กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการผู้สูงอายุสุขภาพดี ชีวีมีสุขบ้านในใส หมู่ที่ 15 ตำบลละงู

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

ชมรมผู้สุงอายุบ้านในใส

1. นายพิชิตกุลโรจนสิริ
2.นางสาวอารีรัตน์เอียดดี
3.นางกัญจนาสมาคม
4.นางสาวปานีหล๊ะเกลี้ยง
5.นางพนาเกษา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สถานการณ์ผู้สูงอายุจังหวัดสตูล ผู้สูงอายุจำนวนทั้งสิ้น 39,467 คน คิดเป็นร้อยละ 14.85 ของประชากรทั้งหมด เป็นชาย 17,835 คน (ร้อยละ45.19)หญิง จำนวน 21,632 (ร้อยละ 54.81) อำเภอที่มีอัตราส่วนของผู้สูงอายุมากที่สุดเมื่อเทียบกับประชากรทั้งหมด คืออำเภอละงู ร้อยละ 15.54 รองลงมาคือ อำเภอเมืองสตูล ร้อยละ 15.45น้อยที่สุด คือ อำเภอมะนัง ร้อยละ 12.46
ผู้สูงอายุที่ผ่านการประเมินศักยภาพตามความสามารถในการประกอบกิจวัตประจำวัน (ADL) จำนวนทั้งหมด 28,104 คน จากจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด 39,467 คน คิดเป็น (ร้อยละ 71.21) จำแนกเป็นกลุ่มที่ 1 (ช่วยเหลือตัวเองได้และ/หรือ ช่วยเหลือผู้อื่น ชุมชน และสังคมได้) ร้อยละ 97.4 สูงสุดที่ อำเภอละงู (ร้อยละ 99.5) น้อยที่สุดอำเภอเมืองสตูล (ร้อยละ 94.0) กลุ่มที่ 2 (ช่วยเหลือตัวเองและดูแลตนเองได้บ้าง) ร้อยละ 2 สูงที่สุดอำเภอมะนัง (ร้อยละ 5.5) น้อยที่สุดอำเภอละงู (ร้อยละ0.4) กลุ่มที่ 3 (ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้) ร้อยละ 0.6 สูงที่สุดอำเภอเมืองสตูลและอำเภอท่าแพ (ร้อยละ 0.8) น้อยที่สุดอำเภอละงู (ร้อยละ 0.2)
เพื่อพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ ด้านสุขภาพ ด้านสังคม การคุ้มครองดูแลผู้สูงอายุ ชุมชนบ้านในใสหมู่ที่15ตำบลละงูอำเภอละงูจังหวัดสตูลมี400ครัวเรือนประชากรทั้งหมด1,102คนแยกเป็นชายจำนวน542คนหญิงจำนวน557 คนประชากรผู้สูงอายุจำนวน175คนแยกประเภทผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมจำนวน150คนกลุ่มติดบ้านจำนวน20คนกลุ่มติดเตียง5คนข้อมูลด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนบ้านในใส
1. ผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านสุขภาพจำนวน50คนแยกเป็นโรคความดันจำนวน20คนโรคเบาหวานจำนวน9คนโรคไขมันในเลือดจำนวนจำนวน8คนโรคหัวใจ จำนวน5คนโรคไตจำนวน4คนโรคเก๋าส์จำนวน4คนโรคพากินสันจำนวน4คน
2. ผู้สูงอายุที่ไม่มีปัญหาด้านสุขภาพจำนวน125คน
3. ผู้สูงอายุที่มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพคือออกกำลังกายเป็นประจำ จำนวน80คนบริโภคอาหารที่เหมาะสมจำนวน175คน
ทั้งนี้จากข้อมูลสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้นทางชมรมผู้สูงอายุบ้านในใสได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกายจิตใจและสังคมโดยชมรมผู้สูงอายุบ้านในใสจะเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินงานด้วยเหตุนี้จึงสมัครเข้าร่วมโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลละงูเพื่อให้ผู้สูงอายุในชุมชนบ้านในใสมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับวัยทั้งนี้ได้มุ่งเน้นในด้านการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุให้เป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพไม่เป็นภาระต่อสังคมและครอบครัวต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

ข้อที่ 1 เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งให้กับผู้สูงอายุและสนับสนุนให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพอย่างยั่งยืน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 06/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ที่ 1.ประชุมคณะทำงานจำนวน 2 ครั้ง จำนวน 20 คน

ชื่อกิจกรรม
ที่ 1.ประชุมคณะทำงานจำนวน 2 ครั้ง จำนวน 20 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1.ประชุมคณะทำงานจำนวน 2 ครั้ง จำนวน 20 คน
ครั้งที่ ๑ เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจ โครงการและแบ่งบทบาทหน้าที่การ ทำงาน มอบหมายงานให้แต่ละคนตลอดจนคืนข้อมูลสถานการณ์ปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุในพื้นที่ พร้อมร่วมกำหนดกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุติดสังคมเข้าร่วมโครงการจำนวน 50 คน
ครั้งที่ ๒ เพื่อสรุปผลการดำเนินงานหลักเสร็จสิ้นโครงการพร้อมจัดทำรายงาน (จัดเต็มวันเนื่องจากมีการจัดบำเพ็ญประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ เช่น การเก็บขยะในชุมชน เป็นต้น ) •  ค่าอาหารกลางวัน  20 คน x 70 บาท x 2 ครั้ง       = 2,800 บาท •  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คน x 30 บาท x 4 มื้อ  = 2,400 บาท •  ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 2x2 เมตรๆ ละ150 บาท x 1 ป้าย  =  300 บาท •  ค่าวัสดุอุปกรณ์ กระดาษ แม็ค ปากกา แผ่นรองลงทะเบียน หมึกพิมพ์ = 1,500 บาท •  ค่าจัดทำรูปเล่มจำนวน 2 เล่ม x 800 บาท = 1,600 บาท             รวมเป็นเงิน 8,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 2 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8600.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 อบรมพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 อบรมพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 2 อบรมพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพตนเอง เช่น สุขภาพของผู้สูงอายุอาการที่อาจเกิดขึ้นได้ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้เฝ้าระวังตนเอง การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ อาหารและโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุตลอดจนเรื่องของการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในผู้สูงอายุ และทบทวนกติการ่วมเพื่อขับเคลื่อนการทำงานโครงการให้มีประสิทธิภาพ ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้สูงอายุติดสังคมจำนวน 50 คน ตัวแทน อสม. 5 คน บัณฑิตอาสาผู้นำชุมชน 5 คน • ค่าอาหารกลางวัน60คน x 70 บาท
=4,200บาท • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 60 คน x 30 บาท x 2 มื้อ= 3,600 บาท • ค่าวัตถุดิบในการประกอบอาหารเพื่อสุขภาพของผู้สงวัยจำนวน2,000บาท
• ค่าวิทยากร 600 บาทx 6ชม.x 2 คน = 3,600บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13400.00

กิจกรรมที่ 3 ออกกำลังกายของผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
ออกกำลังกายของผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 3 ออกกำลังกายของผู้สูงอายุโดยมีการออกกำลังกายให้แก่ผู้สูงอายุที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายร่วมกันหรือออกกำลังกายที่บ้าน อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที อย่างน้อย 6 เดือน จำนวน 72 วัน และมีการติดตามประเมินการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพสุขภาพผู้สูงอายุเดือนละ 1 ครั้ง รวม 6 ครั้ง •  สนับสนุนค่าไฟอาคารอเนกประสงค์  เดือนละ  200  บาท  จำนวน  6  เดือน  = 1,200  บาท •  ตู้ลำโพงขยายเสียงเคลื่อนที่ 1  ตู้  = 5,000 บาท •  ตาชั่งน้ำหนักดิจิตอล  = 1,000 บาท •  เครื่องวัดความดัน 2 เครื่อง  = 3,000 บาท •  ค่าน้ำดื่มสำหรับผู้มาออกกำลังกาย  72 วัน x  100 บาท =  7,200 บาท •  ค่าสมนาคุณวิทยากรนำออกกำลังกาย 72 วัน x  100 บาท =  7,200 บาท •  สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ 20 บาท x 50 คน = 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25600.00

กิจกรรมที่ 4 เยี่ยมบ้านเยี่ยมใจผู้สูงอายุติดบ้าน

ชื่อกิจกรรม
เยี่ยมบ้านเยี่ยมใจผู้สูงอายุติดบ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 4. เยี่ยมบ้านเยี่ยมใจผู้สูงอายุติดบ้าน 20 คน ติดเตียง 5 คน โดยคณะกรรมการชุมรมผู้สูงอายุม. 15 บ้านในใส พร้อมสำรวจข้อมูลสภาพปัญหาของผู้สูงอายุเพื่อนำไปสู่การปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ และส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการแก้ไขปัญหาร่วมกับชุมชนอย่างน้อย 3 ครั้ง
•  ค่าวัสดุอุปกรณ์การเยี่ยม/ถุงยังชีพที่จำเป็น  จำนวน  25  คน  คนละ  200  บาท 5,000 บาท x 3 ครั้ง = 15,000 บาท
•  สมุดสุขภาพ 25 ชุด x 20 บาท = 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

กิจกรรมที่ 5 เวทีคืนข้อมูลสุขภาพผู้สูงวัย

ชื่อกิจกรรม
เวทีคืนข้อมูลสุขภาพผู้สูงวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 5 เวทีคืนข้อมูลสุขภาพผู้สูงวัยและร่วมกำหนดทิศทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ม. 15 บ้านในใส
ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 คน คณะกรรมการหมู่บ้าน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมทั้งสิ้น 70 คน
ร่างกำหนดการ 09.00 น. เปิดการประชุมและชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรม 09.30 น. กล่าวเปิดงานโดย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลละงู 10.00 น. คืนข้อมูลสุขภาพโดยประธานชมรมผู้สูงอายุ ม. 15 บ้านในใส 10.30 น. เวทีเสวนาทิศทางในการทิศทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ม. 15 บ้านในใส โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย ตัวแทนผู้สูงอายุ ผู้แทนท้องที่ ท้องถิ่น รพ.สต. เป็นต้น 11.30 น. พิธีมอบประกาศเกียรติคุณให้กับผู้สูงอายุที่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ดีขึ้น 12.00 น. รับประทานอาหารร่วมกันเพื่อสร้างความสัมพันธ์ในชุมชน 13.30 น. กิจกรรมสันทนาการการแสดงเต้นบาสโลบการแข่งขันเตะปี๊บ ของผู้สูงวัย
15.20 น.ประกาศกติกาการอยู่ร่วมกันของผู้สูงอายุบ้านในใสและมอบของรางวัลแก่ผู้ร่วมทำกิจกรรม
16.00 น. ปิดการประชุม

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14600.00

กิจกรรมที่ 6 กิจกรรมที่ 6 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถอดบทเรียน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 6 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถอดบทเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 6 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถอดบทเรียนการจัดกิจกรรม เพื่อสรุปผลการขับเคลื่อนการดำเนินงานวางแผนการจัดกิจกรรมในระยะต่อไปผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ ม. 15 บ้านในใส จำนวน 20 คน ที่ปรึกษาจำนวน 1 คน วิทยากร 1 คน รวม 22 คน •  ค่าอาหารกลางวัน  22 คน x 70 บาท         = 1,540 บาท •  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คน x 30 บาท x 2 มื้อ  = 1,320 บาท •  ค่าวิทยากร 600 บาท x 3  ชม. = 1,800  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4660.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 86,860.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถดูแลสุขภาพตนเองได้
2.ผู้สูงอายุมีทักษะในการดูแลสุขภาพร่างกายของผู้สูงอายุ
3.ผู้สูงอายุมีปฏิสัมพันธ์ และตระหนักถึงความสำคัญในการอยู่ร่วมกัน ภายใต้สังคมผู้สูงอายุและครอบครัว


>