กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปิตูมุดี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการฝากครรภ์คุณภาพทารกเกิดรอดแม่ปลอดภัย ตำบลปิตูมุดี ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปิตูมุดี

PCU รพ.ยะรัง

ตำบลปิตูมุดี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การฝากครรภ์เป็นหนึ่งในบริการอนามัยแม่และเด็กเพื่อเป็นการส่งเสริมและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จนกระทั่งคลอดกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลฝากครรภ์คุณภาพจากบุคลากรทางการแพทย์อย่างน้อย 8 ครั้งและเน้นย้ำการมาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์เพื่อให้สามารถประเมินความเสี่ยงในไตรมาสแรกและแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์ที่อาจส่งผลเสียต่อมารดาและทารก ลดอัตราตายของมารดาทารกได้การฝากครรภ์ช้าจะส่งผลให้เกิดความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่นภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ภาวะคลอดก่อนกำหนดทารกน้ำหนักตัวน้อยและโรคที่เป็นความเสี่ยงที่ต้องอยู่ในความดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์นอกจากนี้ในภาวะตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์จะเปลี่ยนแปลงอย่างมากทั้งด้านร่างกายและจิตใจ อารมณ์ และสังคมทำให้หญิงตั้งครรภ์มีความไม่สุขสบายและมีความวิตกกังวลได้จากผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2565พบว่าหญิงตั้งครรภ์ตำบลปิตูมุดี มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์
ร้อยละ 78.26 ( 18 ราย ) หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ 5 ครั้ง ตามเกณฑ์ร้อยละ 75 ( 20 ราย ) ทารกน้ำหนักน้อยร้อยละ 3.23และหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางร้อยละ 12.1 อีกทั้งหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงหลายด้าน เพราะมารดาตั้งครรภ์ในช่วงวัยรุ่นยังขาดประสบการณ์และความรู้ในการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตพัฒนาการทางสมอง และระบบประสาทของเด็ก ส่งผลให้เด็กมีปัญหาด้านพัฒนาการ สติปัญญา พฤติกรรมและอารมณ์ตามมารวมถึงกระทบต่อปัญหาสุขภาพจิตและสังคมของหญิงตั้งครรภ์เองอีกด้วยจากการวิเคราะห์สาเหตุการมาฝากครรภ์ล่าช้าส่งผลให้ไม่ได้รับการดูแลตามมาตรฐาน พบว่าหญิงตั้งครรภ์ไม่ทราบถึงความสำคัญหรือประโยชน์ของการมาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ และการประชาสัมพันธ์การมาฝากครรภ์ในชุมชนยังไม่ทั่วถึง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และเครือข่าย อสม. สมาชิกชมรมนมแม่อาสา
ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์และสามารถประชาสัมพันธ์ในชุมชนได้
2.เพื่อเพิ่มอัตราการฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ให้ได้ตามเกณฑ์
3.เพื่อเพิ่มอัตราการฝากครรภ์ให้ครบ 8 ครั้งตามเกณฑ์
4.เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์1

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
1.หญิงตั้งครรถ์ในเขตตำบลปิตูมุดี 50
2.แกนนำ อสม. และสมาิกชมรมแม่อาสา 50

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องการฝากครรภ์คุณภาพทารกเกิดรอดแม่ปลอดภัย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องการฝากครรภ์คุณภาพทารกเกิดรอดแม่ปลอดภัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ
  2. ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินงานและมอบหมายงาน
  3. ประสานความร่วมมือและชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการแก่ผู้เกี่ยวข้อง
  4. จัดอบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์และเครือข่าย อสม. สมาชิกชมรมนมแม่อาสา 5.กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหญิงตั้งครรภ์และแกนนำภาคีเครือข่าย
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15300.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ประชาสัมพันธ์การมาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ในชุมชน ตำบล ปิตูมุดี

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ประชาสัมพันธ์การมาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ในชุมชน ตำบล ปิตูมุดี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้านร่วมกับสมาชิกชมรมนมแม่อาสารณรงค์ประชาสัมพันธ์โดยการให้ความรู้และแจกแผ่นพับเรื่องการฝากครรภ์คุณภาพในชุมชนเขตตำบล ปิตูมุดี 2.ติดตามหญิงหญิงตั้งครรภ์รายใหม่และหญิงตั้งครรภ์ที่ขาดนัดเพื่อมารับบริการฝากครรภ์ตามเกณฑ์ 3.สรุปและติดตามผลการดาเนินงานทุกไตรมาสและสรุปผลเมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6700.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 ติดตามหญิงหญิงตั้งครรภ์รายใหม่และหญิงตั้งครรภ์ที่ขาดนัดเพื่อมารับบริก ารฝากครรภ์ตามเกณฑ์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 ติดตามหญิงหญิงตั้งครรภ์รายใหม่และหญิงตั้งครรภ์ที่ขาดนัดเพื่อมารับบริก ารฝากครรภ์ตามเกณฑ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เครือข่าย อสม. สมาชิกชมรมนมแม่อาสามีศักยภาพและมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการฝากครรภ์และสามารถประชาสัมพันธ์ในชุมชนได้
2.อัตราการฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ตัวชี้วัด
3.อัตราการมาฝากครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์ครบ 8 ครั้งตามเกณฑ์
4.ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์


>