กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทะเลน้อย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการโรงเรียน ชุมชน ปลอดขยะ สิ่งแวดล้อมดีชีวีปลอดภัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทะเลน้อย

หน่วยงานอื่นๆที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน

โรงเรียนวัดประดู่หอม

ตำบลทะเลน้อย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรงเรียนวัดประดู่หอม(สุขประชาสรรค์) เป็นโรงเรียนขยายโอกาสที่จัดการศึกษาตั้งแต่ระดับปฐมวัยถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพัทลุง เขต 1 ตั้งอยู่หมู่ที่ 9 ตำบลทะเลน้อย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง เป็นโรงเรียนรางวัลพระราชทานระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนในโครงการคอนเน็กช์อีดี โรงเรียนต้นแบบศูนย์การเรียนรู้ผลิตภัณฑ์จากปลาดุกและกระจูด และโรงเรียนในโครงการต้นกล้าไร้ถัง ตามโครงการโรงเรียนลูกโลกสีเขียว บริษัทซีพีออลล์ จำกัด มหาชน มีแนวความคิดและจุดเน้นของโรงเรียนที่ต้องการปลูกจิตสำนักให้นักเรียน รู้จักใช้ ประหยัดและหวงแหน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีเอกลักษณ์ของโรงเรียน คือ โรงเรียน ชุมชน ปลอดขยะ สิ่งแวดล้อมดี ชีวีปลอดภัย จึงจัดทำโครงการ โรงเรียนชุมชนปลอดขยะสิ่งแวดล้อมดีชีวีปลอดภัย ด้วยกิจกรรม 7ส และน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ใน การดำเนินงานโรงเรียนปลอดขยะ และบูรณาการกับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน คือ ลูกเสือเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างจิตสำนึกในการจัดการขยะ ให้นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและคนในชุมชน รักและภาคภูมิใจในโรงเรียนและท้องถิ่นของตน โดยมีแนวทางในการดำเนินงานโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) ด้วยกิจกรรม 7ส สู่โรงเรียน ชุมชน ปลอดขยะ สิ่งแวดล้อมดี ชีวีปลอดภัย อย่างมีคุณภาพเป็นระบบอย่างยั่งยืน
จากการศึกษาสภาพปัญหาเรื่องขยะในโรงเรียนวัดประดู่หอม(สุขประชาสรรค์) และในชุมชนทะเลน้อย ขยะที่พบโดยทั่วไป ได้แก่ ใบไม้ เศษอาหาร กระดาษ ถุงพลาสติก ขวดน้ำพลาสติก กล่องนม ซึ่งมีจำนวนมาก หากไม่มีการจัดการอย่างเป็นระบบจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนและสิ่งแวดล้อม ซึ่งขยะดังกล่าวสามารถจัดการให้เกิดประโยชน์ได้เช่น ใบไม้ ทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ขวดน้ำพลาสติก กระดาษ สามารถคัดแยก และจำหน่ายให้เกิดรายได้แก่นักเรียนชุมชน กล่องนมและโรงเรียนได้จัดการรวบรวมส่งให้บริษัทซีพีออลล์ จำกัด มหาชน นำไปรีไซเคิลเป็นโต๊ะ เก้าอี้นักเรียน ดังนั้นโรงเรียน วัดประดู่หอม(สุขประชาสรรค์) ต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การจัดการขยะของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน และเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าว คือการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ สร้างความตระหนัก ปลูกฝัง สร้างจิตสำนึกให้นักเรียน ครู บุคลากรการศึกษาของโรงเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและคนในชุมชนเกี่ยวกับการจัดการขยะให้ถูกวิธีและยั่งยืน เพราะปัญหาเกี่ยวกับขยะส่งผลเสียต่อสุขภาพ โดยเฉพาะโรคระบาดต่างๆ เช่นโรคไข้เลือดออกและโรคทางเดินหายใจซึ่งเป็นผลมาจากการกำจัดขยะมูลฝอยไม่ถูกวิธี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.เพื่ออบรมให้ความรู้แก่นักเรียนในการจัดการขยะ การคัดแยกขยะและการดำเนินกิจการธนาคารขยะโรงเรียนได้อย่างมีคุณภาพ
2.เพื่อช่วยลดปริมาณขยะและเสริมสร้างความรู้ในเรื่องการคัดแยกขยะที่ถูกต้องเหมาะสม
3.เพื่อเป็นการสร้างรูปแบบการจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของนักเรียนและคนในชุมชนในการดำเนินงาน
4.เพื่อป้องกันการเกิดโรคระบาดจากขยะและสิ่งปฏิกูลที่โรงเรียน บ้านนักเรียนและในชุมชน
5.เพื่อให้นักเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนเป็นผู้ปกครองนักเรียนและคนในชุมชนมีจิตสำนึกในการลดปริมาณขยะในชีวิตประจำวันสามารถจัดการคัดแยกขยะได้ถูกวิธีอย่างยั่งยืน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 225
กลุ่มวัยทำงาน 775
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดทำโครงการอบรมเชิงปฎิบัติการให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะที่ถูกวิธีการดำเนินการกิจการธนาคารขยะโรงเรียนและการแปรรูปน้ำหมักชีวภาพ (นักเรียน ป.4-ม.3 จำนวน 129 คน)

ชื่อกิจกรรม
จัดทำโครงการอบรมเชิงปฎิบัติการให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะที่ถูกวิธีการดำเนินการกิจการธนาคารขยะโรงเรียนและการแปรรูปน้ำหมักชีวภาพ (นักเรียน ป.4-ม.3 จำนวน 129 คน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าวิทยากร จำนวน 2 คน ชั่วโมงละ 400 บาท/คน จำนวน 5 ชั่วโมง เป็นเงิน 4,000 บาท -ค่าอาหารกลางวันจำนวน 129 คน ราคามื้อละ 40บาท/คน เป็นเงิน 5,160 บาท -ค่าอาหารว่างจำนวน 2 มื้อ จำนวน 129 คน ราคามื้อละ 20 บาท/คน เป็นเงิน 5,160 บาท -ค่าจัดซื้อจัดหาสื่อใช้ประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เป็นเงิน 2,000 บาท -ค่าถังพลาสติกรุ่นถังหมักมีฝา ปิด-เปิด ขนาด 200 ลิตร จำนวน 4 ถัง ราคาถังละ 800 บาท เ็นเงิน 3,200 บาท -ค่าถังขยะมีฝาปิดอย่างดีบรรจุน้ำ 50-60 ลิตร จำนวน 3ถัง ราคาถังละ 200 บาท (ถังขยะเปียก) เป็นเงิน 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.โรงเรียนวัดประดู่หอม(สุขประชาสรรค์)มีระบบจัดการขยะในโรงเรียนได้อย่างมีคุณภาพเกิดประสิทธิผลแก่นักเรียน โรงเรียนและชุมชนมากที่สุด 2.โรงเรียน บ้าน วัดและที่สาธารณะในชุมชนมีปริมาณขยะลดลง 3.นักเรียน ครู บุคลากรของโรงเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการสร้างรูปแบบวิธีการจัดการขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยกิจกรรม 3 R และกิจกรรม 7ส 4.โรงเรียน บ้านนักเรียน วัดและที่สาธารณะประโยชน์ในชุมชนสะอาด ปลอดขยะปราศจากโรคระบาดจากขยะและสิ่งปฏิกูล 5.นักเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและคนในชุมชนมีจิตสำนึกในการลดปริมาณขยะในชีวิตประจำวันสามารถจัดการคัดแยกขยะได้ถูกวิธีอย่างยั่งยืนและมีรายได้เพิ่มจากการคัดแยกขยะ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20120.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมคัดแยกขยะ ตั้งจุดรวบรวมขยะหน้าอาคารเรียนแต่ละระดับชั้น

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมคัดแยกขยะ ตั้งจุดรวบรวมขยะหน้าอาคารเรียนแต่ละระดับชั้น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ถังขยะมีฝาปิดสีแดง สีเขียวและสีน้ำเงินมีล้อเกรด A สำหรับวางหน้าอาคารเรียนอนุบาล ขนาด 240 L(8kg) จำนวน 3 ใบ ใบละ 800 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท -ถังขยะมีฝาปิดสีแดง สีเขียวและสีน้ำเงินมีล้อเกรด A สำหรับวางหน้าอาคารเรียน ป.1-ป.6ขนาด 240 L(8kg) จำนวน 3 ใบ ใบละ 800 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท -ถังขยะมีฝาปิดสีแดง สีเขียวและสีน้ำเงินมีล้อเกรด A สำหรับวางหน้าอาคารเรียนมัธยม ขนาด 240 L(8kg) จำนวน 3 ใบ ใบละ 800 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.โรงเรียนวัดประดู่หอม(สุขประชาสรรค์)มีระบบจัดการขยะในโรงเรียนได้อย่างมีคุณภาพเกิดประสิทธิผลแก่นักเรียน โรงเรียนและชุมชนมากที่สุด 2.โรงเรียน บ้าน วัดและที่สาธารณะในชุมชนมีปริมาณขยะลดลง 3.นักเรียน ครู บุคลากรของโรงเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการสร้างรูปแบบวิธีการจัดการขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยกิจกรรม 3 R และกิจกรรม 7ส 4.โรงเรียน บ้านนักเรียน วัดและที่สาธารณะประโยชน์ในชุมชนสะอาด ปลอดขยะปราศจากโรคระบาดจากขยะและสิ่งปฏิกูล 5.นักเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและคนในชุมชนมีจิตสำนึกในการลดปริมาณขยะในชีวิตประจำวันสามารถจัดการคัดแยกขยะได้ถูกวิธีอย่างยั่งยืนและมีรายได้เพิ่มจากการคัดแยกขยะ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7200.00

กิจกรรมที่ 3 ธนาคารขยะโรงเรียนวัดประดู่หอม(สุขประชาสรรค์)

ชื่อกิจกรรม
ธนาคารขยะโรงเรียนวัดประดู่หอม(สุขประชาสรรค์)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-เครื่องชั่งสปริงอย่างดี ขนาด 60 กิโลกรัม จำนวน 1 เครื่อง ราคา 2,000 บาท -ตะแกรงเหล็กล้อเลื่อนอย่างดีสำหรับคัดแยกขยะรีไซเคิล โลหะ เหล็ก กระดาษและแก้ว ขนาดกว้าง 120 cm ยาว 100 cm สูง 100 cm จำนวน 3 อัน ราคาอันละ 2,500 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท -เอกสารเกี่ยวกับกำดำเนินกิจการธนาคารขยะ เป็นเงิน 680 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.โรงเรียนวัดประดู่หอม(สุขประชาสรรค์)มีระบบจัดการขยะในโรงเรียนได้อย่างมีคุณภาพเกิดประสิทธิผลแก่นักเรียน โรงเรียนและชุมชนมากที่สุด 2.โรงเรียน บ้าน วัดและที่สาธารณะในชุมชนมีปริมาณขยะลดลง 3.นักเรียน ครู บุคลากรของโรงเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการสร้างรูปแบบวิธีการจัดการขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยกิจกรรม 3 R และกิจกรรม 7ส 4.โรงเรียน บ้านนักเรียน วัดและที่สาธารณะประโยชน์ในชุมชนสะอาด ปลอดขยะปราศจากโรคระบาดจากขยะและสิ่งปฏิกูล 5.นักเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและคนในชุมชนมีจิตสำนึกในการลดปริมาณขยะในชีวิตประจำวันสามารถจัดการคัดแยกขยะได้ถูกวิธีอย่างยั่งยืนและมีรายได้เพิ่มจากการคัดแยกขยะ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10180.00

กิจกรรมที่ 4 เผยแพร่ประาชาสัมพันธ์เดินรณรงค์แจกเอกสารแผ่นพับ จัดป้ายนิเทศให้ความรู้แก่นักเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษาและคนในชุมชนทะเลน้อยเกี่ยวกับการจัดการขยะด้วยหลัก 3 R และกิจกรรม 7ส

ชื่อกิจกรรม
เผยแพร่ประาชาสัมพันธ์เดินรณรงค์แจกเอกสารแผ่นพับ จัดป้ายนิเทศให้ความรู้แก่นักเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษาและคนในชุมชนทะเลน้อยเกี่ยวกับการจัดการขยะด้วยหลัก 3 R และกิจกรรม 7ส
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ป้ายไวนิล ถือเดินรณรงค์ขนาด 120x240 cm ราคาแผ่นละ 600 บาท จำนวน 10 แผ่น เป็นเงิน 6,000 บาท -ป้ายไวนิล ถือเดินรณรงค์ขนาด 500x100 cm จำนวน 4 แผ่น ราคาแผ่นละ 1,000 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท -กระดาษถ่ายเอกสารสำหรับถ่ายสำเนาและพิมพ์เอกสารแผ่นพับให้ความรู้จำนวน 5 รีม ราคารีมละ 100 บาท -สีน้ำอะครีลิคและอุปกรณ์ตกแต่งระบายสีจำนวน 10 ชุด ราคาชุดละ 200 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.โรงเรียนวัดประดู่หอม(สุขประชาสรรค์)มีระบบจัดการขยะในโรงเรียนได้อย่างมีคุณภาพเกิดประสิทธิผลแก่นักเรียน โรงเรียนและชุมชนมากที่สุด 2.โรงเรียน บ้าน วัดและที่สาธารณะในชุมชนมีปริมาณขยะลดลง 3.นักเรียน ครู บุคลากรของโรงเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการสร้างรูปแบบวิธีการจัดการขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยกิจกรรม 3 R และกิจกรรม 7ส 4.โรงเรียน บ้านนักเรียน วัดและที่สาธารณะประโยชน์ในชุมชนสะอาด ปลอดขยะปราศจากโรคระบาดจากขยะและสิ่งปฏิกูล 5.นักเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและคนในชุมชนมีจิตสำนึกในการลดปริมาณขยะในชีวิตประจำวันสามารถจัดการคัดแยกขยะได้ถูกวิธีอย่างยั่งยืนและมีรายได้เพิ่มจากการคัดแยกขยะ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 50,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นักเรียน ครู บุคลากรการศึกษา ผู้ปกครองนักเรียนและคนในชุมชนทะเลน้อยมีความรู้วิธีการคัดแยกขยะ และจัดการขยะอย่างถูกวิธี
2.นักเรียน ครู บุคลากรการศึกษา ผู้ปกครองนักเรียนและคนในชุมชนทะเลน้อยมีจิตสำนึกรับผิดชอบสังคม ในด้านการจัดการขยะที่โรงเรียน ที่บ้านและในชุมชนทะเลน้อยมีจิตสำนึกรับผิดชอบสังคม ในด้านการจัดการขยะที่โรงเรียน ที่บ้านและในชุมชน
3.โรงเรียน บ้าน วัดและชุมชนสะอาดปราศจากขยะปลอดโรคปลอดภัยเอื้อต่อการเรียนรู น่าอยู่อาศัยและเอื้อแก่การปฏิบัติธรรม


>