กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกายและการบริโภคอาหารในกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ตำบลยามู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ปี 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลยะหริ่ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกายและการบริโภคอาหารในกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ตำบลยามู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลยะหริ่ง

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข

1.นางแวสปีนะ มะมิง
2.นางนิรอปีอะ มะกาเจ
3.นางซามูเราะ มะยี
4.นางสาวโสภาวดี สัสดีวงษ์
5.นางแวแย แวหามะ

เขตเทศบาลตำบลยะหริ่ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

14.03
2 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

56.23
3 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

 

65.00
4 ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

 

60.00

ปัจจุบันการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่ออันเกี่ยวเนื่องมาจากพฤติกรรมและวิถีชีวิตมีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการมีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง ทั้งการกิน การนอน การพักผ่อน การออกกำลังกาย และการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปตามความเจริญของโลกโรคเบาหวานติดอันดับ 1 ในปัญหาสาธารณสุขของโรงพยาบาลยะหริ่ง
ในปี พ.ศ.2563-2566 โรงพยาบาลยะหริ่ง มีผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน 2959.96, 3060.58, 3082.08 และ 3333.90 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ และมีผู้ป่วยรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ปี พ.ศ. 2563-2566คิดเป็นร้อยละ 0.67, 0.68, 0.81 และ 1.47 ตามลำดับ (ข้อมูลจาก HDC 6 กรกฎาคม 2566) และผลการสำรวจพฤติกรรมของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน พบว่า มีพฤติกรรมที่เสี่ยงทำให้เกิดโรค ได้แก่ การบริโภคอาหารหวาน(เครื่องดื่มที่มีรสหวาน เช่น น้ำหวาน น้ำอัดลม เป็นต้น) และมัน (อาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารทอด แกงกะทิ เนื้อติดมัน เป็นต้น) ร้อยละ 73.00, 60.60ผลการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมตามหลัก 3อ 2ส ของกลุ่มวัยทำงาน อายุ 15-59 ปี จำนวน 60 คน ในปี พ.ศ. 2566 พบว่าความรอบรู้สุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี ร้อยละ 70.42 และพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ 2ส อยู่ในระดับพอใช้ ร้อยละ 60.57 ผลการวิเคราะห์ปัจจัยสาเหตุพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยง พบว่าปัจจัยนำ เกิดจากขาดความตระหนัก ขาดความรู้ที่จำเป็นในการเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ การไม่ออกกำลังกายหรือไม่รู้วิธีการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับตนเอง ปัจจัยเอื้อ เกิดจากสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการบริโภคมากขึ้น ร้านอาหาร ร้านขายข้าวแกง ร้านสะดวกซื้อ และร้านขายเครื่องดื่ม น้ำชา กาแฟ มีเพิ่มขึ้น หาซื้อง่ายและราคาถูกจึงไม่ต้องเสียเวลามาประกอบอาหารรับประทานเอง และไม่มีสถานที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ และสถานที่ไม่เอื้อต่อการออกกำลังกาย(กลุ่มสตรี) ปัจจัยเสริมเกิดจาก งานเลี้ยงสังสรรค์ งานบุญต่างๆ งานประเพณี การโฆษณาจากสื่อต่างๆ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขไม่สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพของประชาชนได้ครอบคลุมทุกกลุ่มวัย ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อให้มีพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ 2ส ที่ดีขึ้น และป้องกันไม่ให้กลุ่มเสี่ยงเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานลดลง

14.03 10.00
2 เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

56.23 80.00
3 เพื่อเพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน

ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

65.00 80.00
4 เพื่อเพิ่มการใช้ประโยชน์พื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

60.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 15 คน ๆละ 30 บาทเป็นเงิน 450 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้คณะทำงานกำหนดแนวทาง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
450.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมเชิงปฏิบัตการ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การรับประทานอาหารและ ออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร-ประเมินภาวะสุขภาพ-.ให้ความรู้และฝึกทักษะเรื่องอาหาร-การบันทึกข้อมูลการ รับประทานอาหาร-นาฬิกาชีวิต-คู่บัดดี้ป้องกันโรค การออกกำลังกาย

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเชิงปฏิบัตการ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การรับประทานอาหารและ ออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร-ประเมินภาวะสุขภาพ-.ให้ความรู้และฝึกทักษะเรื่องอาหาร-การบันทึกข้อมูลการ รับประทานอาหาร-นาฬิกาชีวิต-คู่บัดดี้ป้องกันโรค การออกกำลังกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมเชิงปฏิบัตการ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การรับประทานอาหารและ ออกกำลังกาย
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 60 คน มื้อๆละ 30 บาทจำนวน 2 มื้อเป็นเงิน 3,600 บาท
- อาหารกลางวัน 60 คน ๆละ 60 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 3,600 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากร1คน ช.ม.ๆละ 600บาท จำนวน 6 ชม.เป็นเงิน 3,600 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์อาหารสาธิต เป็นเงิน 3,000 บาท -ค่าป้ายโครงการ 750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ และ ทักษะ ในการดูแลตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14550.00

กิจกรรมที่ 3 กำหนดข้อตกลงชุมชนและประกาศใช้

ชื่อกิจกรรม
กำหนดข้อตกลงชุมชนและประกาศใช้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กำหนดข้อตกลงชุมชนและประกาศใช้
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 60 คน มื้อๆละ 30 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 3,600บาท
- อาหารกลางวัน 60 คน ๆละ 60 บาท จำนวน 1 มื้อเป็นเงิน 3,600บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากร1คน ชม.ละ 600 บาท จำนวน 6ชม. เป็นเงิน 3,600บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ข้อตกลงเพื่อการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในกลุ่มเป้าหมายเพื่อพื้นที่การใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะใรการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน เพื่อให้คนในชุมชนมีการบริโภคอาหารที่เหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10800.00

กิจกรรมที่ 4 การติดตามประเมินผล และถอดบทเรียน

ชื่อกิจกรรม
การติดตามประเมินผล และถอดบทเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 60 คน มื้อๆละ 30 บาทจำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 3,600บาท
  • อาหารกลางวัน 60 คน ๆละ 60 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 3,600บาท
  • ค่าสมนาคุณวิทยากร1คน ชม.ละ 600บาท 6ชม. เป็นเงิน 3,600บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะทำงานได้สรุปผลการถอกบทเรียน การประเมินติดตามเพื่อเป็นแบบขยายผลไปสู่ชุมชนอื่นต่อไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 36,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>