กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลและปลอดภัย (RDU) ในตำบลลางาโดยบูรณาการตามวิถีอัล-อิสลาม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

ชมรมแกนนำสร้างเสริมสุขภาพตามวิถีอัล-อิสลามลางา

ชมรมแกนนำสร้างเสริมสุขภาพตามวิถีอัล-อิสลามลางา
1.นางสาวอารีนาอาแวหัวหน้าโครงการ
2.นางนิสากูมาแขกปาทานการเงินโครงการ
3.นางอาแอเส๊าะ มะะประชาสัมพันธ์/ประสานงาน
4.นางสาวรอฮีม๊ะมามะคณะทำงานโครงการ
5.นางไซนับสามะ คณะทำงานโครงการ
6.นางตอยญีบะห์นาแว พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
ที่ปรึกษาโครงการ

ตำบลลางา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในสภาพสังคมปัจจุบันที่ชุมชนมีการขยายตัวและการเข้ามาถึงเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว และผลจากปัญหาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันในสังคม การเข้าถึงบริการด้านสุขภาพเพียงอย่างเดียวคงไม่เพียงพอที่จะทำให้ประชาชนทุกคนมี “สุขภาพดี” หรือมี “สุขภาวะ” อีกทั้งการที่ประชากรผู้สูงอายุมีจำนวนมากขึ้น คนในวัยอื่น ๆ ก็มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังมากขึ้น เช่น ขาดการออกกาลังกาย บริโภคอาหารไม่มีประโยชน์ และมีปัญหาความเครียด ประชาชนมีภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีผู้ป่วยเรื้อรังมากขึ้น ผลคือ สังคมเราในทุกวันนี้มีปัญหาสุขภาพที่เกิดมากขึ้น เนื่องจากภาวะความดันโลหิตสูง น้ำตาลในเลือดสูง คอเลสเตอรอลสูง โรคอ้วน เส้นเลือดในสมองแตก เป็นมะเร็ง เบาหวาน และโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง เหล่านี้เป็นปัญหาสุขภาพที่ต้องการ การจัดการอย่างต่อเนื่องผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษส่วนใหญ่มักเป็นผู้สูงอายุที่อยู่กับบ้าน ไม่มีญาติคอยให้การดูแลเรื่องการทานยา หรือมีญาติคอยดูแลแต่ไม่มีความรู้ในเรื่องการใช้ยา โดยสรุปปัญหาความไม่ปลอดภัยจากการใช้ยาของคนไทยที่พบบ่อย ได้แก่ การแพ้ยา ใช้ยาเสื่อมคุณภาพ ใช้ยาเกินขนาด หรือการได้รับปริมาณยาในขนาดที่ไม่เหมาะสม เช่น มากไป หรือน้อยไป และการใช้ยาไม่ถูกกับโรค เป็นต้น ประกอบกับความเชื่อแต่ดั้งเดิมที่ไม่ถูกต้องตามหลักการศาสนาของผู้ป่วยและญาติในสังคมมุสลิมในการดูแลตนเองที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งปัญหาเหล่านี้ ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากความไม่เข้าใจในหลักการศาสนาและพฤติกรรมการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมของตัวผู้ป่วยเอง ในอีกมุมอาจเกิดจากระบบสาธารณสุขและการให้ บริการทางเภสัชกรรมที่ทำได้ไม่ทั่วถึง
ลางาเป็นตำบลหนึ่ง ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอมายอ บริบททั่วไปมีลักษณะกึ่งเมือง กึ่งชนบท โดยเฉพาะชุมชนบ้านปาลัส เป็นพื้นที่ชุมชนเมือง มีร้านค้า ร้านสะดวกซื้อและร้านยา รวมทั้งคลินิกหลายร้าน ส่งผลให้การเข้าถึงบริการด้านการใช้ยาของประชาชนในพื้นที่ได้ง่ายและสะดวกขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่การใช้ยาแบบพร่ำเพรื่อย ไม่สมเหตุสมผล ไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อสุขภาพที่จะตามมาในอนาคตได้ ส่วนในพื้นที่ชนบท ที่อยู่ด้านใน ประชาชนบางส่วนยังขาดถึงความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy, HL) มีการใช้ยาชุด สมุนไพรลูกกลอน หรือการใช้บริการจากหมอบ้านที่ขาดมาตรฐานทางด้านสาธารณสุข ซึ่งอาจนำพาสู่ภัยทางสุขภาพตามมาได้ สอดคล้องกับพื้นที่โดยรวมของตำบลที่มีประชากรนับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 100 มีวิถีปฏิบัติและขนบธรรมเดียวกันและยึดถือตามแนวทางศาสนาอิสลามเป็นหลัก จำเป็นต้องมีการสนับสนุน ส่งเสริมให้ชุมชนมีความเข้มแข็งในด้านการใช้ยาอย่างปลอดภัยโดยนำศาสนาเป็นศูนย์กลางในการปฏิบัติ
ชมรมแกนนำสร้างเสริมสุขภาพตามวิถีอัล-อิสลามลางา ได้เล็งเห็นถึงปัญหาของการใช้ยาในชุมชน รวมไปถึงผลกระทบทางสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ จึงได้ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลางา ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านสาธารณสุขในพื้นที่ จัดทำโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อให้ชุมชนและประชาชนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองอย่างถูกวิธีตามแนวทางอัล-อิสลามเพื่อส่งผลให้ชุมชน ผู้ป่วย/ผู้รับบริการในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพือให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (เบาหวาน ความดันโลหิตสูง)และผู้ดูแลมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ยาที่ถูกต้อง

ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้ดูแลมีความรู้ในการปฏิบัติตัวเอง ใช้ยารักษาโรคอย่างถูกต้อง เหมาะสม ไม่ใช้ยาพร่ำเพรื่อ และลดอัตาการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคไต โรคตับ เป็นต้น

50.00 50.00
2 เพื่อพัฒนาสมรรถนะเครือข่ายและอสม.ในการเป็นพี่เลี้ยง RDU ในชุมชน

เครือข่ายและอสม.มีความรู้เรื่อง RDU ชุมชน ทำแบบประเมินได้มากกว่าร้อยละ 80 และสามารถเป็นพี่เลี้ยงให้ความรู้ ส่งต่อข้อมูลในชุมชนได้

50.00 50.00
3 เพื่อพัฒนาเครือข่ายในชุมชน ร้านค้า โรงเรียนให้มีความรู้ในการซื้อ-ขายยาอย่างถูกต้อง เหมาะสม ไม่เกิดภัยสุขสุขภาพต่อชุมชน

เครือข่ายมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่อง RDU มากกว่าร้อยละ 80และเกิดเครือข่าย RDU ในชุมชน

50.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โรงเรียน RDU ในผู้ป่วย HTDM เพื่อการใช้ยาอย่างถูกต้อง เหมาะสม ครั้งที่ 1

ชื่อกิจกรรม
โรงเรียน RDU ในผู้ป่วย HTDM เพื่อการใช้ยาอย่างถูกต้อง เหมาะสม ครั้งที่ 1
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เวทีให้ความรู้ -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คน x 25 บาท x 2 มื้อ = 2,500 บาท -ค่าอาหารกลางวัน 50 คน x 50 บาท x 1 มื้อ = 2,500 บาท -ค่าวิทยากรแบบเหมาจ่าย 1 ท่านๆละ = 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทำให้นักเรียนมีความรุ้ในการใช้ยาอย่างถุกต้องเหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6200.00

กิจกรรมที่ 2 โรงเรียน RDU ในผู้ป่วย HTDM เพื่อการใช้ยาอย่างถูกต้อง เหมาะสม ครั้งที่ 2

ชื่อกิจกรรม
โรงเรียน RDU ในผู้ป่วย HTDM เพื่อการใช้ยาอย่างถูกต้อง เหมาะสม ครั้งที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ลงพื้นที่ติดตามในพื้นที่ร่วมกับเครือข่ายและอสม.

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรุ้ในการใช้ยาอย่างถุกต้องเหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 โรงเรียน RDU ในผู้ป่วย HTDM เพื่อการใช้ยาอย่างถูกต้อง เหมาะสม ครั้งที่ 3

ชื่อกิจกรรม
โรงเรียน RDU ในผู้ป่วย HTDM เพื่อการใช้ยาอย่างถูกต้อง เหมาะสม ครั้งที่ 3
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เวทีติดตามผล ประเมินผลลัพธ์ -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คน x 25 บาท x 2 มื้อ = 2,500 บาท -ค่าอาหารกลางวัน 50 คน x 50 บาท x 1 มื้อ = 2,500 บาท -ค่าวิทยากรแบบเหมาจ่าย 1 ท่านๆละ = 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรุ้ในการใช้ยาอย่างถุกต้องเหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6200.00

กิจกรรมที่ 4 พัฒนาสมรรถนะเครือข่ายและอสม.ในการเป็นพี่เลี้ยง RDU ในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาสมรรถนะเครือข่ายและอสม.ในการเป็นพี่เลี้ยง RDU ในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เวทีอบรม -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คน x 25อบาท x 2 มื้อ = 2,500 บาท -ค่าอาหารกลางวัน 50 คน x 50 บาท x 1 มื้อ = 2,500 บาท -ค่าวิทยากรแบบเหมาจ่าย 1 ท่านๆละ = 1,200 บาท -ค่าถ่ายเอกสารเพื่อประกอบการอบรม = 2,000 บาท ลงพื้นที่ติดตามผู้ป่วยและให้ความรู้ในชุมชนเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงความรู้ RDU -ค่าไวนิลจัดนิทรรศการให้ความรู้ในชุมชนทั้ง 7 หมู่บ้านๆ 1 ชุดๆละ 1,000 บาท = 7,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพิ่อให้อสม และเครือข่ายมีสมรรถนะในการเป็นพี่เลี้ยง RDU ในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15200.00

กิจกรรมที่ 5 พัฒนาเครือข่ายในชุมชน ร้านค้า โรงเรียนให้มีความรู้ในการซื้อ-ขายยาอย่างถูกต้อง เหมาะสม ไม่เกิดภัยสุขสุขภาพต่อชุมชน

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาเครือข่ายในชุมชน ร้านค้า โรงเรียนให้มีความรู้ในการซื้อ-ขายยาอย่างถูกต้อง เหมาะสม ไม่เกิดภัยสุขสุขภาพต่อชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

พัฒนาเครือข่ายในชุมชน ร้านค้า โรงเรียนให้มีความรู้ในการซื้อ-ขายยาอย่างถูกต้อง เหมาะสม ไม่เกิดภัยสุขสุขภาพต่อชุมชน 3.1 ประชุมเชิงปฏิบัติการร้านค้าในชุมชน -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 32 คน x 25 บาท x 2 มื้อ = 1,600 บาท -ค่าอาหารกลางวัน 32 คน x 50 บาท x 1 มื้อ = 1,600 บาท -ค่าวิทยากรแบบเหมาจ่าย 1 ท่านๆละ = 1,200 บาท 3.2 ประชุมเชิงปฏิบัติการแกนนำนักเรียนในพื้นที่ -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คน x 25 บาท x 2 มื้อ = 2,500 บาท -ค่าอาหารกลางวัน 50 คน x 50 บาท x 1 มื้อ = 2,500 บาท -ค่าวิทยากรแบบเหมาจ่าย 1 ท่านๆละ = 1,200 บาท -ค่าถ่ายเอกสารเพื่อประกอบการอบรม = 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อพัฒนาเครือข่ายในชุมชน ร้านค้า โรงเรียนให้มีความรู้ในการซื้อ-ขายยาอย่างถูกต้อง เหมาะสม ไม่เกิดภัยสุขสุขภาพต่อชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 40,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนด้านการใช้ยาในกลุ่มป่วยโรคเรื้อรัง (เบาหวาน ความดันโลหิตสูง)
2.คณะกรรมการชมรมฯและอสม.ตำบลลางามีสมรรถนะในการเป็นผู้นำด้านสุขภาพ สามารถเป็นต้นแบบชุมชนด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุ สมผลและมีความปลอดภัยในชุมชน
3.ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุ สมผลและสามารถใช้ยาอย่างปลอดภัยในชุมชน
4.เครือข่ายและร้านค้าในชุมชนมีความรู้ในเรื่องยาสามัญและยาควบคุมพิเศษ ให้ความร่วมมือกับรพ.สต.ในการลดความเสี่ยงจากการใช้ยาพร่ำเพรื่อในชุมชน


>