กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วังมะปราง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด TO BE NUMBER ONE แกนนำเยาวชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วังมะปราง

รพ.สต.บ้านทุ่งหลวง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหายาเสพติดที่มีการระบาดในทุกพื้นที่ของประเทศไทยได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกขณะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศทั้งทางด้านเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมรวมทั้งด้านการเมืองและความมั่นคงของประเทศตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมาสภาพปัญหายาเสพติดเปลี่ยนแปลงไปจากที่เป็นอยู่ในอดีตอย่างสิ้นเชิงจากเดิมที่ "เฮโรฮีน" เป็นปัญหาสำคัญกลาย "ยาบ้า หรือสารเมทแอม-เฟตามีนที่กำลังระบาดตั้งแต่ระดับครอบครัวโรงเรียนชุมชนสังคมและประเทศ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดีทรงมีความห่วงใยต่อประชาชนชาวไทยเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะกลุ่มเด็ก และเยาวชนที่เป็นกลุ่มขนาดใหญ่เพราะมีจำนวนถึง 21 ล้านคน และเป็นกลุ่มที่มีคุณค่าอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศนอกจากนี้ยังถือเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการติดยาเสพติดสูงเนื่องจากเป็นวัยที่ต้องการเรียนรู้ในสิ่งต่าง ๆ แต่ยังขาดวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่ดีพอรวมทั้งต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกายและจิตใจจึงทรงพระกรุณาธิคุณรับเป็นองค์ประธานโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดซึ่งปัจจุบันได้ใช้ชื่อเพื่อให้ง่ายต่อการรณรงค์ว่าโครงการ TO BE NUMBER ONE เพื่อรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดภายในประเทศให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย และมีประสิทธิภาพโดยความร่วมมือและรวมพลังจากภาครัฐและเอกชนกระตุ้น และปลุกจิตสำนึกของปวงชนในชาติให้มีความรู้ความเข้าใจและความตระหนักว่าการที่จะเอาชนะปัญหายาเสพติดมีใช่หน้าที่ของบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งแต่ทุกคนในชาติจะต้องเข้าร่วมแรงร่วมใจกันเป็นพลังของแผนดินที่จะต่อสู้และเอาชนะปัญหายาเสพติดให้ได้โดยเร็ว โดยทรงมีพระประสงค์มุ่งเน้นการรณรงค์ในกลุ่มเป้าหมายยาเสพติดหลักคือวัยรุ่น และเยาวชนโดยกลวิธีโดยกลวิธีสร้างกระแสการแสดงพลังอย่างถูกต้องโดยไม่ข้องแวะกับยาเสพติดการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตให้แก่เยาวชนในชุมชนจัดระบบการบำบัดรักษารองรับภายใต้โครงการ "ใครติดยายกมือขึ้น" ทั้งนี้เพื่อคืนคนดีสู่สังคมและป้องกันการกลับมาเสพซ้ำตลอดจนการสร้างเครือขายสมาชิกและชม TO BE NUMBER ONE เพื่อร่วมกันรณรงค์และจัดกิจกรรมป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นเสมือนการเติมสิ่งที่ดีให้กับชีวิตเพื่อให้เกิดค่านิยมของการเป็นหนึ่งโดยไม่ต้องพึ่งยาเสพติด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งหลวง ได้เล็งเห็นความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพทีดีให้แก่เด็ก รวมไปถึงสามารถเป็นตัวอย่างสมาชิกในชุมชนดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งหลวง จึงเป็นจุดเริ่มต้นของความเป็นอยู่อย่างมีสุขภาพดี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสร้างทัศนคติและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจให้กับเยาวชนไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด

ร้อยละ 80 ของแกนนำเยาวชนไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด

0.00
2 3. เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้เยาวชน และประชาชนทั่วไป

ร้อยละ 80 ของแกนนำเยาวชนไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 6. 1. กิจกรรมอบรมแกนนำเยาวชน ช่วงอายุ 10 -24 ปี จำนวน 60 คน มีกิจกรรมดังนี้ อบรมให้ความรู้เรื่อง โทษของยาเสพติด ( 2 วัน )

ชื่อกิจกรรม
6. 1. กิจกรรมอบรมแกนนำเยาวชน ช่วงอายุ 10 -24 ปี จำนวน 60 คน มีกิจกรรมดังนี้ อบรมให้ความรู้เรื่อง โทษของยาเสพติด ( 2 วัน )
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 60 คน ๆละ
   4 มื้อๆละ 25 บาท  เป็นเงิน 6,000  บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 60 คนๆละ 2 มื้อๆละ  60 บาท  เป็นเงิน 7,200 บาท 3. ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการขนาด 1 x 3 ม.แผ่นละ 450 บาท     จำนวน 1 แผ่น เป็นเงิน 450 บาท 4. ค่าตอบแทนวิทยากรชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 2  คนๆละ 4 ชม.     เป็นเงิน  4,800 บาท
5 วัสดุอุปกรณ์จำนวน 2,650 บาท ดังรายละเอียดค่าใช้จ่าย   - ปากกาลูกลื่นอย่างดีจำนวน 60 ด้ามๆละ 10 บาท เป็นเงิน 600 บาท   - สมุดปกอ่อน จำนวน 60 เล่มๆละ 10 บาท  เป็นเงิน  600 บาท
  - กระดาษขาว-เทา จำนวน 11 แผ่นๆละ 10 บาทเป็นเงิน 110 บาท   - ปากกาเคมี (ชุด12ด้าม) ราคาชุดละ 130 บาท จำนวน 5 ชุด เป็นเงิน     650  บาท   - กระดาษโพส-อิท จำนวน 5 ชุดๆละ 30 บาท เป็นเงิน 150 บาท   - ค่ากระดาษฟลิปชาร์ท ขนาด 90*70 ซม. เล่มๆละ 180 บาท  จำนวน
    3 เล่ม  เป็นเงิน  540 บาท
                                                 รวมเป็นเงิน 21,100 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 สิงหาคม 2566 ถึง 25 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. 1. เยาวชนมีภูมิคุ้มกันทางจิตใจไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด
2. 2. เยาวชนได้พัฒนาศักยภาพและคุณภาพให้เป็นคนรุ่นใหม่ที่เชื่อมั่นและภาคภูมิใจในตนเอง
3. 3. เยาวชนได้ร่วมกิจกรรมสร้างสรรค์โดยการสนับสนุนของสังคม
4. 4. เยาวชนเข้าใจและยอมรับผู้มีปัญหายาเสพติดโดยให้โอกาสกลับมาเป็นคนดีของสังคม
5. 5. เยาวชนและชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด


>