กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

กลุ่มสตรีลางา 30-60 ปี ปลอดภัยห่างไกลจากมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูกภายใน ปี 2567 (ปีที่ 4)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

ชมรมแกนนำสร้างเสริมสุขภาพตามวิถีอัล-อิสลามลางา

1.นางสาวอารีนาอาแวหัวหน้าโครงการ
2.นางนิสากูมาแขกปาทานการเงินโครงการ
3.นางอาแอเส๊าะ มะ ประชาสัมพันธ์/ประสานงาน
4.นางสาวรอฮีม๊ะมามะคณะทำงานโครงการ
5.นางไซนับสามะ คณะทำงานโครงการ
6.นางสาวอัศลีนาจิงดารานักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
ที่ปรึกษาโครงการ

ตำบลลางา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคมะเร็งเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตของประชาชนและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเป็นจำนวนมากโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งในประเทศไทยจากข้อมูลสถิติสาธารณสุขปี พ.ศ.2546 (สถาบันมะเร็งแห่งชาติ, 2548) พบว่าอัตราตายจากโรคมะเร็งของประชากรไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นและโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทยได้แก่มะเร็งตับมะเร็งปอดมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมตามลำดับสำหรับสตรีไทยโรคมะเร็งปากมดลูกมีอุบัติการณ์สูงเป็นอันดับหนึ่งของโรคมะเร็งทุกชนิด (สถาบันมะเร็งแห่งชาติ, 2548) นอกจากนี้ยังพบว่า การตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาผู้ที่มีความผิดปกติของปากมดลูกตั้งแต่ระยะก่อนเป็นมะเร็งตามขั้นตอน ที่ถูกต้องเหมาะสมสามารถลดอุบัติการณ์และอัตราการตายของโรคมะเร็งปากมดลูกได้เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่เซลล์เริ่มผิดปกติโดยการทำ PapsmearหรือVIA (VisualInspectionofcervix with Aceticacid) ประกอบกับการดำเนินโรคเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปและสามารถรักษาให้หายขาดได้โดยการรักษาตามระบบและการจี้เย็น (Cryotherapy)
ในพื้นที่ตำบลลางาหญิงวัยเจริญพันธ์ อายุ 30 – 60 ปี มีจำนวน 1,367 คน ซึ่งทุกคนต้องได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกภายใน 5 ปี ครบ 100% (เริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ2563 - 2567) โดยตั้งเป้าหมายให้มีการตรวจคัดกรอง ฯ ในแต่ละปีไม่ต่ำกว่าร้อยละ20 คิดเป็น 237 รายต่อปี
เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในตนเองของหญิงวัยเจริญพันธ์รวมไปชุมชนในการร่วมกันให้ความสำคัญต่อสุขภาพและการคัดกรองภาวะเสี่ยง โดยเฉพาะการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ทางชมรมแกนนำสร้างเสริมสุขภาพตามวิถีอัล-อิสลามลางาจึงได้ร่วมมือกับเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลางา ทีมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลลางา จัดทำโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อรณรงค์และร่วมกับขับเคลื่อนชุมชนให้มีความตื่นตัวทางสุขภาพและเข้ามารับการตรวจมะเร็งปากมดลูกที่มากขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อสร้างเครือข่ายอาสาสมัครในการดูแล และส่งเสริมสุขภาพหญิงวัยเจริญพันธ์

1.มีเครือข่ายสุขภาพสนับสนุนการดำเนินงานตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูกในพื้นที่ 2.กลุ่มหญิงวัยเจริญพันธ์ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองเต้านม และมะเร็งปากมดลูกไม่ตำกว่าร้อยละ 80 ในเวลา 5 ปี (2563-2567)

50.00 50.00
2 2.เพื่อให้กลุ่มหญิงวัยเจริญพันธ์ 30 -60 ปี มีความรู้ เรื่องมะเร็งเต้านมและสามารถตรวจคัดกรองด้วยตนเองได้

1.หญิงวัยเจริญพันธ์ 30 -60 ปี มีความรู้ เรื่องมะเร็งเต้านมและสามารถตรวจคัดกรองด้วยตนเองได้ ร้อยละ 80

50.00 50.00
3 3.เพื่อให้กลุ่มหญิงวัยเจริญพันธ์ 30 -60 ปี มีความรู้ เรื่องมะเร็งปากมดลูกและได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมากกว่าร้อยละ 20 ต่อปี

1.หญิงวัยเจริญพันธ์ 30 -60 ปี มีความรู้ เรื่องมะเร็งปากมดลูกและได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมากกว่าร้อยละ 80

50.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 237
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 350
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สร้างเครือข่ายสุขภาพและทำความเข้าใจ

ชื่อกิจกรรม
สร้างเครือข่ายสุขภาพและทำความเข้าใจ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ชี้แจงเกี่ยวกับรายละเอียดโครงการให้กับเครือข่ายสุขภาพในชุมชน 2.ทำความเข้าใจในกระบวนการดำเนินงาน การลงพื้นที่ 3.การติดตามกลุ่มเป้าหมาย
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 50 คน รวมเป็นเงิน 1,250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-มีเครือข่ายอาสาสมัครในการดูแล และส่งเสริมสุขภาพหญิงวัยเจริญพันธ์ ที่เข็มแข็ง -ประชาชนมีความรู้ความตระหนักของโรคมะเร็งปากมดลูก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1250.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 จัดเวทีเสวนาสร้างความตระหนักในการดูแลกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธ์ 30-60 ปี 1.ลงพื้นที่ทำกลุ่ม เสวนา สร้างความตระหนักให้เห็นความสำคัญในการตรวจมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกแก่กลุ่มเป้าหมายหญิงวัยเจริญพันธ์ อายุ 30-60 ปีในพื้นที่ทั้ง 7 หมู่บ้าน 7 ครั้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 จัดเวทีเสวนาสร้างความตระหนักในการดูแลกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธ์ 30-60 ปี 1.ลงพื้นที่ทำกลุ่ม เสวนา สร้างความตระหนักให้เห็นความสำคัญในการตรวจมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกแก่กลุ่มเป้าหมายหญิงวัยเจริญพันธ์ อายุ 30-60 ปีในพื้นที่ทั้ง 7 หมู่บ้าน 7 ครั้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่าง จำนวน 300 คน ๆ ละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ
เป็นเงิน 7,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มวัยเจริญพันธ์มีความตระหนักให้เห็นความสำคัญในการตรวจมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7500.00

กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธ์ อายุ 30-60ปี 1.ลงพื้นที่ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอสม.ที่รับผิดชอบตามละแวก/หมู่บ้านเพื่อให้สุขศึกษา ประชาสัมพันธ์ คัดกรอง ติดตามกลุ่มเป้าหมาย เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี paps

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธ์ อายุ 30-60ปี 1.ลงพื้นที่ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอสม.ที่รับผิดชอบตามละแวก/หมู่บ้านเพื่อให้สุขศึกษา ประชาสัมพันธ์ คัดกรอง ติดตามกลุ่มเป้าหมาย เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี paps
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่ายานพาหนะสำหรับคณะกรรมการชมรมฯและอสม.ในการลงพื้นที่ติดตามกลุ่มเป้าหมายเพื่อเข้ารับการตรวจ ณ รพ.สต.ลางา จำนวน 50 คนๆ50 บาท จำนวน 5 ครั้ง เป็นเงิน 12,500บาท

-ค่าผ้าถุงเพื่อมอบให้กับกลุ่มเป้าหมายที่มาตรวจมะเร็งปากมดลูกเปลี่ยนขณะตรวจ เพื่อให้ถูกสุขลักษณะ จำนวน 300 ผืน ผืนละ 150 บาท เป็นเงิน 45,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงวัยเจริญพันธ์ อายุ 30-60ปี เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี papsmear โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ทุกคน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
57500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 66,250.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มหญิงวัยเจริญพันธ์ 30 -60 ปี มีความรู้ มีความตระหนัก ในการดูแลสุขภาพตนเอง
2.มีเครือข่ายในการดูแลติดตามกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธ์ 30 -60 ปี ที่เข้มแข็ง
3.กลุ่มหญิงวัยเจริญพันธ์ 30 -60 ปี ห่างไกลจากมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก


>