละ 69 บาท เป็นเงิน 138 บาท
-ไหมพรมคละสี จำนวน 15 ม้วน ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 750 บาท
- ที่เจาะกระดาษ จำนวน 5 อัน ๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 750 บาท
- แพทเทิร์นหมวก จำนวน 2 อัน ๆ ละ 100 บาทเป็นเงิน 200 บาท
- กระดาษห่อของขวัญ จำนวน 10 แผ่น ๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 100 บาท
- กระดาษสีสองหน้า สีแดง,เหลือง,ชมพู,เขียว,ส้ม,ฟ้า,ม่วง อย่างละ 2 แผ่น ทั้งหมด 14 แผ่น ๆ ละ 14 บาท เป็นเงิน 196 บาท
- กาว TOA ขวดใหญ่่ จำนวน 6 ขวด ๆ ละ 75 บาท เป็นเงิน 450 บาท
- คัดเตอร์ขนาดใหญ่ จำนวน 12 ด้าม ๆ ละ 55 บาท เป็นเงิน 660 บาท
- ใบมีดคัดเตอร์ขนาดใหญ่ จำนวน 2 กล่อง ๆ ละ 240 บาท เป็นเงิน 480 บาท
- แผ่นรองตัดขนาด A4 จำนวน 4 แผ่น ๆ ละ 129 บาท เป็นเงิน 516 บาท
- แผ่นรองตัดขนาด A3 จำนวน 1 แผ่น ๆ ละ 179 บาท เป็นเงิน 179 บาท
- ไม้บรรทัดเหล็กยาว 45 เซนติเมตร จำนวน 6 อัน ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 210 บาท
- กากเพชร จำนวน 5 ขวด ๆ ละ 80 บาท เป็นเงิน 400 บาท
- เชือกสายรุ้ง จำนวน 24 เส้น ๆ ละ 40 บาท เป็นเงิน 960 บาท
- ริบบิ้นเบอร์ 2 คละสี จำนวน 20 ม้วน ๆ ละ 15 บาท เป็นเงิน 300 บาท
- กระดุมสวยงาม จำนวน 100 เม็ด เป็นเงิน 400 บาท
- ปืนกาวขนาดใหญ่ จำนวน 5 อัน ๆ ละ 180 บาท 900 บาท
- แท่งกาวขนาดใหญ่ จำนวน 1 ห่อ ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 50 บาท
- ลูกโป่ง จำนวน 2 แผง ๆ ละ 75 บาท เป็นเงิน 150 บาท
- ตะกร้า ขนาดเล็ก จำนวน 4 ใบ ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 80 บาท
- สีอะครีลิกชุดแม่สี 6 ขวด จำนวน 3 ชุด ๆ ละ 219 บาท เป็นเงิน 657 บาท
- กาวสองหน้าแบบบาง ขนาด 3/8 นิ่้ว จำนวน 10 ม้วน ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 350 บาท
- สก็อตเทปใสขนาด 3/8 นิ้ว จำนวน 1 แพ็ค เป็นเงิน 324 บาท
- กระดาษ A4 จำนวน 2 ลัง ๆ ละ 750 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
- พู่กันเบอร์ 24 จำนวน 10 อัน ๆ ละ 110 บาท เป็นเงิน 1,100 บาท
- โบว์ผ้าสำเร็จรูป 13 อัน ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 260 บาท
- ริบบิ้นผ้า จำนวน 12 ม้วน ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 360 บาท
- ด้ายสีฟ้า จำนวน 3 หลอด ๆ ละ 15 บาท เป็นเงิน 45 บาท
รวมเป็นเงิน 13,365 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
12 ธันวาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนทำชิ้นงานจากขยะรีไซเคิล 90 เปอร์เซ็นต์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13365.00

กิจกรรมที่ 6 รายงานผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
รายงานผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานผล จำนวน 4 เล่มๆละ 250 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จัดทำรายงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 74,004.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในทุกกิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ครู นักเรียน บุคลากรทางศึกษาและผู้ปกครอง สามารถคัดแยกขยะ นำขยะกลับไปใช้ประโยชน์ใหม่และปริมาณขยะในชุมชน และโรงเรียนลดลง
๒. ครู นักเรียน บุคลากรทางศึกษาและผู้ปกครอง มีระบบการจัดการขยะอย่างถูกวิธี


>