กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ Zero Waste โรงเรียนและชุมชนบ้านตูแตหรำเปลี่ยนขยะให้เป็นศูนย์
รหัสโครงการ 2566-L8010-2-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านตูแตหรำ
วันที่อนุมัติ 8 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 6 ธันวาคม 2565 - 31 ธันวาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2566
งบประมาณ 74,004.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปิยะวดี ยาวาหาบ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 26 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 74 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของนักเรียนที่มีพฤติกรรมการแยกขยะไม่ถูกต้อง
75.00
2 ร้อยละของชุมชนไม่มีความรู้ในการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี
80.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการเพิ่มสูงขึ้นของขยะมูลฝอยในปัจจุบันเนื่องจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นและพฤติกรรมการบริโภคของประชาชนที่มีความสะดวกสบาย เครื่องใช้บรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เป็นพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว การใช้บริการการสั่งซื้อสินค้าและอาหารผ่านระบบออนไลน์ ส่งผลให้ขยะที่เพิ่มขึ้นไม่ได้ถูกกำจัดอย่างเป็นระบบเกิดปัญหาและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามมาในชุมชนและโรงเรียน อีกทั้งชุมชนบ้านตูแตหรำยังขาดความรู้ในการคัดแยกขยะ โรงเรียนบ้านตูแตหรำได้พยายามดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในการแก้ปัญหาการจัดการขยะ โดยที่ผ่านมาการจัดการขยะ นักเรียนที่ยังขาดความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ ร้อยละ 75 และประชาชนยังขาดความรู้ในการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธีร้อยละ 80 ส่งผลให้การจัดการขยะมีประสิทธิภาพไม่เท่าที่ควร อีกทั้งปริมาณขยะต่อวันในโรงเรียน ซึ่งแยกเป็นประเภทขยะทั่วไป ประมาณ 12 กก.ต่อวัน 240 กก.ต่อเดือน และประมาณ 2,880 กก.ต่อปี ประเภทขยะอินทรีย์ประมาณ 3 กก.ต่อวัน 60กก.ต่อเดือนและ 720 กก.ต่อปี ประเภทขยะรีไซเคิลประมาณ 5 กก.ต่อวัน 100 กก.ต่อเดือน 1,200 กก.ต่อปี ประเภทขยะอันตราย 0.2 กก.ต่อวัน 4 กก.ต่อเดือน และ 48 กก.ต่อปี ประเภทขยะเปียกที่เหลือหลังจากนักเรียนรับประทานอาหารกลางวันประมาณ 3 กก.ต่อวัน 50 กก.ต่อเดือน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพนักเรียนทำให้เกิดมลภาวะทางอากาศส่งกลิ่นไม่พึงประสงค์และสกปรกนำไปสู่การเป็นแหล่งเพาะเชื้อสู่การแพร่เชื้อโรคต่างๆ ได้ทาง โรงเรียนเล่งเห็นถึงความสำคัญของการจัดการขยะ จึงจัดทำโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม สนับสนุน การสร้างเครือข่ายสถานศึกษา ที่ดำเนินกิจกรรม ลด คัดแยก และนำกลับมาใช้ประโยชน์ การรวบรวมขยะเพื่อส่งไปกำจัดอย่างถูกต้อง ปลูกจิตสำนึกการลด คัดแยกขยะ และนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ในสถานศึกษา โรงเรียนจึงมีนโยบายในการส่งเสริมให้นักเรียน และบุคลากรของโรงเรียนคัดแยกขยะ มีการดำเนินกิจกรรมลดขยะ และการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์มีการสอนการทำปุ๋ยอินทรีย์จากเศษอาหาร นำพลาสติก ขวดและกล่องนมเหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นของใช้ ของเล่น การรณรงค์ให้มีการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก ลดการใช้พลาสติกและโฟม ส่งเสริมการใช้วัสดุจากธรรมชาติ มีการจัดนักเรียนแกนนำในการสร้างความรู้และจัดตั้งชุมนุมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน โดยมุ่งเน้นให้เกิดการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมในการพัฒนาวิธีการจัดการขยะตามโครงการโรงเรียนปลอดขยะที่มีประสิทธิภาพตามบริบทของโรงเรียน การมีส่วนร่วมในชุมชนตลอดจนการรณรงค์ให้เห็นปัญหาและผลกระทบของขยะมูลฝอย รวมถึงวิธีการในการจัดการขยะมูลฝอยที่ถูกต้อง และการร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกในการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพจากความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาดังกล่าวข้างตัน ผู้จัดทำโครงการจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการจัดการขยะ และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครอง ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะอย่างถูกวิธี

นักเรียน ผู้ปกครอง ครูและบุคลากรทางการศึกษาร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะอย่างถูกวิธี

0.00 80.00
2 เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้นักเรียน ผู้ปกครอง ครูและบุคลากรทางการศึกษามีแนวทางในการจัดลดปริมาณขยะ การคัดแยกขยะ และนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์
  1. ปริมาณขยะในโรงเรียนและชุมชน ลดลงร้อยละ 70
  2. โรงเรียนมีการจัดการขยะอย่างถูกวิธี ร้อยละ 80
0.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
12 ธ.ค. 65 - 31 ส.ค. 66 จัดอบรมการจัดการขยะ 0 37,875.00 37,900.00
12 ธ.ค. 65 - 31 ส.ค. 66 การจัดการขยะรีไซเคิลในโรงเรียนและชุมชน 0 13,365.00 13,365.00
12 ธ.ค. 65 - 31 ส.ค. 66 จัดทำชุดกิจกรรม Zero Waste 0 10,380.00 10,380.00
12 ธ.ค. 65 - 31 ส.ค. 66 จัดตั้งธนาคารขยะ 0 6,976.00 6,976.00
12 ธ.ค. 65 - 31 ส.ค. 66 การจัดการขยะอินทรีย์ในโรงเรียนและชุมชน 0 4,408.00 4,408.00
1 พ.ค. 66 - 31 ส.ค. 66 รายงานผลโครงการ 0 1,000.00 1,000.00
รวม 0 74,004.00 6 74,029.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ครู นักเรียน บุคลากรทางศึกษาและผู้ปกครอง สามารถคัดแยกขยะ นำขยะกลับไปใช้ประโยชน์ใหม่และปริมาณขยะในชุมชน และโรงเรียนลดลง ๒. ครู นักเรียน บุคลากรทางศึกษาและผู้ปกครอง มีระบบการจัดการขยะอย่างถูกวิธี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ต.ค. 2565 15:23 น.