กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลยะหริ่ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนตำบลยามู ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลยะหริ่ง

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข

นางแวซาปีนะ มะมิง

เทศบาลตำบลยะหริ่ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม , แผนงานปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนในชุมชนที่มีความรู้ สามารถปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม

 

60.00
2 ร้อยละครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะ

 

78.80

จากการสำรวจปัญหาขยะในเขตเทศบาลตำบลยะหริ่ง 198.257 ตัน/เดือน สำหรับขยะที่เกิดขึ้นในชุมชนหัวเลี้ยว ซึ่งมีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด ๑๕๙ ครัวเรือน มีประชากร ทั้งหมด ๕๐๙ คน พบว่า ในแต่ละครัวเรือนมีปริมาณขยะเฉลี่ยประมาณ 30.04 กิโลกรัม/เดือน (โดยการประมาณ)เทศบาลตำบลยะหริ่งได้ตั้งถังจุดรับขยะ ๔ หลังคาเรือนต่อ ๑ ถัง (ถังสีน้ำเงิน) มีการจัดเก็บขยะทุกวัน เช้าเวลา ๐๗.๓๐ น. ส่วนในถนนสายหลักเพิ่มเวลาเย็น ๑9.0๐ น.โดยมีการคัดแยกขยะรีไซเคิล ขยะแห้ง ขยะเปียก บนรถขนขยะ ก่อนนำไปทิ้งที่บ่อขยะ ตำบลหนองแรต อำเภอยะหริ่ง ส่วนจุดที่รับขยะแยกตามสีถัง (สีเหลือง สีเขียว สีแดง สีน้ำเงิน) มีเพียง ๑ จุดด้วยชุมชนที่แออัดในพื่นที่ทำให้การกำจัดขยะ ไม่เพียงพอ ชุมชนเองก็ไม่มีมาตรการในการจัดการขยะด้วยตนเอง และไม่มีกฏบังคับในชุมชน ทำให้ขยะในชุมชนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกวันในครัวเรือนไม่มีการคัดแยกขยะ และไม่ได้ใช้ประโยชน์จากขยะ ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวมีแนวโน้มขยะจะเพิ่มมากขึ้นจากพฤติกรรมของคน และด้านอื่นๆ ทำให้เกิดปัญหาขยะในระยะยาว มีผลกระทบต่อคนในชุมชน โดยตรงทั้งในด้านสุขภาพ เพราะขยะเป็นแหล่งกำเนิดของพาหะนำโรคโดยเฉพาะยุง แมลงวัน หนู แมลงหวี่และ ทางด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม
ประชาชนส่วนใหญ่ขาดจิตสำนึก ความตระหนักในการจัดการขยะประชาชนทุกกลุ่มวัยมีนิสัยทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทาง เห็นแก่ความสะดวกสบายไม่รักษากฎระเบียบวินัย ไม่มีการรักษาความสะอาดร่วมกัน อีกทั้งไม่มีการกำจัดขยะบริเวณบ้านอย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง อีกทั้ง ประชาชนส่วนใหญ่และผู้ประกอบธุรกิจร้านค้าร้านอาหาร ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะและยังมีการทิ้งขยะแบบปนรวมกันไม่ได้คัดแยกขยะให้ถูกประเภท ขาดความตระหนักในการจัดการขยะ เกิดเป็นพฤติกรรม ความเคยชิน มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารสำเร็จรูป ที่สะดวกสบาย ซึ่งส่วนใหญ่บรรจุในซองพลาสติก กล่องโฟม แล้วทิ้งไม่เป็นที่ ทำให้มีขยะเกลื่อนในพื้นที่ ร่วมทั้งเด็กมีพฤติกรรมการลอกเลียนแบบการโยนทิ้งขยะของผู้ใหญ่ในพื้นที่ ผู้ใหญ่ไม่ได้เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็ก ไม่ได้บอก สอน แนะนำ หรือเป็นแบบอย่างให้กับเด็ก และในพื้นที่มีสภาพแวดล้อมเป็นชุมชนกึ่งเมือง มีประชากรค่อนข้างหนาแน่น การเดินทางสะดวก ประกอบกับคนในพื้นที่ประกอบอาชีพรับราชการ บริโภคอาหารสำเร็จรูปเป็นส่วนใหญ่ มีรถเร่เข้ามาขายของในพื้นที่ มีร้านขายของชำ ร้านสะดวกซื้อถุงพลาสติกใส่ของเยอะ ทำให้เพิ่มขยะในชุมชน อีกทั้งมีสุนัขจรจัดคุ้ยเขี่ยขยะจากถังขยะ คนในชุมชนอื่นมาทิ้งขยะในชุมชน และชุมชนขาดการประชาสัมพันธ์ การร่วมมือ และมาตรการ และการรณรงค์ การจัดการขยะที่ถูกต้องตามหลักวิชาการที่ทำอย่างต่อเนื่องและจริงจัง ในพื้นที่ยังพบว่ามีตลาดนัดเกือบทุกวัน ( วันจันทร์ วันพุธ และวันเสาร์) อีกทั้งเป็นทางผ่านสถานที่ท่องเที่ยว ไม่มีการจัดการขยะที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ไม่มีข้อตกลง/ กฎ / ธรรมนูญในชุมชน ขาดมาตรการทางกฎหมาย สังคม และผู้นำชุมชน/ผู้นำในพื้นที่ ยังไม่เป็นต้นแบบในการจัดการขยะในพื้นที่ พบว่าการหาวิธีการจัดการขยะยังไม่ลงลึกเพียงพอในการแก้ไขปัญหาขยะตามสถานที่อยู่ อาศัย ขาดการกระตุ้นอย่างต่อเนื่อง ขาดการบูรณาการแผนงานร่วมกัน บ้านเรือน ตลาดสด โรงเรียน ชุมชน บางที่สามารถกำจัดขยะได้ด้วยตัวเอง บางที่ทำได้เพียงแยกขยะ
ผลกระทบของปัญหา ขยะและภาชนะเหลือใช้ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุง แมลงวัน แมลงหวี่ หนู เกิดพาหะของโรคต่างๆ เช่น โรคไข้เลือดออก โรคอุจจาระร่วง โรคเลปโตสไปโรซีสหรือฉี่หนู โรคระบบทางเดินหายใจ รวมถึงภาวะเครียดของมลพิษทางอากาศที่ส่งกลิ่นเหม็น และก่อให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ ขยะมูลฝอยปริมาณมาก ๆ ย่อมต้องสิ้นเปลืองงบประมาณในการจัดการเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพ รวมไปถึงต้องสูญเสียค่ารักษาพยาบาลในการรักษาโรคที่เป็น สูญเสียรายได้ในยามเจ็บป่วย เกิดมลพิษทางน้ำ ทำให้ชุมชนไม่สามารถเลี้ยง
ปลากะพงในกระชังได้ นอกจากนี้ผลกระทบจากขยะมูลฝอยไม่ว่าจะเป็นน้ำเสีย อากาศเสีย ดินปนเปื้อนเหล่านี้ย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ
ดังนั้นชุมชน จึงได้จัดทำโครงการการจัดการขยะในชุมชน โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรูเข้าใจ
ร่วมมือจัดการ และ คัดแยกขยะอย่างเหมาะสมประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยอย่างเป็นระบบ ลด ละ เลิก พฤติกรรมที่ก่อให้เกิดขยะในชุมชนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยปัญหาขยะมูลฝอย หากภาครัฐ ภาคเอกชน หรือภาคประชาชน ไม่ให้ความสนใจหรือเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวแล้วนั้น ปัญหาขยะจะทวีความรุนแรงและเพิ่มมากขึ้นตลอดไป จนไม่สามารถกำจัดได้ เป็นเกิดปัญหา “ขยะมูลฝอยในชุมชน” ขึ้น
จากสาเหตุของปัญหาดังกล่าว ได้ทำการวิเคราะห์ ดังนี้
ทางพฤติกรรม
- ทิ้งขยะไม่เป็นที่
- ไม่แยกขยะในครัวเรือน
- ซื้ออาหารสำเร็จรูปเป็นส่วนใหญ่
- ไม่ใช้ถุงผ้า
- ขาดความตระหนักในการทิ้งขยะ
- ความเคยชินในการทิ้งขยะข้างทาง
- ไม่ได้มีความรู้สึกว่าเป็นหน้าที่ในการจัดการขยะ
- ส่งกลิ่นเหม็น
-ประชาชนส่วนใหญ่ขาดจิตสำนึก ความตระหนักในการจัดการขยะประชาชนทุกกลุ่มวัยมีนิสัยทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทาง เห็นแก่ความสะดวกสบายไม่รักษากฎระเบียบวินัยการรักษาความสะอาดร่วมกัน อีกทั้งไม่มีการกำจัดขยะบริเวณบ้านอย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง
- ประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะและยังมีการทิ้งขยะแบบปนรวมกันไม่ได้คัดแยกขยะให้ถูกประเภทขาดความตระหนักในการจัดการขยะ เกิดเป็นพฤติกรรม ความเคยชิน ความสะดวกสบาย
- มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่สะดวกสบาย เน้นอาหารสำเร็จรูป ซึ่งส่วนใหญ่บรรจุในซองพลาสติก พอทิ้งไม่เป็นที่ ทำให้มีขยะเกลื่อนในพื้นที่
- เด็กมีพฤติกรรมการลอกเลียนแบบการโยนทิ้งขยะของผู้ใหญ่ในพื้นที่ ผู้ใหญ่ไม่ได้เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็ก ไม่ได้บอก สอน หรือเป็นแบบอย่างให้กับเด็ก
สภาพแวดล้อมทางสังคม
- แพ็คเกจบรรจุอาหารส่วนใหญ่เป็นถุงพลาสติก,โฟม,กล่องพลาสติก
- ยังไม่มีกฎกติกาที่ชัดเจนในการจัดการขยะ (มาตรการดูแลชุมชน)
- สุนัขจรจัดมากในชุมชน (คุ้ยขยะในถัง)
- คนในชุมชนอื่นมาทิ้งขยะในชุมขน
- ชุมชนแออัด
- มีตลาดนัดในชุมชนเกือบทุกวัน
ในพื้นที่ ไม่มีการจัดการขยะที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และมีร้านขายของชำ ร้านสะดวกซื้อที่เพิ่มขึ้น ซึ่งยังไม่มีการจัดการขยะที่ถูกต้อง สภาพแวดล้อมเป็นชุมชนกึ่งเมือง มีประชากรค่อนข้างหนาแน่น การเดินทางสะดวก มีรถเร่เข่ามาขายของในพื้นที่ ใช้ถุงพลาสติกใส่ของเยอะ ทำให้เพิ่มขยะในชุมชน ขาดผู้ประสานงานชุมชน และผู้นำในการจัดการขยะอย่างถูกวิธี ขยะเยอะในพื้นที่บางส่วนของชุมชน
สภาพแวดล้อมทางกายภาพ
- มีตลาดนัดในชุมชนเกือบทุกวัน
- เป็นทางผ่านแหล่งท่องเที่ยว
- มีร้านสะดวกซื้อ,ร้านค้าในชุมชน
กลไก/ระบบที่เกี่ยวข้อง
- ให้เทศบาลจัดเก็บขยะเป็นเวลา
- ให้คนในชุมชนได้รับรู้เวลาในการมาเก็บขยะ
- มีการจัดประชาคม ทำความเข้าใจในการจัดการดูแลความสะอาดในฃุมฃน
- ขาดข้อตกลงชุมชน
ในพื้นที่ยังไม่มีการจัดการขยะที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ไม่มีข้อตกลง/ กฎ / ธรรมนูญในชุมชน ขาดมาตรการทางกฎหมาย สังคม และผู้นำชุมชน/ผู้นำในพื้นที่ ยังไม่เป็นต้นแบบในการจัดการขยะ
ผลกระทบทางสุขภาพ
- เกิดโรคไข้เลือดออก
- เกิดโรคอุจจาระร่วง
- โรคระบบทางเดินหายใจ
- โรคเครียด
ทำให้เกิดแหล่งกำเนิดโรคและการแพร่ระบาดของโรค เนื่องด้วยกองขยะ และการทิ้งขยะเรี่ยราด ทำให้เป็นแหล่งที่อยู่ชองสัตว์พาหะนำโรค แมลงวัน แมลงหวี่ หนู และยุง เช่น ทำให้เกิดโรคทางระบบทางเดินหายใจ
ระบบทางเดินอาหาร และโรคติดต่อ อีกทั้ง มีผลต่อการเกิดปัญหาทางด้านสุขภาพจิต เพราะกลิ่นที่ไม่พึ่งประสงค์มารบกวนวิถีชีวิตของคนที่ในพื้นที่ โรคไข้เลือดออก3 ราย (ข้อมูลจากศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลยะหริ่ง 2565) ซึ่งหากไม่จัดการการเกิดโรคมีแนวโน้มจะสูงขึ้น
ผลกระทางสังคม
- เกิดการทะเลาะเบาะแว้ง
- ก่อให้เกิดความรำคาญให้คนในชุมชน
- ขาดความสามัคคีในชุมชน
ประชาชนในพื้นที่มีพฤติกรรมที่เคยชิน ขาดความตระหนักทำให้การทิ้งขยะเป็นเรื่องปกติและเกิดความขัดแย้งระหว่างครัวเรือน เช่น การทะเลาะวิวาทในการทิ้งขยะในบริเวณพื้นที่ส่วนบุคคล มีการขัดแย้งเกี่ยวกับถังขยะที่ได้รับจากทางเทศบาลยะหริ่ง
3.4 ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดเหตุรำคาญ ส่งกลิ่นเหม็น สิ่งแวดล้อมเป็นพิษและการทำการเกษตรไม่ดีเพราะขยะทำให้ดินเป็นพิษ
ผลกระทบทางเศรษฐกิจ
- เพิ่มค่าใช้จ่ายในเรื่องของการรักษาพยาบาล
- เพิ่มค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการขยะของเทศบาล
- การประกอบอาชีพประมงรายได้ลดลง
ทำให้ประชาชนเกิดโรค และต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ร่วมทั้งทางเทศบาลต้องเสีย
ค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะ ร่วมทั้งการประกอบอาชีพทางการประมง เช่นการเลี้ยงปลากะพงในกระชัง เสียหาย
ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม
- เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
- ชุมชนไม่น่าอยู่ (ทัศนียภาพไม่สวยงาม)
- ท่อระบายน้ำอุดตัน
- การปนเปื้อนสารเคมี
ก่อให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำ ทำให้เกิดโรคในพื้นที ท่อระบายน้ำอุดตันส่งกลิ่นเหม็น สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ และน้ำท่วมขังในพื้นที่ ทำให้ทัศนียภาพไม่สวยงาม
ดังนั้นชุมชน จึงได้จัดทำโครงการการจัดการขยะในชุมชน โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ เข้าใจ
ร่วมมือจัดการ และ คัดแยกขยะอย่างเหมาะสมประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยอย่างเป็นระบบ ลด ละ เลิก พฤติกรรมที่ก่อให้เกิดขยะในชุมชนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยปัญหาขยะมูลฝอย หากภาครัฐ ภาคเอกชน หรือภาคประชาชน ไม่ให้ความสนใจหรือเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวแล้วนั้น ปัญหาขยะจะทวีความรุนแรงและเพิ่มมากขึ้นตลอดไป จนไม่สามารถกำจัดได้ เป็นเกิดปัญหา “ขยะมูลล้นชุมชน” ขึ้น
ข้อมูลการจัดการขยะในครัวเรือน/ชุมชน
1.ครัวเรือนทั้งหมดในชุมชน 159 (100%)
2.ครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะอยู่แล้วก่อนเริ่มโครงการ 10(6.29%)
3.ครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์จากขยะ 28(17.61%)
4.ครัวเรือนที่ยังไม่คัดแยกขยะ 149(93.7%)

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้คนในชุมชนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่ได้

ร้อยละของคนในชุมชนที่มีความรู้ สามารถปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม

60.00 80.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะ

ร้อยละครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะ

78.80 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ 20
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 20 คนๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 30.- บาท เป็นเงิน 1,200.- บาท
ค่าอาหารกลางวันสำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 20 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 60.- บาท เป็นเงิน 1,200.- บาท

รวมเป็นเงิน 2,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 กรกฎาคม 2566 ถึง 15 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดคณะทำงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2400.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้กับ ตัวแทนประชาชนในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้กับ ตัวแทนประชาชนในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้แก่ ตัวแทนประชาชนในพื้นที่
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 คนๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 30.- บาท เป็นเงิน 3,000.- บาท
ค่าอาหารกลางวันสำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 60.- บาท เป็นเงิน 3,000.- บาท
ค่าวิทยากรที่ให้ความรู้ จำนวน 1 คน ๆ ละ 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600.- บาท เป็นเงิน 3,600.- บาท
รวมเป็นเงิน 9,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 กรกฎาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีความรู้และนำไปปรับใช้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6200.00

กิจกรรมที่ 3 การประกวดคัดเลือกบ้านต้นแบบ "บ้านน่าอยู่ ชุมชนสะอาด ปราศจากโรค"

ชื่อกิจกรรม
การประกวดคัดเลือกบ้านต้นแบบ "บ้านน่าอยู่ ชุมชนสะอาด ปราศจากโรค"
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คัดเลือก และยกย่องครัวเรือน / คุ้ม / โซน ตัวอย่างที่มีการคัดแยกขยะ และใช้ประโยชน์จากขยะอย่างเหมาะสม ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 15 คนๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 30.- บาท เป็นเงิน 900.- บาท
ค่าอาหารกลางวันสำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 15 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 60.- บาท เป็นเงิน 900.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 31 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

บ้านต้นแบบคัดเลือก และยกย่องครัวเรือน / คุ้ม / โซน ตัวอย่างที่มีการคัดแยกขยะ และใช้ประโยชน์จากขยะอย่างเหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1800.00

กิจกรรมที่ 4 เวทีประชาคมของครัวเรือนในพื้นที่เกิดข้อตกลงชุมชนและการประชาสัมพันธ์

ชื่อกิจกรรม
เวทีประชาคมของครัวเรือนในพื้นที่เกิดข้อตกลงชุมชนและการประชาสัมพันธ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เวทีประชาคมของครัวเรือนในพื้นที่เกิดข้อตกลงชุมชนและประชาสัมพันธ์ เรือง ข้อตกลงชุมชนและการจัดการขยะในครัวเรือนทั้ง 4 ประเภท คือ 1 ขยะอินทรีย์หรือขยะเปียก 2 ขยะรีไซเคิล 3 ขยะทั่วไป 4 ขยะอันตราย
รายละเอียดงบประมาณ
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 150 คนๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 30.- บาท เป็นเงิน 4,500.- บาท
-ค่าอาหารกลางวันสำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 150 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 60.- บาท เป็นเงิน 9,000.- บาท
-ค่าตอบแทนวิทยากรที่ให้ความรู้ จำนวน 1 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600.- บาท เป็นเงิน 1,800.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1) ครัวเรือนการคัดแยกขยะ 2) ครัวเรือน นำขยะที่คัดแยกไปจำหน่ายฯ 3) การประชาสัมพันธ์กติกา/ข้อตกลงชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15300.00

กิจกรรมที่ 5 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และถอดบทเรียนการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และถอดบทเรียนการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 คนๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 30.- บาท เป็นเงิน 3,000.- บาท
-ค่าอาหารกลางวันสำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 60.- บาท เป็นเงิน 3,000.- บาท
รวมเป็นเงิน 6,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 31 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1) ครัวเรือนการคัดแยกขยะ 2) ครัวเรือน นำขยะที่คัดแยกไปจำหน่ายฯ 3) การประชาสัมพันธ์กติกา/ข้อตกลงชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 31,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ชาวบ้านในชุมชนมีความตระหนักรู้ถึงผลกระทบระยะยาวของปัญหาขยะที่มีในชุมชน ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาโดยเริ่มต้นการคัดแยกขยะในครัวเรือนเพื่อลดผลกระทบของขยะที่มีปริมาณมากในชุมชน เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในระดับบุคคล และมีสิ่งแวดล้อมเอื้อต่อการลดการสร้างขยะ เมื่อสิ้นสุดโครงการ ชาวบ้านและชุมชนสามารถที่จะปฏิบัติตัวเพื่อลดการสร้างขยะต่อไปได้ เกิดเป็นบ้านตัวอย่าง ชุมชนตัวอย่างเพื่อต่อยอดและขยายผลไปสู่ชุมชนอื่นๆได้อีกด้วย


>