กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
รายงานผลโครงการ1 ธันวาคม 2566
1
ธันวาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

สรุปผลการดำเนินงานและจัดทำรูปเล่มรายงานผลการดำเนินโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีรูปเล่มรายงานผลการดำเนินโครงการ จำนวน 4 เล่ม

จัดอบรมการจัดการขยะ6 สิงหาคม 2566
6
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • จัดอบรมให้ความเรื่องขยะให้แก่ ครู นักเรียน บุคลากร ผู้ปกครอง หลักสูตร 1 วัน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. นักเรียน ผู้ปกครอง ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดการขยะก่อนการอบรม คิดเป็นร้อยละ 40
  2. หลังการอบรม คิดเป็นร้อยละ 84 ของนักเรียน ผู้ปกครอง ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดการขยะมากขึ้น
  3. นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องของขยะมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการแยกประเภทของขยะ การทิ้งขยะให้ถูกประเภท การนำขยะไปใช้ประโยชน์ ทำให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความพึงพอใจร้อยละ 92.87
การจัดการขยะอินทรีย์ในโรงเรียนและชุมชน12 ธันวาคม 2565
12
ธันวาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ทางโรงเรียนได้มีการจัดทำขยะอินทรีย์จากขยะเปียก เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่นักเรียน และเป็นปุ๋ย กับต้นไม้ภายในบริเวณโรงเรียน โดยใช้วัสดุจากขยะเปียก เช่น ใบไม้ หญ้าเศษอาหารจากโรงครัวและ เศษอาหารที่เหลือจากการรับประทานอาหารที่นักเรียนไม่สามารถทานได้ เช่น กระดูกสัตว์ น้ำ แกงที่เหลือ เปลือกผลไม้ เป็นต้น นำมาทำขยะอินทรีย์โดยการขุดหลุมแล้วนำถังพลาสติกมาใส่ในหลุมเทขยะเปียกใส่แล้วปิดฝา ทางโรงเรียนได้ขุดหลุมบริเวณใต้ต้นไม้เพื่อนำขยะเปียก เช่น เศษอาหารจากการรับประทานอาหารกลางวัน ใสในหลุมเพื่อเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งทางโรงเรียนได้ขุดหลุมดังกล่าวไว้หลายจุด ทั่วทั้งบริเวณโรงเรียนและทางโรงเรียนเพ่ิมพื้นที่ บริเวณแปลงผักของนักเรียน เพื่อเป็นปุ๋ยอินทรีย์สำหรับแปลงผักของนักเรียน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการที่โรงเรียนได้จัดกิจกรรมการจัดการขยะอินทรีย์ในโรงเรียนและชุมชนขึ้น ผลที่ได้รับจากการทำกิจกรรม ดังนี้
- ทำให้ลดกลิ่นเน่าเหม็นจากเศษอาหารกลางวันได้ ร้อยละ 100
- ลดการคุ้ยเขี่ยเศษอาหารของสัตว์
- โรงอาหารมีความสะอาดมากขึ้น
- เป็นปุ๋ยให้กับต้นไม้ภายในโรงเรียน
- นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในครัวเรือนของนักเรียนได้

จัดตั้งธนาคารขยะ12 ธันวาคม 2565
12
ธันวาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. จัดตั้งธนาคารขยะภายในโรงเรียน
  2. จัดตั้งคณะทำงานธนาคารขยะ โดยทุกวันพุธ ตอนเที่ยง จะมีการรับซื้อขยะจากห้องเรียนนักเรียน หรือผู้ปกครองนำมาขาย 3.ทางโรงเรียนนำขยะไปขายต่อที่โรงรับซื้อของเก่า
  3. นำเงินที่ได้จากการขายขยะ ไปเข้ากองทุนอาหารกลางวันนักเรียน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ปริมาณขยะที่รับซื้อได้ในแต่ละเดือนเฉลี่ย 400-500 กก.
  2. โรงเรียนนำขยะไปขายต่อที่โรงรับซื้อของเก่าได้เงินเฉลี่ยเดือนละ 600 บาท
  3. ปริมาณขยะประเภทขวดและกระดาษ ในโรงเรียนลดน้อยลงร้อยละ 80
  4. ฝึกให้นักเรียนสามารถช่วยเหลือครอบครัว และสร้างรายได้ให้กับครอบครัว
จัดทำชุดกิจกรรม Zero Waste12 ธันวาคม 2565
12
ธันวาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดทำชุดกิจกรรม“ZeroWaste” โรงเรียนและชุมชนเปลี่ยนขยะให้เป็นศูนย์วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 จัดทำเพื่อให้นักเรียนใช้เป็นแนวทางประกอบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง “ZeroWaste” โรงเรียนและชุมชนเปลี่ยนขยะให้เป็นศูนย์เน้นให้นักเรียนได้ใช้กระบวนการสร้างความรู้และพัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ด้วยการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงจากธรรมชาติในท้องถิ่นเพื่อการจัดการขยะที่ยั่งยืนโดยผู้จัดทำได้แบ่งเนื้อหาออกเป็น 5 เล่ม ดังนี้ เล่มที่ 1 เรื่องประเภทของขยะ
เล่มที่ 2 เรื่องการลดขยะโดยหลัก 3 ช. เล่มที่ 3 เรื่องธนาคารขยะ เล่มที่ 4 เรื่องขยะอินทรีย์ เล่มที่ 5 เรื่องขยะรีไซเคิล

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการที่นักเรียนได้เรียนรู้ชุดกิจกรรม Zero Waste ครบทั้ง 5 เล่ม ผลคะแนนจากการทำแบบทดสอบก่อน - หลัง เรียนรู้ชุดกิจกรรม Zero Waste คิดเป็นร้อยละ ดังนี้ เล่มที่ 1 เรื่องประเภทของขยะ นักเรียนได้คะแนนเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 67.39 เล่มที่ 2 เรื่องลดขยะโดยหลัก 3ช นักเรียนได้คะแนนเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 75.87
เล่มที่ 3 เรื่องธนาคารขยะ นักเรียนได้คะแนนเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 77.23
เล่มที่ 4 เรื่องขยะอินทรีย์ นักเรียนได้คะแนนเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 77.88
เล่มที่ 5 เรื่องขยะรีไซเคิล นักเรียนได้คะแนนเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 82.79

การจัดการขยะรีไซเคิลในโรงเรียนและชุมชน6 ธันวาคม 2565
6
ธันวาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ให้นักเรียนรู้จักแยกขยะ และนำกลับมาใช้ใหม่ โดยการประดิษฐ์เป็นของใช้สอย หรือเป็นผลงานของห้องเรียน
  2. นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา มีการนำขยะรีไซเคิลบางอย่างที่มาจากการคัดแยกขยะมาทำสิ่งประดิษฐ์ ที่สามารถนำมาใช้งานได้ และเกิดประโยชน์เช่นถุงนมส่วนขยะที่ขายได้นำไปขายจัดตั้งธนาคารขยะโดยมีนักเรียนเป็นคณะกรรมการดำเนินงาน มีครูเป็นที่ปรึกษา มีการรับซื้อและ จัดการจำหน่ายจากนักเรียน ทำสมุดบัญชีสะสมเงินแก่นักเรียนการรับซื้อขยะจากนักเรียน สัปดาห์ละ 1 วันคือวันพุธตอนพักเที่ยง หลังรับประทานอาหารกลางวันเสร็จ
  3. นักเรียนแต่ละห้องทำชิ้นงานจากขยะรีไซเคิล
    • อนุบาล ที่รองจานจากถุงนม/ ประถมมหัศจรรย์กระดาษลังรักษ์โลก / ออมสินน้อยรักษ์สิ่งแวดล้อม / เปเปอร์มาเช่ / สะพายสะดวกใช้ / หมวกรักษ์โลก
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. นักเรียนชั้นอนุบาล 2 - ป.6 ร้อยละ 80 สามารถแยกขยะได้
  2. นักเรียนสามารถนำขยะรีไซเคิลมาประดิษฐ์เป็นของใช้เป็นชิ้นงานของตนเองได้
  3. นักเรียนสามารถนำชิ้นงานของตนเองมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ และนักเรียนร้อยละ 100 มีความพึงพอใจในผลงานของตนเอง