กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกายและการบริโภคอาหารในกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ตำบลยามู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ปี 2567
รหัสโครงการ 67-L8284-02-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข
วันที่อนุมัติ 2 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 36,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางแวสปีนะ มะมิง
พี่เลี้ยงโครงการ นางวรรณาพร บัวสุวรรณ
พื้นที่ดำเนินการ กลุ่มเสียงในเขตเทศบาลยะหริ่ง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
14.03
2 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)
56.23
3 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน
65.00
4 ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน
60.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่ออันเกี่ยวเนื่องมาจากพฤติกรรมและวิถีชีวิตมีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการมีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง ทั้งการกิน การนอน การพักผ่อน การออกกำลังกาย และการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปตามความเจริญของโลกโรคเบาหวานติดอันดับ 1 ในปัญหาสาธารณสุขของโรงพยาบาลยะหริ่ง ในปี พ.ศ.2563-2566 โรงพยาบาลยะหริ่ง มีผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน 2959.96, 3060.58, 3082.08 และ 3333.90 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ และมีผู้ป่วยรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ปี พ.ศ. 2563-2566คิดเป็นร้อยละ 0.67, 0.68, 0.81 และ 1.47 ตามลำดับ (ข้อมูลจาก HDC 6 กรกฎาคม 2566) และผลการสำรวจพฤติกรรมของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน พบว่า มีพฤติกรรมที่เสี่ยงทำให้เกิดโรค ได้แก่ การบริโภคอาหารหวาน(เครื่องดื่มที่มีรสหวาน เช่น น้ำหวาน น้ำอัดลม เป็นต้น) และมัน (อาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารทอด แกงกะทิ เนื้อติดมัน เป็นต้น) ร้อยละ 73.00, 60.60ผลการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมตามหลัก 3อ 2ส ของกลุ่มวัยทำงาน อายุ 15-59 ปี จำนวน 60 คน ในปี พ.ศ. 2566 พบว่าความรอบรู้สุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี ร้อยละ 70.42 และพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ 2ส อยู่ในระดับพอใช้ ร้อยละ 60.57 ผลการวิเคราะห์ปัจจัยสาเหตุพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยง พบว่าปัจจัยนำ เกิดจากขาดความตระหนัก ขาดความรู้ที่จำเป็นในการเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ การไม่ออกกำลังกายหรือไม่รู้วิธีการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับตนเอง ปัจจัยเอื้อ เกิดจากสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการบริโภคมากขึ้น ร้านอาหาร ร้านขายข้าวแกง ร้านสะดวกซื้อ และร้านขายเครื่องดื่ม น้ำชา กาแฟ มีเพิ่มขึ้น หาซื้อง่ายและราคาถูกจึงไม่ต้องเสียเวลามาประกอบอาหารรับประทานเอง และไม่มีสถานที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ และสถานที่ไม่เอื้อต่อการออกกำลังกาย(กลุ่มสตรี) ปัจจัยเสริมเกิดจาก งานเลี้ยงสังสรรค์ งานบุญต่างๆ งานประเพณี การโฆษณาจากสื่อต่างๆ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขไม่สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพของประชาชนได้ครอบคลุมทุกกลุ่มวัย ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อให้มีพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ 2ส ที่ดีขึ้น และป้องกันไม่ให้กลุ่มเสี่ยงเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานลดลง

14.03 10.00
2 เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

56.23 80.00
3 เพื่อเพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน

ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

65.00 80.00
4 เพื่อเพิ่มการใช้ประโยชน์พื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

60.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 36,600.00 0 0.00
1 มี.ค. 67 - 30 เม.ย. 67 ประชุมคณะทำงาน 0 450.00 -
1 เม.ย. 67 - 31 พ.ค. 67 ประชุมเชิงปฏิบัตการ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การรับประทานอาหารและ ออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร-ประเมินภาวะสุขภาพ-.ให้ความรู้และฝึกทักษะเรื่องอาหาร-การบันทึกข้อมูลการ รับประทานอาหาร-นาฬิกาชีวิต-คู่บัดดี้ป้องกันโรค การออกกำลังกาย 0 14,550.00 -
1 เม.ย. 67 - 31 พ.ค. 67 กำหนดข้อตกลงชุมชนและประกาศใช้ 0 10,800.00 -
1 พ.ค. 67 - 31 ส.ค. 67 การติดตามประเมินผล และถอดบทเรียน 0 10,800.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถดูแลตนเองตามหลัก 3อ2ส ได้อย่างถูกต้อง และเป็นแบบอย่างในการส่งเสริมสุขภาพให้กับชุมชนได้
  2. ประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้
  3. อัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานรายใหม่ จากกลุ่มเสี่ยงลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 พ.ย. 2566 15:30 น.