กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยน ลดเสี่ยง ลดโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง บ้านท่าข้าม ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าข้าม
วันที่อนุมัติ 7 มิถุนายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 17,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางหทัยทิพย์ ณ พัทลุง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะแพน อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 175 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 307 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

จากผลการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าข้ามประจำปี 2566 ประชากรประชากรกลุ่มเป้าหมาย 439 คน ประชากรมีภาวะเสี่ยงโรคเบาหวานจำนวน 156 คน ประชากรสงสัยป่วยจำนวน 8 คน

37.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

จากผลการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าข้ามประจำปี 2566 พบประชากรกลุ่มเป้าหมาย 381 คน มีภาวะเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 76 คน ประชากรสงสัยป่วยจำนวน 67 คน

37.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สภาพปัจจุบันปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาสาธารณสุขส่วนใหญ่มีสาเหตุจากประชาชน มีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชนซึ่งได้จากสถานการณ์ของปัญหาสาธารณสุขที่เป็นอยู่ในปัจจุบันที่พบว่ากลุ่มโรค Metabolic โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน อ้วนลงพุง โรคหัวใจและหลอดเลือด กำลังเป็นปัญหาสำคัญในทุกพื้นที่ อีกทั้งยังมีแนวโน้มเป็นปัญหาต่อเนื่องในอนาคต ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหากลุ่มโรค Metabolic ได้แก่ การรับประทานอาหารที่มีน้ำตาล ไขมันสูง การรับประทานผักและผลไม้ไม่เพียงพอการสูบบุหรี่ การดื่มที่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การขาดการออกกำลังกายตลอดจนสภาพปัญหาทางจิตใจ อารมณ์ และความเครียดทั้งในครอบครัว และชุมชน
จากผลการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าข้ามประจำปี 2566 พบประชากรกลุ่มมีความดันโลหิตปกติจำนวน 238คนประชากรที่มีภาวะเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 76 คน ประชากรสงสัยป่วยจำนวน 67 คน ประชากรโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 119 คน ประชากรมีค่าน้ำตาลในเลือดปกติ จำนวน 275 คนประชากรมีภาวะเสี่ยงโรคเบาหวานจำนวน 156 คน ประชากรสงสัยป่วยจำนวน 8 คน และประชากรโรคเบาหวานจำนวน 54 คน ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มประชากรที่มีสุขภาพปกติ ประชากรกลุ่มเสี่ยง ประชากรกลุ่มสงสัยป่วย ประชากรกลุ่มป่วย เป็นเรื่องที่มีความสำคัญเพื่อส่งเสริมให้ประชากรที่มีสุขภาพปกติมีสุขภาพที่ดีต่อเนื่อง ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม ประชากรกลุ่มสงสัยป่วยได้รับการตรวจคัดกรองเพิ่มเติมเพื่อช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยได้ถูกต้องเหมาะสม ประชากรกลุ่มป่วยได้รับการดูแลควบคุมโรคและป้องกันภาวะแทรกซ้อน ลดการเกิดภาวะทุพลภาพจากภาวะแทรกซ้อนของโรค ลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ และเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าข้าม ได้ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในชุมชนดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยน ลดเสี่ยง ลดโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง บ้านท่าข้าม ปีงบประมาณ 2566

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

37.00 20.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

37.00 20.00
3 ประชาชนกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน เข้าสู่กระบวนการดูแลและวินิจฉัยโรคตาม(CPG)

ร้อยละผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลง

37.53 30.00
4 ประชาชนกลุ่มเสี่ยงเบาหวานได้รับการติดตามเจาะเลือดซ้ำ

ร้อยละผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ลดลง

37.35 30.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 17,750.00 0 0.00
1 มิ.ย. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมติดตามกลุ่มสงสัยความดันโลหิตสูงและกลุ่มป่วยควบคุมโรคไม่ได้ติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน 0 10,500.00 -
1 มิ.ย. 66 - 30 ก.ย. 66 ติดตามกลุ่มเสี่ยงเบาหวานได้รับการติดตามเจาะเลือดซ้ำ 0 1,900.00 -
1 มิ.ย. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมตรวจประเมินสุขภาพเท้าผู้ป่วยเบาหวาน 0 5,350.00 -
3 ก.ค. 66 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่เจ้าเจ้าหน้าที่ อสม. และแกนนำในการติดตามประชากรกลุ่มเป้าหมายกลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วย และกลุ่มป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนมีความรู้และมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง
2.กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยเบาหวานได้รับการเจาะเลือดซ้ำตามแนวทางปฏิบัติการดูแลประชากรกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน(CPG) 3.กลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงและกลุ่มป่วยความดันโลหิตสูงควบคุมโรคไม่ได้ ได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน (HMBP) และปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติการดูแลประชากรกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง (CPG) 4.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงได้รับการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด 5.ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจเท้าตามเกณฑ์มาตรฐานได้รับการส่งต่อในรายที่พบความผิดปกติ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 มิ.ย. 2566 00:00 น.