กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากและโภชนาการในเด็กปฐมวัยและเด็กวัยเรียน รพ.สต.บ้านสี่แยกไสยวน ประจำปี 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.พนมวังก์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากและโภชนาการในเด็กปฐมวัยและเด็กวัยเรียน รพ.สต.บ้านสี่แยกไสยวน ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.พนมวังก์

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสี่แยกไสยวน

ตำบลพนมวังก์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละเด็กปฐมวัยมีการเจริญเติบโตสูงดีสมส่วน

 

70.73
2 ร้อยละเด็กปฐมวัยมีภาวะโภชนาการ เริ่มอ้วนและอ้วนเกินเกณฑ์

 

10.53
3 ร้อยละเด็กวัยเรียนการเจริญเติบโตสูงดีสมส่วน

 

54.21
4 ร้อยละเด็กวัยเรียนมีภาวะโภชนาการ เริ่มอ้วนและอ้วน

 

21.03
5 ร้อยละเด็กปฐมวัยมีฟันน้ำนมผุ

 

36.20
6 ร้อยละเด็กวัยเรียนมีฟันแท้ผุ

 

20.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้อสม.มีความรู้เรื่อง การส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปาก การประเมินภาวะโภชนาการเด็กปฐมวัยและเด็กวัยเรียน และสามารถแปลผลภาวะโภชนาการจากกราฟการเจริญเติบโตได้ถูกต้อง

ร้อยละ 100 ของอสม.มีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก การประเมินภาวะโภชนาการเด็กปฐมวัยและเด็กวัยเรียนได้อย่างถูกต้อง

70.00 100.00
2 เพื่อให้ ครู ผู้ปกครอง นักเรียนมีความรู้เรื่องการส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปาก การประเมินภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน และแปรผลภาวะโภชนาการจากกราฟการเจริญเติบโต

ร้อยละ 90 ของครู ผู้ปกครอง นักรียน มีความรู้เรื่องการส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปาก การประเมินภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน

80.00 90.00
3 เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้รับเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ทุก 3 เดือน

ร้อยละ 80 ของเด็กปฐมวัยมีการเจริญเติบโตสูงดีสมส่วน

70.73 80.00
4 เพื่อให้เด็กวัยเรียน ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ภาคเรียนละ1ครั้ง

ร้อยละ 67 ของเด็กวัยเรียน มีการเจริญเติบโตสูงดีสมส่วน

54.21 67.00
5 เพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปากและบริการทันตกรรมแก่เด็กปฐมวัย และเด็กวัยเรียน

ร้อยละ 85 ของเด็กปฐมวัยและวัยเรียน ได้รับการส่งเสริมดูแลสุขภาพช่องปากและบริการทันตกรรม

40.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 262
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 570
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมให้ความรู้ อสม.การส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปาก การประเมินภาวะโภชนาการเด็กปฐมวัยและเด็กวัยเรียน และการแปลผลภาวะโภชนาการจากกราฟการเจริญเติบโต

ชื่อกิจกรรม
ประชุมให้ความรู้ อสม.การส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปาก การประเมินภาวะโภชนาการเด็กปฐมวัยและเด็กวัยเรียน และการแปลผลภาวะโภชนาการจากกราฟการเจริญเติบโต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุม อสม. จำนวน 128 คน เรื่อง การส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปาก การประเมินภาวะโภชนาการเด็กปฐมวัยและเด็กวัยเรียน และการแปลผลภาวะโภชนาการจากกราฟการเจริญเติบโต

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ร้อยละ 100 ของ อสม.มีความรู้ ทักษะการแปรผลภาวะโภชนาการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมให้ความรู้แก่ ครู ผู้ปกครอง เรื่องการส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปาก การประเมินภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมให้ความรู้แก่ ครู ผู้ปกครอง เรื่องการส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปาก การประเมินภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมให้ความรู้แก่ ครู ผู้ปกครองจำนวน 100 คน เรื่องการส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปาก การประเมินภาวะ โภชนาการในเด็กวัยเรียน
โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้
1.เอกสารให้ความรู้โภชนาการดีสูงดีสมส่วนจำนวน 120 ฉบับๆละ 20 หน้าๆละ 0.50 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
2.เอกสารบันทึกสุขภาพช่องปากและภาวะโภชนาการ สำหรับ เด็กปฐมวัยและเด็กวัยเรียนจำนวน 227 ชุดๆ ละ 15 หน้าๆ ละ 0.50 บาท เป็นเงิน 2,270 บาท
3.ป้ายไวนิลโครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ภาวะโภชนาการในเด็กปฐมวัยและเด็กวัยเรียน ขนาด 1.2 x 2.5 เมตร จำนวน 1 ผืน ๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ครู ผู้ปกครอง นักรียน มีความรู้เรื่องการส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปาก การประเมินภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน ที่ถูกต้อง
2.นักเรียนทราบภาวะโภชนาการของตนเองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ถูกต้องเหมาสมกับภาวะโภชนาการของตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3970.00

กิจกรรมที่ 3 เฝ้าระวังภาวะโภชนาการ เด็กปฐมวัยทุก 3 เดือน โดย อสม. และ เฝ้าระวังภาวะโภชนาการ เด็กวัยเรียน ภาคเรียนละ 1 ครั้ง โดยคุณครู

ชื่อกิจกรรม
เฝ้าระวังภาวะโภชนาการ เด็กปฐมวัยทุก 3 เดือน โดย อสม. และ เฝ้าระวังภาวะโภชนาการ เด็กวัยเรียน ภาคเรียนละ 1 ครั้ง โดยคุณครู
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เฝ้าระวังภาวะโภชนาการ เด็กปฐมวัยทุก 3 เดือน โดย อสม.จำนวน 262 คนและ เฝ้าระวังภาวะโภชนาการ
เด็กวัยเรียน จำนวน 227 คนภาคเรียนละ 1 ครั้ง โดยคุณครู

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กปฐมวัยได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการทุก 3 เดือนอยางต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 คืนข้อมูลภาวะโภชนาการของเด็กปฐมวัยและเด็กวัยเรียน ให้ อสม. ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ทราบภาวะโภชนาการของเด็ก

ชื่อกิจกรรม
คืนข้อมูลภาวะโภชนาการของเด็กปฐมวัยและเด็กวัยเรียน ให้ อสม. ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ทราบภาวะโภชนาการของเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คืนข้อมูลภาวะโภชนาการของเด็กปฐมวัยและเด็กวัยเรียน จำนวน 489 คนให้ อสม. ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ทราบภาวะโภชนาการของเด็ก

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม. ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ทราบภาวะโภชนาการของเด็ก และให้ติดตามส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็กตามสภาพปัญหาได้เหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 ติดตามนักเรียนที่มีปัญหาทุพโภชนาการ ให้ความรู้เรื่องโภชนาการ ผู้ปกครอง ครู นักเรียน รายกลุ่ม

ชื่อกิจกรรม
ติดตามนักเรียนที่มีปัญหาทุพโภชนาการ ให้ความรู้เรื่องโภชนาการ ผู้ปกครอง ครู นักเรียน รายกลุ่ม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามนักเรียนที่มีปัญหาทุพโภชนาการ ให้ความรู้เรื่องโภชนาการ ผู้ปกครอง ครู นักเรียนรายกลุ่ม ตามความเหมาะสม

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 100 ของนักเรียนที่มีปัญหาทุพโภชนาการได้รับคำแนะนำ ส่งเสริม ติดตามภาวะโภชนาการอย่างต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 6 ส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปากและบริการทันตกรรมแก่เด็กปฐมวัย และเด็กวัยเรียน

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปากและบริการทันตกรรมแก่เด็กปฐมวัย และเด็กวัยเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปากและบริการทันตกรรม แก่เด็กปฐมวัยจำนวน 262 คน
เด็กวัยเรียน 227 คน โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้ นมโพรไบโอติกส์ จำนวน 55 คนๆ ละ 16 ถุงๆ ละ 16 บาท เป็นเงิน 14,080 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ร้อยละ 100 เด็กปฐมวัยใน ศพด. ได้รับบริการทันตกรรมตามมาตรฐาน 2.ร้อยละ 5 เด็กปฐมวัยใน ศพด.มีฟันน้ำนมผุลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14080.00

กิจกรรมที่ 7 ให้บริการทันตกรรมแก่เด็กก่อนวัยเรียนในชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบ

ชื่อกิจกรรม
ให้บริการทันตกรรมแก่เด็กก่อนวัยเรียนในชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้บริการทันตกรรมแก่เด็กก่อนวัยเรียน ในชุมชน จำนวน 150 คน ในพื้นที่รับผิดชอบ โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้
1.แปรงสีฟันเด็ก 0-2 ปี จำนวน 150 ด้ามๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท
2.ยาสีฟันเด็ก 0-2 ปี จำนวน 150 หลอดๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท
3.ถุงนิ้ว 31แพ็คๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 620 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ร้อยละ 85เด็กก่อนวัยเรียนได้รับบริการทันตกรรมตามมาตรฐาน
2.ร้อยละ 5 เด็กก่อนวัยเรียนมีฟันน้ำนมผุลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9620.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 27,670.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อสม.มีความรู้เรื่องการประเมินภาวะโภชนาการเด็กปฐมวัยและเด็กวัยเรียน การจุดกราฟการเจริญเติบโต
2. เด็กวัยเรียนได้รับความรู้เรื่องโภชนาการที่ถูกต้อง
3. เด็กปฐมวัยและเด็กวัยเรียนได้รับการติดตามประเมินโภชนาการตามเกณฑ์ที่กำหนด
4. อสม. ครู นักเรียน ผู้ปกครอง รับทราบภาวะโภชนาการของเด็ก และเป็นฐานข้อมูลในการแก้ไขปัญหา
5. ผู้ปกครอง นักเรียน มีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม
6. เด็กปฐมวัยได้รับการดูแลสุขภาพฟันที่ถูกวิธี


>