กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโรง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชาวปุโรงร่วมใจ ป้องกันภัยไข้เลือดออก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโรง

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลปุโรง

นายเจ๊ะอูมา ดือราแม
นางสาวอานีร่า ปุโรง
นางคอรีเยาะ ยารุ
นางสาวยูวารีเยาะ สาและ
นายสายดีนา เจ๊ะเยาะเจ๊ะเต

ตำบลปุโรง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อซึ่งมียุงลายบ้านและยุงลายสวนเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ การระบาดของโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะพบผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก เนื่องจากฝนที่ตกลงมาทำให้เกิดน้ำขังในภาชนะต่าง ๆ จึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เพิ่มจำนวนประชากรของยุงลายพาหะนำโรคได้เป็นอย่างดีปัจจุบันไข้เลือดออกยังเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญมีสถิติจำนวนผู้ป่วยจากโรคไข้เลือดออกมีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งในบางรายอาจมีอาการไข้เล็กน้อยถึงปานกลาง แต่อาการที่ร้ายแรงก็สามารถทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้มีการระบาดและขยายพื้นที่การระบาดออกไปอย่างกว้างขวาง ได้แก่ การเพิ่มจำนวนของประชากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีชุมชนเมืองเพิ่มขึ้น มีการเคลื่อนย้ายของประชากรและมียุงลายมากขึ้นตามการเพิ่มของภาชนะน้ำขัง การคมนาคมที่สะดวกปัจจัยเหล่านี้ทำให้การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสเดงกีเป็นไปอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกอีกประการหนึ่ง ได้แก่ การที่พื้นที่มีเชื้อไวรัสเดงกีชุกชุม และมีมากกว่าหนึ่งชนิดในเวลาเดียวกัน ซึ่งมีผลต่อการระบาดของโรคไข้เลือดออกด้วย

จากสถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออกประจำปี 2566 พบว่าจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งในระดับประเทศ ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับตำบลโดยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 22 มิถุนายน 2566 พบผู้ป่วยไข้เลือดออกตำบลปุโรง จำนวน 10 ราย พบจำนวนผู้ป่วยมากที่สุดในหมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 3 จำนวนหมู่ละ 5 รายในเดือนมิถุนายน (ตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 22 มิถุนายน 2566) พบผู้ป่วยจำนวน 3 ราย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก (ที่มา กลุ่มงานระบาด สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ บ้านโฉลง ข้อมูล ณ วันที่ 23 มิถุนาย 2566) ดังนั้นเพื่อเป็นการควบคุม ป้องกันและระงับการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลปุโรง จึงได้จัดทำโครงการชาวปุโรงร่วมใจ ป้องกันภัยไข้เลือดออก เพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้เลือดออกและให้มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ ตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในชุมชน โรงเรียน ตลอดจนทุกภาคส่วน ร่วมมือผนึกพลังความคิดความร่วมมือแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกร่วมกัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อกำจัดยุงลายพาหะของโรคและป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออก

สามารถกำจัดยุงลายพาหะของโรคและป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออก

0.00
2 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ

เกิดการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ

0.00
3 ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ครัวเรือนในหมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 3 (หลัง) 701

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 26/06/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รณรงค์แจกทรายอะเบทพร้อมแผ่นพับประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับประชาชนทั้งตำบล

  • ค่าทรายอะเบทกำจัดลูกน้ำยุงลาย 50 กรัม (บรรจุ 500 ซอง/ถัง)  จำนวน 1 ถังๆ ละ 3,000 บาท  เป็นเงิน 3,000 บาท

  • ค่าอาหารกลางวัน  จำนวน 50 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 70 บาท  เป็นเงิน 3,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 มิถุนายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6500.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมพ่นหมอกควันปูพรมในหมู่บ้านที่เกิดการระบาด

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมพ่นหมอกควันปูพรมในหมู่บ้านที่เกิดการระบาด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

พ่นหมอกควันปูพรมในหมู่บ้านที่เกิดการระบาด คือ หมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 3 จำนวน 701 ครัวเรือน

  • ค่าน้ำมันดีเซลจำนวน 56 ลิตรๆ ละ 32.44 บาทเป็นเงิน 1,816.64 บาท

  • ค่าน้ำมันแก็สโซฮอล 95จำนวน 23 ลิตรๆ ละ 35.95 บาทเป็นเงิน 826.85 บาท

  • ค่าน้ำมัน 2T ขวดล 1 ลิตร จำนวน 1 ขวดๆ ละ 130.00 บาท เป็นเงิน 130.00 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 มิถุนายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2773.49

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรม Big Cleaning Day ในสถานที่สาธารณะ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม Big Cleaning Day ในสถานที่สาธารณะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การกำจัดลูกน้ำยุงลายในที่สาธารณะ ด้วยหลัก 3 เก็บ และ หลัก 5 ป.

  • ค่าถุงมือยาง จำนวน 2 กล่องๆ ละ 250 บาท เป็นเงิน 500 บาท

  • ค่าถุงดำ จำนวน 2 แพ็คๆ ละ 75 บาท เป็นเงิน 150 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 มิถุนายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
650.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมกำจัดลูกน้ำยุงลายทุกสัปดาห์ในหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมกำจัดลูกน้ำยุงลายทุกสัปดาห์ในหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 มิถุนายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,923.49 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ควบคุมและกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุง ลดอัตราการป่วยของโรคไข้เลือดออก
2. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
3. ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ


>