กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะแพน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับพฤติกรรมลดโรคและลดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะแพน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะแพน

หมู่ที่ 2,4,5 ตำบลตะแพน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

19.02
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

14.01

โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด นับเป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตผู้คนไปเป็นจำนวนมาก โดยคนไทยเจ็บป่วยและตายด้วยโรคไม่ติดต่อ จากผลการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะแพนประจำปี 2565 พบผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 104 คนผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 167 คน กลุ่มเสี่ยงที่ได้รับวินิจฉัยเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ 5 คน ผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ จำนวน 3 คน (จำนวนผู้ป่วยเก่าโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 166 คน และโรคเบาหวานจำนวน 63 คน)สาเหตุมาจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องเพิ่มขึ้น ได้แก่ การขาดการออกกำลังกายที่ถูกต้อง การรับประทานอาหารที่มันจัดเค็มจัด หวานจัดรวมทั้งผักและผลไม้ที่ไม่เพียงพอ ความเครียด การสูบบุหรี่และดื่มสุรา เป็นต้น ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจากการมีพฤติกรรมเสี่ยงร่วมที่ไม่ถูกต้อง จำเป็นต้องดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกระดับรวมทั้งประชาชนอย่างจริงจัง เพื่อให้ประชาชนมีการออกกำลังกายสม่ำเสมอ สัปดาห์ละอย่างน้อย 3 วันๆละอย่างน้อย 30 นาที ร่วมกับการรับประทานผักสดและผลไม้สดวันละอย่างน้อย 5ขีดขึ้นไป(ครึ่งกิโลกรัม)และลดอาหารไขมันซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดลงลดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำบลตะแพน จึงจัดทำโครงการปรับพฤติกรรมลดโรคและลดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ขึ้น โดยมุ่งเน้นส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชน มีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องในการออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ละอย่างน้อย ๓ -๕ วันวันละอย่างน้อย ๓๐ นาที ร่วมกับกินผักอย่างน้อยวันละครึ่งกิโลกรัม และลดอาหารไขมัน ตลอดจนมีส่วนร่วมในการจัดปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้อง อันจะนำไปสู่การลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรควิถีชีวิต และส่งผลให้ประชาชนมีการสร้างสุขภาพที่ยั่งยืนและมีสุขภาพแข็งแรง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

19.02 15.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 10
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 22/05/2023

กำหนดเสร็จ 25/05/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.กลุ่มเสี่ยง รวบรวมข้อมูลกลุ่มเสี่ยงเข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ - ดำเนินการสร้างแกนนำกลุ่มเสี่ยง จำนวน 50 คน เพื่อเข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ตามกระบวนการคลินิก DPAC - ติดตามผลภายหลังเข้ากระบวนการคลีนิก DPAC เปร

ชื่อกิจกรรม
1.กลุ่มเสี่ยง รวบรวมข้อมูลกลุ่มเสี่ยงเข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ - ดำเนินการสร้างแกนนำกลุ่มเสี่ยง จำนวน 50 คน เพื่อเข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ตามกระบวนการคลินิก DPAC - ติดตามผลภายหลังเข้ากระบวนการคลีนิก DPAC เปร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเสี่ยง -  อาหารกลางวันแกนนำกลุ่มเสี่ยง(อบรมให้ความรู้) 50 คน x 60 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท -  อาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มแกนนำกลุ่มเสี่ยง(อบรมให้ความรู้) 50 คน x 25บาท x 2มื้อเป็นเงิน 2,500 บาท
  -  ค่าสมนาคุณวิทยากร                         6 ชั่วโมง x 300 บาท x 1 วัน          เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 พฤษภาคม 2566 ถึง 22 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับการอบรมให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 อัตราป่วยด้วยความดันโลหิตสูง เบาหวานรายใหม่ ไม่เกินร้อยละ 4 ของกลุ่มเสี่ยง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7300.00

กิจกรรมที่ 2 2. กลุ่มผู้ป่วยเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเบาหวาน,โรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อนที่ควบคุมไม่ได้ จำนวน 10 คน

ชื่อกิจกรรม
2. กลุ่มผู้ป่วยเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเบาหวาน,โรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อนที่ควบคุมไม่ได้ จำนวน 10 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมทีมสหวิชาชีพในการดำเนินงานเยี่ยมบ้าน -อาหารกลางวันทีมสหวิชาชีพ จำนวน 10 คน x 60 บาท เป็นเงิน 600 บาท -อาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มทีมสหวิชาชีพ จำนวน 10คน x 25 บาท x2 มื้อ เป็นเงิน 500 บาท 2.เยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อนควบคุมไม่ได้จำนวน 10 คน
3.สรุปผลการติดตามการเยี่ยมบ้านโดยทีมสหวิชาชีพ -อาหารกลางวันทีมสหวิชาชีพ จำนวน 10 คน x 60 บาท เป็นเงิน 600 บาท -อาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มทีมสหวิชาชีพ จำนวน 10คน x 25 บาท x2 มื้อ เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 พฤษภาคม 2566 ถึง 25 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ มีภาวะแทรกซ้อนไม่เกินร้อยละ 10

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.อัตราป่วยด้วยความดันโลหิตสูง เบาหวานรายใหม่ ไม่เกินร้อยละ 4 ของกลุ่มเสี่ยง
2.ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ มีภาวะแทรกซ้อนไม่เกินร้อยละ 10


>