กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ชาวสาครรวมใจห่างไกลยาชุด พื้นที่ตำบลสาคร

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคตำบลสาคร

1. นางสาวกัณฐรัตน์ขุนพิทักษ์
2. นางสาวซารีฟะ ดำกระบี่
3. นางสาวชนาพร หิรัญ
4. นางสาวเกดประภา กุสสัย
5. นางสาวสุดา ยามาเล็น

หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 5 ตำบลควนโพธิ์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สถานการณ์ปัญหาสเตียรอยด์เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและไม่มีท่าทีว่าจะลดความรุนแรงลงซึ่งสเตียรอยด์ที่แพร่ระบาดนั้นเป็น สเตียรอยด์สังเคราะห์ ที่มีโทษในการกดภูมิคุ้มกัน มีผลให้เกิดโรคหัวใจโต ต่อมหมวกไตฝ่อกล้ามเนื้ออ่อนแรง กระดูกพรุน ฯลฯ สเตียรอยด์ที่แพร่ระบาดส่วนใหญ่จะถูกผสมในยาลูกกลอน ยาชุด ที่วางจำหน่ายในร้ายขายยาและร้านยาในชุมชนโดยจะอยู่ในรูปแบบต่างๆ เช่น ยาชุดแก้ปวด แก้ไข้ แก้ประดง แก้กินผิด เป็นต้นจะเห็นได้ว่าสเตียรอยด์ถูกผสมในยาชุดที่มีจำหน่ายในร้านขายยาในชุมชน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้บริโภคเกิดความเจ็บป่วยและมีปัญหาทางสุขภาพในระยะยาวทางเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคตำบลควนโพธ์ ซึ่งทำหน้าที่ในการคุ้มครอง พิทักษ์ และสนับสนุนเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้บริโภค จึงได้จัดโครงการ “ยาชุดอันตรายตายผ่อนส่ง” เพื่อให้แกนนำมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ยาชุดมีการเฝ้าระวังเชิงปฏิบัติการของการจำหน่ายยาชุดในพื้นที่และสามารถเผยแพร่ข้อมูลสู่พื้นที่ได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้แกนนำมีความรู้ความเข้าใจในการบริโภคยาชุด

แกนนำมีความรู้ความเข้าใจในการบริโภคยาชุด คิดเป็น 60%

0.00
2 เพื่อให้แกนนำมีการเฝ้าระวังเชิงปฏิบัติการของการจำหน่ายยาชุดในพื้นที่

แกนนำสามารถเฝ้าระวังเชิงปฏิบัติการของการจำหน่ายยาชุดในพื้นที่ คิดเป็น 40%

0.00
3 เพื่อให้แกนนำนำความรู้ไปเผยแพร่ต่อในพื้นที่ต่อไปได้

แกนนำนำความรู้ไปเผยแพร่ต่อในพื้นที่ต่อไปได้ คิดเป็น 20%

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง 20
กลุ่มวัยทำงานที่มีภาวะเสี่ยง 20

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2023

กำหนดเสร็จ 30/06/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนเกี่ยวกับการบริโภคยาชุดในชุมชน จำนวน 2 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนเกี่ยวกับการบริโภคยาชุดในชุมชน จำนวน 2 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงานโครงการจำนวน 2 ครั้ง
ครั้งที่ 1 เพื่อประชุมวางแผนการขับเคลื่อนการทำงานโครงการ
ครั้งที่ 2 เพื่อสรุปผลการขับเคลื่อนการทำงานโครงการ
ค่าใช้จ่าย
- ค่าอาหารกลางวัน50 บ. x 10 คน = 500 บ.
- ค่าอาหารว่าง25 บ. x 10 คน = 250บ.
รวมเป็นเงิน 750 บ. x 2 ครั้ง = 1,500 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
- คณะทำงานโครงการจำนวน 10 คน
- ประชุมคณะทำงานจำนวน 2 ครั้ง
ผลลัพธ์
- คณะทำงานมีความเข้าใจแผนงานและร่วมขับเคลื่อนการทำงานโครงการ
- ได้ผลการดำเนินงานและมีทิศทางในการขับเคลื่อนการทำงานต่อไปในพื้นที่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

กิจกรรมที่ 2 อบรม เรื่อง “ยาชุดนี้ มีอะไร?”แก่คณะทำงานในพื้นที่ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อสร้างความเข้าใจในการทำงานด้านการบริโภคยาชุดในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
อบรม เรื่อง “ยาชุดนี้ มีอะไร?”แก่คณะทำงานในพื้นที่ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อสร้างความเข้าใจในการทำงานด้านการบริโภคยาชุดในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน50 บ. x 20 คน = 1,000 บ.
  • ค่าอาหารว่าง25 บ. x 20 คน = 500บ.
  • ค่าวิทยากร 3 ชม. x 600 บ. x 2 คน = 3,600 บ.
  • ค่าวัสดุ. – ค่าเอกสารประกอบการอบรม = 600 บ.
    – ค่าไวนิลโครงการ3 เมตร x 150 บ.= 450 บ.
    รวมเป็นเงิน 6,150 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มกราคม 2567 ถึง 10 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
- คณะทำงานประกอบด้วย อสม.แกนนำชุมชน เยาวชน จำนวน 20 คน
- จัดอบรมพัฒนาศักยภาพการทำงานด้านการบริโภคยาชุดในพื้นที่จำนวน 1 ครั้ง
ผลลัพธ์
- คณะทำงานด้านการบริโภคยาชุดในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องอันตรายจากการบริโภคยาชุด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6150.00

กิจกรรมที่ 3 สำรวจสถานการณ์ยาชุดในพื้นที่ เป็นการให้แกนนำซื้อยาชุดที่มีอยู่ตามร้านชำในพื้นที่ เพื่อให้เห็นประเภทยาชุดในพื้นที่และสถานการณ์ยาชุดที่เกิดขึ้น

ชื่อกิจกรรม
สำรวจสถานการณ์ยาชุดในพื้นที่ เป็นการให้แกนนำซื้อยาชุดที่มีอยู่ตามร้านชำในพื้นที่ เพื่อให้เห็นประเภทยาชุดในพื้นที่และสถานการณ์ยาชุดที่เกิดขึ้น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวัสดุ – จัดซื้อยาชุด = 1,000 บ.

รวมเป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
- มีการสำรวจยาชุดในร้านรำในพื้นที่ ม. 2 ม. 5 ตำบลควนโพธ์จำนวน 1 ครั้ง
ผลลัพธ์
- มีข้อมูลสถานการณ์ยาในร้านชำในพื้นที่หมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 5 ตำบลควนโพธ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 4 อบรม เรื่อง “ยาชุดอันตรายตายผ่อนส่ง” เป็นการคืนข้อมูลจากสถานการณ์ปัญหายาชุดในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
อบรม เรื่อง “ยาชุดอันตรายตายผ่อนส่ง” เป็นการคืนข้อมูลจากสถานการณ์ปัญหายาชุดในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรม เรื่อง “ยาชุดอันตรายตายผ่อนส่ง” เป็นการคืนข้อมูลจากสถานการณ์ปัญหายาชุดในพื้นที่ และสร้างความรู้ความเข้าใจ ในการบริโภคยาชุดและการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง
ผ่านการบริโภคอย่างเหมาะสม ให้กับคณะทำงานโครงการ กลุ่มเสี่ยงที่ใช้ยาชุดในพื้นที่ แกนนำชุมชน
- ค่าอาหารกลางวัน50 บ. x 40คน = 2,000 บ.
- ค่าอาหารว่าง 25 บ. x 2 มื้อ x 40 คน = 2,000 บ.
- ค่าวิทยากร 4 ชม. x 600 บ. x 2 คน = 4,800 บ.
- ค่าวัสดุ. –ค่าเอกสารประกอบการอบรม = 800 บ.
รวมเป็นเงิน9,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 มีนาคม 2567 ถึง 6 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
- อบรม เรื่อง “ยาชุดอันตรายตายผ่อนส่ง” เป็นการคืนข้อมูลจากสถานการณ์ปัญหายาชุดในพื้นที่ 1 ครั้ง จำนวน 40 คน
ผลลัพธ์
- คณะทำงานโครงการ กลุ่มเสี่ยงที่ใช้ยาชุดในพื้นที่ แกนนำชุมชน รับทราบข้อมูลสถานการณ์ยาชุดในพื้นที่และมีความรู้เรื่องอันตรายจากการใช้ยาชุด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9600.00

กิจกรรมที่ 5 อบรม เรื่อง “ร้านนี้ ปลอดยาชุด” โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เป็นการอบรมตัวแทนร้านชำในชุมชน เพื่อให้ความรู้เรื่องบริโภคยาชุดและการจำหน่ายยาที่ผิดตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510

ชื่อกิจกรรม
อบรม เรื่อง “ร้านนี้ ปลอดยาชุด” โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เป็นการอบรมตัวแทนร้านชำในชุมชน เพื่อให้ความรู้เรื่องบริโภคยาชุดและการจำหน่ายยาที่ผิดตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน50บ.x20คน = 1,000 บ.
  • ค่าอาหารว่าง25 บ.x2 มื้อ 20 คน = 1,000บ.
  • ค่าวิทยากร 3 ชม. x 600 บ.= 1,800 บ.
  • ค่าวัสดุ. –ค่าเอกสารประกอบการอบรม = 400 บ.
    รวมเป็นเงิน 4,200 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
4 เมษายน 2567 ถึง 4 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
- มีตัวแทนร้านชำเข้าร่วมจำนวน 20 คน
ผลลัพธ์
- ตัวแทนร้านชำมีความรู้เรื่องบริโภคยาชุดและการจำหน่ายยาที่ผิดตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510
- เกิดร้านชำต้นแบบที่ไม่ขายยาชุดอย่างน้อย 2 ร้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4200.00

กิจกรรมที่ 6 “ร้านนี้ ปลอดยาชุด” เป็นการมอบป้ายแก่ร้านชำที่ไม่จำหน่ายยาชุด และประเมินร้านชำในทุก 1 เดือน

ชื่อกิจกรรม
“ร้านนี้ ปลอดยาชุด” เป็นการมอบป้ายแก่ร้านชำที่ไม่จำหน่ายยาชุด และประเมินร้านชำในทุก 1 เดือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวัสดุ. –ค่าจัดทำป้าย = 3,000 บ.
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 1 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
- ร้านชำปลอดยาชุดอย่างน้อย 2 ร้าน
ผลลัพธ์ - ผลการประเมินร้านชำที่ไม่ขายยาชุดในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,450.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกกิจกรรม

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. แกนนำมีความรู้ความเข้าใจในการบริโภคยาชุด
2. แกนนำมีการเฝ้าระวังเชิงปฏิบัติการของการจำหน่ายยาชุดในพื้นที่
3. แกนนำนำความรู้ไปเผยแพร่ต่อในพื้นที่


>