กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะแพน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยน ลดเสี่ยง ลดโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง บ้านท่าข้าม ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะแพน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าข้าม

ประชากรกลุ่มเป้าหมาย ในพื้นที่ หมู่ 3 และ หมู่ 8ตำบลตะแพน อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

จากผลการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าข้ามประจำปี 2566 ประชากรประชากรกลุ่มเป้าหมาย 439 คน ประชากรมีภาวะเสี่ยงโรคเบาหวานจำนวน 156 คน ประชากรสงสัยป่วยจำนวน 8 คน

37.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

จากผลการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าข้ามประจำปี 2566 พบประชากรกลุ่มเป้าหมาย 381 คน มีภาวะเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 76 คน ประชากรสงสัยป่วยจำนวน 67 คน

37.00

สภาพปัจจุบันปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาสาธารณสุขส่วนใหญ่มีสาเหตุจากประชาชน มีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชนซึ่งได้จากสถานการณ์ของปัญหาสาธารณสุขที่เป็นอยู่ในปัจจุบันที่พบว่ากลุ่มโรค Metabolic โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน อ้วนลงพุง โรคหัวใจและหลอดเลือด กำลังเป็นปัญหาสำคัญในทุกพื้นที่ อีกทั้งยังมีแนวโน้มเป็นปัญหาต่อเนื่องในอนาคต ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหากลุ่มโรค Metabolic ได้แก่ การรับประทานอาหารที่มีน้ำตาล ไขมันสูง การรับประทานผักและผลไม้ไม่เพียงพอการสูบบุหรี่ การดื่มที่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การขาดการออกกำลังกายตลอดจนสภาพปัญหาทางจิตใจ อารมณ์ และความเครียดทั้งในครอบครัว และชุมชน
จากผลการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าข้ามประจำปี 2566 พบประชากรกลุ่มมีความดันโลหิตปกติจำนวน 238คนประชากรที่มีภาวะเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 76 คน ประชากรสงสัยป่วยจำนวน 67 คน ประชากรโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 119 คน ประชากรมีค่าน้ำตาลในเลือดปกติ จำนวน 275 คนประชากรมีภาวะเสี่ยงโรคเบาหวานจำนวน 156 คน ประชากรสงสัยป่วยจำนวน 8 คน และประชากรโรคเบาหวานจำนวน 54 คน ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มประชากรที่มีสุขภาพปกติ ประชากรกลุ่มเสี่ยง ประชากรกลุ่มสงสัยป่วย ประชากรกลุ่มป่วย เป็นเรื่องที่มีความสำคัญเพื่อส่งเสริมให้ประชากรที่มีสุขภาพปกติมีสุขภาพที่ดีต่อเนื่อง ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม ประชากรกลุ่มสงสัยป่วยได้รับการตรวจคัดกรองเพิ่มเติมเพื่อช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยได้ถูกต้องเหมาะสม ประชากรกลุ่มป่วยได้รับการดูแลควบคุมโรคและป้องกันภาวะแทรกซ้อน ลดการเกิดภาวะทุพลภาพจากภาวะแทรกซ้อนของโรค ลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ และเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าข้าม ได้ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในชุมชนดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยน ลดเสี่ยง ลดโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง บ้านท่าข้าม ปีงบประมาณ 2566

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

37.00 20.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

37.00 20.00
3 ประชาชนกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน เข้าสู่กระบวนการดูแลและวินิจฉัยโรคตาม(CPG)

ร้อยละผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลง

37.53 30.00
4 ประชาชนกลุ่มเสี่ยงเบาหวานได้รับการติดตามเจาะเลือดซ้ำ

ร้อยละผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ลดลง

37.35 30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 175
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 307
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่เจ้าเจ้าหน้าที่ อสม. และแกนนำในการติดตามประชากรกลุ่มเป้าหมายกลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วย และกลุ่มป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่เจ้าเจ้าหน้าที่ อสม. และแกนนำในการติดตามประชากรกลุ่มเป้าหมายกลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วย และกลุ่มป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่เจ้าเจ้าหน้าที่ อสม. และแกนนำในการติดตามประชากรกลุ่มเป้าหมายกลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วย และกลุ่มป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงจำนวน 29 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 กรกฎาคม 2566 ถึง 3 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เจ้าเจ้าหน้าที่ อสม. และแกนนำได้รับการอบรม 50คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมติดตามกลุ่มสงสัยความดันโลหิตสูงและกลุ่มป่วยควบคุมโรคไม่ได้ติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามกลุ่มสงสัยความดันโลหิตสูงและกลุ่มป่วยควบคุมโรคไม่ได้ติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามกลุ่มสงสัยความดันโลหิตสูงและกลุ่มป่วยควบคุมโรคไม่ได้ติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน ( HMBP) จำนวน107คน ซื้อเครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องละ 3,500บาท จำนวน 3เครื่อง เป็นเงิน 10,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มสงสัยความดันโลหิตสูงและกลุ่มป่วยควบคุมโรคไม่ได้ติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน ( HMBP)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10500.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามกลุ่มเสี่ยงเบาหวานได้รับการติดตามเจาะเลือดซ้ำ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามกลุ่มเสี่ยงเบาหวานได้รับการติดตามเจาะเลือดซ้ำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามกลุ่มเสี่ยงเบาหวานได้รับการติดตามเจาะเลือดซ้ำ จำนวน 164 คน ซื้อแถบตรวจเบาหวาน  200 แถบ กล่องละ 50 แถบ จำนวน 4 กล่องๆละ 475 บาท เป็นเงิน 1,900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ติดตามกลุ่มเสี่ยงเบาหวานได้รับการติดตามเจาะเลือดซ้ำ จำนวน 164 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1900.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมตรวจประเมินสุขภาพเท้าผู้ป่วยเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจประเมินสุขภาพเท้าผู้ป่วยเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมตรวจประเมินสุขภาพเท้าผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 50คน ซื้ออุปกรณ์ตรวจเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน ปากกา Monofilament 1 ด้าม ราคาด้ามละ 2,850 บาทเป็นเงิน 2,850 บาท-ค่าชุดสมุนไพรแช่เท้า ชุดละ 50บาท จำนวน 50 ชุด เป็นเงิน 2,500บาท (ชุดสมุนไพรแช่เท้าประกอบด้วย ใบมะขามผิวมะกรูดขมิ้นชันไพล
ตะไคร้เกลือ การบูร) รวมเป็นเงิน 5,350 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจสุขภาพเท้า จำนวน 50 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5350.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,750.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนมีความรู้และมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง
2.กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยเบาหวานได้รับการเจาะเลือดซ้ำตามแนวทางปฏิบัติการดูแลประชากรกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน(CPG)
3.กลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงและกลุ่มป่วยความดันโลหิตสูงควบคุมโรคไม่ได้ ได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน (HMBP) และปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติการดูแลประชากรกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง (CPG)
4.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงได้รับการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด
5.ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจเท้าตามเกณฑ์มาตรฐานได้รับการส่งต่อในรายที่พบความผิดปกติ


>