2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
โรคเบาหวานเสี่ยงต่อการเกิดภาวะตาบอด ไตวาย การถูกตัดอวัยวะ เป็นต้น ปัญหาของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่พบบ่อยที่สุด คือ การบริโภคอาหารไม่ถูกต้อง ยังพบการบริโภคอาหารที่มีรสเค็ม มัน และหวาน สาเหตุ คือ ความเคยชินต้องประกอบอาชีพนอกบ้าน ไม่มีเวลาในการประกอบอาหารเอง จึงหาซื้ออาหารสำเร็จรูป รวมถึงขาดการออกกำลังกายและไม่สามารถปรับพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกหลักได้อย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ
สถานการณ์โรคไม่ติดต่อ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร และเป็นภาระโรคของคนทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี พบว่า มีผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ปี 2565 จำนวน 2,414 ราย (9.30%) ปี 2566 พบว่า มีผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 3,168 ราย (14.02%)(ข้อมูลจาก HDC จังหวัดปัตตานีเมื่อวันที่ 06 ก.ค. 2566) มีแนวโน้มการเกิดโรคเรื้อรัง (NCDs)ที่สูงเพิ่มขึ้นตามลำดับ
ชุมชนในเขตเทศบาลตำบลยามูลักษณะสังคมโดยรวมเป็นชุมชนกึ่งเมือง/จากข้อมูลโรคเรื้อรังของ ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลยามูพบว่า มีผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ปี 2565 จำนวน 39 ราย (1.51%) ปี 2566 พบว่า มีผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 594 ราย (23.09%) (ข้อมูลจาก HDC จังหวัดปัตตานีเมื่อวันที่ 06 ก.ค. 2566) จากคัดกรองโรคเบาหวานประชาชนในกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ของตำบลยามูอำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานีพบว่า กลุ่มเสี่ยงด้วยโรคเบาหวาน ที่เจาะปลายนิ้วเพื่อตรวจหาค่าน้ำตาลในเลือด ที่มีค่าน้ำตาลในเลือดมากกว่า 100 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จำนวน 60 ราย จากข้อมูลดังกล่าว มีแนวโน้มการเกิดโรคเรื้อรัง (NCDs)ที่สูงเพิ่มขึ้นตามลำดับ
จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการกิจกรรมจัดเสริมพลังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน โดยจะดำเนินในรูปแบบของกิจกรรมการเชิงผลลัพธ์ ซึ่งบันไดผลลัพธ์ขั้นแรกจะจัดตั้งทีมคณะทำงาน NCDs ประจำตำบลยามู โดยมีภาคีเครือข่ายในตำบลเป็นแกนนำขับเคลื่อนงาน บันไดขั้นที่สองเพิ่มความรู้และเพิ่มความตระหนักให้กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน และแกนนำ อสม.เยาวชน มีความรอบรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ. 2ส. และมีการติดตามประเมินอย่างต่อเนื่อง บันไดขั้นที่สาม การปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยขอความร่วมมือร้านค้าและชุมชนให้ลดความหวานในอาหารและเครื่องดื่ม การประชาสัมพันธ์ผ่าน อสม. ใช้มัสยิดเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและไม่ให้เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ ดังนั้นจากกิจกรรมดังกล่าว คาดว่าจะส่งผลให้ลดอัตราการเกิดผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ กลุ่มวัยทำงานมีสุขภาพที่ดีขึ้น ส่งผลให้ชาวตำบลยามูมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/09/2023
กำหนดเสร็จ 31/01/2024
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. กลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานได้รับความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย
2. กลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ด้วยตนเอง
3. ผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ลดลง