กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางเขา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสิ่งแวดล้อมดี เริ่มต้นที่การจัดการขยะเปียกของครัวเรือน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางเขา

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.บางเขา

ตำบลบางเขา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

 

20.00

ในปัจจุบันปัญหาขยะ เป็นปัญหาสำคัญระดับประเทศ ซึ่งสาเหตุหนึ่งนั้นเกิดจากประชาชนไม่รู้จักวิธีการบริหารจัดการขยะและการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง โดยส่วนใหญ่จะทิ้งลงตามสถานที่สาธารณะ หรือทิ้งลง
ลำคลอง โดยนโยบายรัฐบาลปัจจุบัน ได้กำหนดให้การเร่งรัดแก้ไขปัญหาการจัดการขยะ เป็นวาระแห่งชาติที่ต้องได้รับการแก้ไขเป็นลำดับแรก โดยให้ดำเนินการตาม Road map การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อกำจัดมูลฝอยตกค้างสะสมในสถานที่กำจัดในพื้นที่วิกฤตสร้างรูปแบบการกำจัดขยะและของเสียอันตรายที่เหมาะสม วางระเบียบมาตรการ การบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย และสร้างวินัยของคนในชาติ ให้ขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ "ประเทศไทยไร้ขยะ" ตามแนวทาง"ประชารัฐ" โดยมุ่งเรื่องการคัดแยกขยะเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ทั้งการรีไซเคิล และการแปรรูปเป็นพลังงานภายใต้หลักการ ๓ ช : ใช้น้อยลง ใช้ซ้ำและนำกลับมาใช้ใหม่ (๓Rs : Reduce Reuse Recycle) ที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อสร้างความสมดุลและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน และยังเป็นการดำเนินการตามนโยบายสำคัญของกระทรวงมหาดไทยในการแก้ไขปัญหาขยะ ตามแผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน "จังหวัดสะอาด" ที่มีมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ.2560 ภายใต้กรอบการดำเนินงาน 3 ระยะ ได้แก่ ต้นทาง คือการลดปริมาณขยะ การส่งเสริมการคัดแยกขยะที่ต้นทาง กลางทาง คือ การจัดทำระบบเก็บขนอย่างมีประสิทธิภาพ และปลายทาง คือ ขยะมูลฝอยได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการและกำจัดให้หมดไปขยะเปียกลดโลกร้อนเป็นการจัดกาขยะที่นทาง ซึ่งกรลดปริมาณขยะเปียก หรือเศษอาหารที่น้ำหนักมากที่สุด จะช่วยลดปัญหากลิ่นน้ำเสียจากการเก็บขนขยะ ลดภาระงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการขยะ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากบ่อฝังกลบอีกทั้งขยะเปียกที่เปลี่ยนเป็นสารปรับปรุงดินสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในครัวเรือนได้ ปัญหาด้านขยะมูลฝอยเกิดขึ้นกับชุมชนทุกแห่ง ทั้งเมืองขนาดเล็กถึงเมืองใหญ่ในตัวจังหวัด อำเภอ ตำบล หรือแม้กระทั้งในชุมชน
ตำบลบางเขา เป็นอีกพื้นที่ที่ประสบกับปัญหาด้านการจัดการขยะมูลฝอย ซึ่งมีจำนวนขยะอินทรีย์เป็นจำนวนมากในพื้นที่ และเพื่อเป็นการสนองนโยบายและเป็นการแก้ไขปัญหาขยะ องค์การบริหารส่วนตำบล
บางเขา และแกนนำชุมชน ตำบลบางเขา อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี จึงจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือ ร่วมใจจากทุกภาคส่วน รวมทั้งประชาชนในพื้นที่ ซึ่งนับเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนชุมชนในการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อนเป็นการจัดการขยะที่ตันทาง ซึ่งการลดปริมาณขยะเปียกในพื้นที่ได้เป็นจำนวนมาก เพื่อนำเข้าสู่ขั้นตอนการจัดการขยะที่ถูกต้องต่อไป ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลบางเขา ได้เล็งเห็นความสำคัญจึงได้จัดทำโครงการจัดการขยะอินทรีย์เพื่อสุขภาพดีในตำบลบางเขา ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยเน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะเปียกครัวเรือนอย่างถูกต้อง โดยสามารถแก้ปัญหาได้ตั้งแต่ต้นทาง เป็นการลดปริมาณขยะเปียกในครัวเรือน และช่วยแก้ปัญหาด้านการสาธารณสุขและอนามัยสิ่งแวตล้อมให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของประชาชนตำบลบางเขา ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนให้ลดปริมาณขยะเปียก และนำมาคัดแยกเพื่อการจัดทำถังขยะเปียกครัวเรือน

 

20.00 80.00
2 เพื่อสร้างจิตสำนึกในการคัดแยกขยะ ลดปริมาณขยะและลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะ

 

80.00 0.00
3 เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชน ในการจัดทำถังขยะเปียกครัวเรือน

 

30.00 80.00
4 เพื่อลดแหล่งเพาะพันธ์ุเชื้อโรค และพาหะนำโรคต่างๆ

 

70.00 0.00
5 เพื่อดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อมให้มีความสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย

 

50.00 100.00
6 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

20.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลบางเขา 80

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 31/05/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะ และการจัดการขยะเปียกครัวเรือน โดยการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อนและการจัดทำน้ำหมักชีวภาพ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะ และการจัดการขยะเปียกครัวเรือน โดยการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อนและการจัดทำน้ำหมักชีวภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.2 x 2.9 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 696.-บาท 2.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 80 คน ๆละ 70 บาท เป็นเงิน 5,600.- บาท 3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 80 คน ๆละ 35 บาท (2 มื้อ) เป็นเงิน 5,600.- บาท
4.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600.- บาท 5.ค่าจัดซื้อถังขยะอินทรีย์แบบมีฝาปิด จำนวน 80 ใบ ๆละ 60 บาท เป็นเงิน 4,800.- บาท 6.ค่าจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์สาธิตการทำถังขยะเปียกลดโลกร้อนและการทำน้ำหมักชีวภาพ เป็นเงิน 500.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20796.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการสำรวจข้อมูลการจัดการขยะในครัวเรือน และรณรงค์ประชาสัมพันธ์ การคัดแยกขยะและการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อนในครัวเรือน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการสำรวจข้อมูลการจัดการขยะในครัวเรือน และรณรงค์ประชาสัมพันธ์ การคัดแยกขยะและการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อนในครัวเรือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าป้ายรณรงค์ (โฟมบอร์ด) ขนาด 40 x 50 ซม.จำนวน 4 ป้าย ๆละ 120 บาท เป็นเงิน 480.- บาท 2.ค่าตอบแทนในการสำรวจข้อมูลการจัดการขยะในครัวเรือน และรณรงค์ประชาสัมพันธ์การคัดแยกขยะ และการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน ในครัวเรือน จำนวน 7 หมู่บ้าน 1,406 ครัวเรือน เป็นเงิน 7,030.- บาท 3.ค่ากระเป๋าผ้า จำนวน 80 ใบ ๆละ 80 บาท เป็นเงิน 6,400.-บาท 4.ค่าสมุด จำนวน 80 เล่ม ๆละ 10 บาท เป็นเงิน 800.- บาท 5.ค่าปากกา จำนวน 80 แท่ง ๆละ 5 บาท เป็นเงิน 400.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15110.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,906.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.สามารถขับเคลื่อนโครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ครบทุกหลังคาเรือน
2.ประชาชนมีความรู้ในการจัดการขยะด้วยหลักการ 3Rs การจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน และสามารถนำไปปฏิบัติในครัวเรือนต่อไป
3.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและปลูกจิตสำนึกให้กับประชาชนในชุมชน ให้ตระหนักถึงปัญหาภาวะโลกร้อนอันเกิดจากการจัดการขยะที่ไม่เหมาะสม
4.อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีการดำเนินการจัดทำถังขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือนตนเองและแลกเปลี่ยนกับประชาชนในหมู่บ้านตำบลบางเขา
5.สร้างรูปแบบการจัดการขยะโดยประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการ
6.อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 1 คน สามารถขยายผลให้เพื่อนบ้าน หรือญาติพี่น้อง ในการทำถังขยะเปียกต่อ 1 ครัวเรือนได้


>