กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองพัทลุง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการดูแลสุขภาพจิตและสุขภาพกายแก่ผู้ต้องขังรักษาอาการทางจิตในเรือนจำกลางพัทลุง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองพัทลุง

เรือนจำกลางพัทลุง

เรือนจำกลางพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้ต้องขังที่รักษาอาการทางจิตภายในเรือนจำกลางพัทลุง

 

100.00
2 เรือนจำกลางพัทลุงมีผู้ต้องขังที่รักษาอาการทางจิตเวช โดยจิตแพทย์ได้วินิจฉัยและให้การบำบัดรักษาด้วยยาและการบำบัดรักษาด้วยจิตบำบัดภายในเรือนจำ จำนวน 100 ราย ซึ่่งมีผู้ต้องขังปล่อยตัวและเข้าใหม่ทุกๆวัน

 

100.00

เรือนจำกลางพัทลุงเป็็นหน่วยงานกระทรวงยุติธรรม ทำหน้าที่ควบคุมผู้ต้องขังที่กระทำความผิด จากจำนวนผู้ต้องขังที่เข้ามาภายในเรือนจำส่วนหนึ่งเป็นผู้ต้องขังที่รักษาจิตเวชมาก่อนเข้าเรือนจำ และมีผู้ต้องขังที่มีอาการผิดปกติทางจิตมีพฤติกรรม อารมณ์ ความคิด ผิดปกติ วุ่นวาย ขณะความคุมตัว สถิติข้อมูลผู้ต้องขังที่รักษาบำบัดอาการทางจิตภายในเรือนจำ ตั้งแต่ปี 2565, 2566 ,2567 มีจำนวน 55,90,100 ราย สถานพยาบาลเรือนจำจึงขอจัดทำโครงการการส่งเสริมสุขภาพจิต และสุขภาพกายในการดูแลตนเองแก่ผู้ต้องขังในเรือนจำกลางพัทลุง เพื่อให้ผู้ต้องขังที่รักษาบำบัดอาการทางจิตมีความรู้ในการดูแลตนเองในด้านจิตใจและสุขภาพกาย และมีความเข้าใจในแนวทางการดูแลรักษาตนเอง ผ่อนคลายความตึงเครียด ลดอาการกำเริบกลับมาเป็นซ้ำ มีความมั่นใจในการกลับไปใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับครอบครัว บุคคลอื่น และสังคมภายนอกได้ และลดการออกไปก่อคดีและเหตุการณ์ภายนอกที่มา่จากการขาดความรู้เรื่องการรับประทานยาบำบัดรักษาอาการทางจิต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ต้องขังที่รักษาอาการทางจิตไม่มีอาการกำเริบ

ร้อยละ 80

100.00 90.00
2 เพื่อให้ผู้ต้องขังรับประทานยาต่อเนื่อง และทานยาต่อเนื่องได้ถุกต้อง

ร้อยละ 80

100.00 90.00
3 เพื่อให้ผู้ต้องขังที่รักษาอาการทางจิตมีความรู้ในการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละ 80

100.00 90.00
4 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมมีความรู้ในการเตียมความพร้อมก่อนพ้นโทษ

80

100.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 04/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมวางแผนการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมวางแผนการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ทีมเจ้าหน้าที่สถานพยาบาลประชุมวางแผนการดำเนินโครงการ ประชุมวางแผนการดำเนินงาน
1.อาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 5 ชุดๆละ 20 บาท รวมเป็นเงิน 100 บาท ค่าใช้จ่ายสามารถถัวเฉลี่ยกันได้ทุกรายการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 เมษายน 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อวางแผนเตรีมความพร้อมในการจัดโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
100.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมคัดกรองสุขภาพจิตและสุขภาพกาย กลุ่มผู้ต้องขังที่รักษาอาการจิตเวช

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมคัดกรองสุขภาพจิตและสุขภาพกาย กลุ่มผู้ต้องขังที่รักษาอาการจิตเวช
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมประเมินคัดกรองสภาวะสุขภาพจิต โดยใช้แบบประเมิน 2Q,9Q,8Q และแบบคัดกรองโรคจิต คัดกรองตรวจสุขภาพกายในด้านการดูแลสุขลักษณะร่างกาย กายดูแลตนเอง วัสดุอุปกรณ์ 1.กระดาษ A4 2 รีม
2.ค่าถ่ายเอกสารแบบคัดกรองสุขภาพจิต 2Q,8Q,9Q และแบบคัดกรองโรคจิต จำนวน 200 แผ่น
3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มเจ้าหน้าที่และ อสรจ.อาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำ ดำเนินการคัดกรอง 10 ชุดๆ ละ 20บาท200 บาท

ค่าใช้จ่ายสามารถถัวเฉลี่ยกันได้ทุกรายการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีวัสดุอุปกรณ์ใช้งาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
640.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้ เรื่อง รู้จักอาการของโรคทางจิตเวช และการดูแลสุขภาพจิตและสุขภาพกาย

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ เรื่อง รู้จักอาการของโรคทางจิตเวช และการดูแลสุขภาพจิตและสุขภาพกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าวิทยากรภายนอก/ภายใน จำนวน 5 ชม.ๆ ละ ชม.ละ 250 บาท รวมเป็นเงิน 1250 บาท
2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มวิทยากร เจ้าหน้าที่สถานพยาบาล และอาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำจำนวน 10 คน ชุดละ 20 บาท 3.ค่าสมุด 100 เล่ม
4.ปากกาเคมีสีน้ำเงิน 10 ด้าม
5.กระดาษบรู๊ฟ ขนาด 31*43 จำนวน 30 แผ่น
6.กระดาษ A4 สี2 รีม

ค่าใช้จ่ายสามารถถัวเฉลี่ยกันได้ทุกรายการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีอุปกรณ์ในการดำเนินการอบรมและดำเนินกิจกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2490.00

กิจกรรมที่ 4 อบรมให้ความรู้ เรื่อง เทคนิคการผ่อนคลายความเครียด เทคนิคการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม และกิจกรรมศิลปะบำบัด

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ เรื่อง เทคนิคการผ่อนคลายความเครียด เทคนิคการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม และกิจกรรมศิลปะบำบัด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าตอบแทนวิทยากรภายนอก/ภายใน จำนวน 5 ชม.ๆ 250 บาท รวมเป็นเงิน 1250 บาท
2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มวิทยากร เจ้าหน้าที่สถานพยาบาล และอาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำจำนวน 10 ชุดๆละ 20 บาท รวมเป็นเงิน 200 บาท
3.สีไม้ 36 สี 5 กล่อง 4.ดินสอ 100 ด้าม 5.ยางลบ 50 แท่น
6.กาวน้ำ7 ขวด
7.กระดาษโปสเตอร์สี 2หน้า ขนาด52*77ซม. คละสี จำนวน 40 แผ่น
8.กรรไกร 2 ด้าม
9.กาวสองหน้าแบบบาง 1 ชิ้น

ค่าใช้จ่ายสามารถถัวเฉลี่ยกันได้ทุกรายการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 มิถุนายน 2567 ถึง 30 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีวัสดุอุปกรณ์ใช้ 1.มีความรู้ในการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตและสุขภาพกาย มีความเข้าใจในการรักษาดูแลต่อเนื่องและก่อนและหลังพ้นโทษ 2.มีความรู้ในการดุแลสุขลักษณะของตนเอง 3.มีความรู้ในการดูแลและรับประทานยาต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3270.00

กิจกรรมที่ 5 ติดตามผลหลังการดำเนินโครงการ 1 เดือน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามผลหลังการดำเนินโครงการ 1 เดือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประเมินความรู้หลังอบรม แบบประเมินความรูัหลังอบรม

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ติดตามผลการดำเนินการ 1เดือน เพื่อทบทวนความรู้และคัดกรองอาการ ไม่ใช่อุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 6,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ต้องขังที่รัก่ษาอาการทางจิตไม่มีอาการทางจิตกำเริบ
2.ผู้ต้องขังที่เข้าร่วมมีความรู้ในการรับประทานยาจิตเวชที่ถูกต้อง
3.ผู้ต้องขังมีความรู้ในการดูแลสุขภาพจิตและสุขภาพกาย
4.ผูัต้องขังมีความพร้อมในก่อนปล่อยตัวพ้นโทษ
ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถนำความรู้ไปปฎิบัติใช้กับตนเองด้านการดูแลสุขภาพจิตและการดูแลสุขภาพกาย ลดอัตราอาการจิตเวชกำเริบ เพื่อเตรียมพร้อมก่อนปล่อยตัวพ้นโทษในการดูแลตนเอง


>