กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชาวปุโรงร่วมใจ ป้องกันภัยไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 66-L4113-05-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลปุโรง
วันที่อนุมัติ 7 พฤศจิกายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 26 มิถุนายน 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 9,923.49 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเจ๊ะอูมา ดือราแม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปุโรง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อซึ่งมียุงลายบ้านและยุงลายสวนเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ การระบาดของโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะพบผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก เนื่องจากฝนที่ตกลงมาทำให้เกิดน้ำขังในภาชนะต่าง ๆ จึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เพิ่มจำนวนประชากรของยุงลายพาหะนำโรคได้เป็นอย่างดีปัจจุบันไข้เลือดออกยังเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญมีสถิติจำนวนผู้ป่วยจากโรคไข้เลือดออกมีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งในบางรายอาจมีอาการไข้เล็กน้อยถึงปานกลาง แต่อาการที่ร้ายแรงก็สามารถทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้มีการระบาดและขยายพื้นที่การระบาดออกไปอย่างกว้างขวาง ได้แก่ การเพิ่มจำนวนของประชากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีชุมชนเมืองเพิ่มขึ้น มีการเคลื่อนย้ายของประชากรและมียุงลายมากขึ้นตามการเพิ่มของภาชนะน้ำขัง การคมนาคมที่สะดวกปัจจัยเหล่านี้ทำให้การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสเดงกีเป็นไปอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกอีกประการหนึ่ง ได้แก่ การที่พื้นที่มีเชื้อไวรัสเดงกีชุกชุม และมีมากกว่าหนึ่งชนิดในเวลาเดียวกัน ซึ่งมีผลต่อการระบาดของโรคไข้เลือดออกด้วย

จากสถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออกประจำปี 2566 พบว่าจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งในระดับประเทศ ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับตำบลโดยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 22 มิถุนายน 2566 พบผู้ป่วยไข้เลือดออกตำบลปุโรง จำนวน 10 ราย พบจำนวนผู้ป่วยมากที่สุดในหมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 3 จำนวนหมู่ละ 5 รายในเดือนมิถุนายน (ตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 22 มิถุนายน 2566) พบผู้ป่วยจำนวน 3 ราย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก (ที่มา กลุ่มงานระบาด สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ บ้านโฉลง ข้อมูล ณ วันที่ 23 มิถุนาย 2566) ดังนั้นเพื่อเป็นการควบคุม ป้องกันและระงับการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลปุโรง จึงได้จัดทำโครงการชาวปุโรงร่วมใจ ป้องกันภัยไข้เลือดออก เพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้เลือดออกและให้มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ ตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในชุมชน โรงเรียน ตลอดจนทุกภาคส่วน ร่วมมือผนึกพลังความคิดความร่วมมือแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกร่วมกัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อกำจัดยุงลายพาหะของโรคและป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออก

สามารถกำจัดยุงลายพาหะของโรคและป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออก

0.00
2 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ

เกิดการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ

0.00
3 ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 9,923.49 0 0.00
26 มิ.ย. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก 0 6,500.00 -
26 มิ.ย. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมพ่นหมอกควันปูพรมในหมู่บ้านที่เกิดการระบาด 0 2,773.49 -
26 มิ.ย. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรม Big Cleaning Day ในสถานที่สาธารณะ 0 650.00 -
26 มิ.ย. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมกำจัดลูกน้ำยุงลายทุกสัปดาห์ในหมู่บ้าน 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ควบคุมและกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุง ลดอัตราการป่วยของโรคไข้เลือดออก
  2. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
  3. ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 2566 15:36 น.