กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการป้องกันโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

นายเอกนันท์ มะหะหมัด นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ
นายอาแว ยูไฮ นักวิชาการสาธารณสุข โทร.086-9566586
นางสุนีย์ ดือราแม นักวิชาการสาธารณสุชชำนาญการ
นายฮานิ ดาโอ๊ะ นักวิชาการสาธารณสุข

เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกเดงกี (Dengue fever: DF) นับเป็นโรคอุบัติใหม่ เมื่อพบการระบาดที่กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2501 ภายหลังจากระบาดที่มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ พ.ศ. 2496 - 2497มีจำนวนผู้ป่วยประมาณ 2,000 กว่าราย และมีอัตราป่วยตายสูงถึงร้อยละ 14 ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ซึ่งโรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขของประเทศไทย มียุงลายบ้านเพศเมียเป็นพาหะนำโรค และในชนบทบางพื้นที่จะมียุงลายสวนเป็นพาหะนำโรคร่วมกับยุงลายบ้าน มักพบในประเทศเขตร้อนและระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี มีการแพร่กระจายของเชื้ออย่างกว้างขวาง โดยสาเหตุของโรคไข้เลือดออกมาจากเชื้อไวรัสเดงกี ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 4 สายพันธุ์ คือ DENV-1, DENV-2, DENV-3, DENV-4 เมื่อยุงลายตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่มีระยะไข้สูงซึ่งมีไวรัสอยู่ในกระแสเลือด เชื้อไวรัสจะเข้าสู่กระเพาะยุงและเพิ่มจำนวน จากนั้นเดินทางเข้าสู่ต่อมน้ำลาย และเมื่อยุงลายที่มีเชื้อกัดคนทำให้เกิดอาการของโรค ผู้ป่วยจะมีไข้สูง มีผื่น แดงตามร่างกาย อาจมีอาการคัน ตาแดง ท้องเดิน คลื่นไส้อาเจียน และชัก ส่วนใหญ่เด็กมีอาการน้อยกว่าผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่จะมีอาการปวดข้อ อาจพบข้ออักเสบและมีอาการปวดนานเป็นเดือนหรือเป็นปี ซึ่งผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกที่เคยได้รับเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใดจะมีภูมิคุ้มกันเฉพาะสายพันธุ์นั้น หากได้รับเชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่ต่างออกไปจากครั้งแรกก็สามารถเป็นไข้เลือดออกได้อีก และโดยทั่วไปอาการของโรคในครั้งที่สองมักจะรุนแรงกว่าครั้งแรก เนื่องจากไม่มีภูมิต้านทานต่อเชื้อไวรัสสายพันธุ์นั้นๆ สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการระบาด ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร การขยายตัวของชุมชนเมืองและ การคมนาคมที่สะดวกขึ้น ทำให้การแพร่กระจายของโรคไข้เลือดออกเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ทำให้มีอัตราการเสียชีวิตของคนจากโรคติดต่อเพิ่มขึ้นทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ จนไปถึงผู้สูงอายุ
ผลจากการดำเนินงานภายใต้แผนงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อนำโดยยุงลาย ได้มีการจัดทำรายงานสถานการณ์โรคติดต่อนำโดยยุงลายเป็นประจำทุกสัปดาห์ โดยในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2561-2565 พบว่า มีจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสูงสุดในปีพ.ศ. 2562 คือ 131,157 ราย และลดลงตามลำดับ ซึ่งในปี พ.ศ. 2565 มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 37,515 ราย อัตราป่วย 58.82 ต่อประชาชนแสนคน เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2564 มากกว่าถึง 4 เท่า และมีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต 25 ราย อัตราป่วยตายร้อยละ 0.07 ต่อประชากรแสนคน โดยสถานการณ์โรคตั้งแต่ 1 มกราคม – 16 พฤศจิกายน 2566 มีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 127,838 ราย อัตราป่วย 193.31 ต่อประชากรแสนคน และมีรายงานผู้เสียชีวิต 170 ราย อัตราป่วยตายร้อยละ 0.11 และจังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด 10 อับดับแรก คือ กทม. เชียงราย เชียงใหม่ สงขลา ชลบุรี อุบลราชธานี ระยอง สุรินทร์ นครราชสีมา และจันทบุรี ตามลำดับ สำหรับภาคใต้ มีจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกปัจจุบัน ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 16 พฤศจิกายน 2565 พบว่า มีจำนวนผู้ป่วย 20,638 ราย อัตราป่วย 217.36 ต่อประชาชนแสนคน เสียชีวิต 42 ราย อัตราป่วยตายร้อยละ 0.20 ต่อประชากรแสนคน โดยจังหวัดที่มีผู้ป่วยมากที่สุดในภาคใต้ 5 จังหวัด ได้แก่ สงขลา นครศรีธรรมราช ปัตตานี นราธิวาส และยะลา
จากข้อมูลข้างต้น พบว่า ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 9 พฤศจิกายน 2566 จังหวัดนราธิวาสมีจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกจำนวนจำนวน 1,506 ราย อัตราป่วย 185.49 ต่อประชากรแสนคน จำนวนผู้เสียชีวิต 3 ราย อัตราป่วยตายร้อยละ 0.20 อยู่ในลำดับจังหวัดที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกเป็นอันดับที่ 4 ของเขต12สำหรับพื้นที่อำเภอสุไหงโก-ลก มีจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 191 ราย อัตราป่วย 247.41 ต่อประชากรแสนคน แยกเป็นรายตำบลที่พบการระบาดมากที่สุด ได้แก่ ตำบลปูโยะ ตำบลปาเสมัส ตำบลมูโนะ และตำบลสุไหงโก-ลก อัตราป่วย 339.53, 338.14, 236.99, และ 189.11 ต่อประชาชนแสนคน ตามลำดับ เมื่อพิจารณาจากการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลสุไหงโก-ลก ซึ่งเป็นตำบลที่มีขนาดใหญ่ บ้านเรือนที่ประชากรอาศัยอยู่มีลักษณะอยู่ชิดติดกันทั้งชุมชน ที่ผ่านมาได้ดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ แต่จากผลการดำเนินการยังไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ กล่าวคือ ยังคงมีการระบาดของโรคไข้เลือดออก และแนวโน้มการระบาดที่มากขึ้นในแต่ละปี ดังนั้น มาตรการที่สำคัญที่ใช้ในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ได้ผลดีนั้น คือการตัดวงจรการแพร่ระบาดของโรค โดยการกำจัดแหล่งโรค จะช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค และป้องกันบุคคลไม่ให้ติดเชื้อหรือเกิดโรค การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย เป็นกลวิธีที่มีบทบาทสำคัญ เนื่องจากเป็นการกระตุ้นเตือนบุคคลในชุมชน ในการตระหนักและเห็นถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหา ชุมชนร่วมปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยและบริเวณข้างเคียง พร้อมแนะนำให้ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมในการป้องกันโรคไข้เลือดออก ร่วมลงพื้นที่ในการป้องกันโรค ให้สุขศึกษา จะทำให้การป้องกันและควบคุมโรคได้ผลดียิ่งขึ้นและยั่งยืน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วย และอัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออก

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงไม่เกินร้อยละ 50

57.00 50.00
2 เพื่อให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันไข้เลือดออก

ผลสำเร็จของหมู่บ้านหรือชุมชนที่เข้าร่วมโครงการสามารถจัดกระบวนการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก 1 ชุมชน

0.00 1.00
3 เพื่อส่งเสริมให้อาสาสมัครประจำบ้านมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้น

อาสาสมัครประจำบ้านมีความรู้เพิ่มขึ้น มากกว่าร้อยละ80

50.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ตัวแทนจาก รพ., ตัวแทนจากเทศบาล, อสม., ประธานชุมชน 30

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 31/07/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดเวทีพัฒนารูปแบบการดำเนินงานควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน จำนวน 1 ชุมชน

ชื่อกิจกรรม
จัดเวทีพัฒนารูปแบบการดำเนินงานควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน จำนวน 1 ชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย ตัวแทนจาก รพ., ตัวแทนจากเทศบาล, อสม., ประธานชุมชน จำนวน 30 คน รายละเอียดกิจกรรม - ประชุมเชิงปฏิบัติการเตรียมความพร้อมในการทำโครงการ โดยใช้กิจกรรม AIC แก่ตัวแทนจาก รพ., ตัวแทนจากเทศบาล, อสม., ประธานชุมชน กำหนดการ 08.30 น. – 08.45 น. ลงทะเบียน 08.46 น. – 09.00 น. พิธีเปิดโครงการ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก 09.01 น. – 12.00 น. กิจกรรม AIC โดยวิทยากร นายณรงค์ โต๊ะปิ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงจังหวัดนราธิวาส - ขั้นตอนการสร้างความรู้ (Appreciation : A) A1 : การวิเคราะห์สภาพการของหมู่บ้าน ชุมชน ในปัจจุบัน A2 : การกำหนดอนาคตหรือวิสัยทัศน์ อันเป็นภาพพึงประสงค์ในการพัฒนาว่าต้องการอย่างไร - ขั้นตอนการสร้างแนวทางการพัฒนา (Influence : I) I1 : การคิดเกี่ยวกับกิจกรรมโครงการที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ I2 : การจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรม โครงการ 12.01 น. – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.01 น. – 16.00 น. กิจกรรม AIC โดยวิทยากร นายณรงค์ โต๊ะปิ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงจังหวัดนราธิวาส (ต่อ) - ขั้นตอนการสร้างแนวทางปฏิบัติ (Control : C) C1 : การแบ่งความรับผิดชอบ C2 : การตกลงใจในรายละเอียดของการดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติ 16.01 น. ปิดโครงการ งบประมาณ 1. ค่าอาหารกลางวัน 40 คน x 60 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 2,400 บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 40 คน x 30 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 2,400 บาท 3. ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน x 600 บาท x 6 ชม. เป็นเงิน 3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • มีการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน จำนวน 1 ชุมชน
  • ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมประชุม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8400.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 อบรมอาสาสมัครประจำบ้านกำจัดลูกน้ำยุงลาย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 อบรมอาสาสมัครประจำบ้านกำจัดลูกน้ำยุงลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย อาสาสมัครประจำบ้าน 70 คน รายละเอียดกิจกรรม - อบรมให้ความรู้โรคไข้เลือดออก แก่อาสาสมัครประจำบ้าน กำหนดการ 08.00 น. – 08.30 น.ลงทะเบียน 08.31 น. – 08.45 น. พิธีเปิดโครงการ นายกเทศมนตรีเมืองสุไหงโก-ลก 08.46 น. – 09.00 น. บททดสอบความรู้ก่อนอบรม 09.01 น. – 12.00 น. กิจกรรมอบรมให้ความรู้โรคไข้เลือดออก วิทยากรโดยนายณรงค์ โต๊ะปิ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงจังหวัดนราธิวาส 12.01 น. – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.01 น. – 16.00 น. กิจกรรมอบรมให้ความรู้โรคไข้เลือดออก วิทยากรโดยนายณรงค์ โต๊ะปิ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงจังหวัดนราธิวาส (ต่อ) 16.01 น. – 16.15 น. สรุปผลการจัดอบรม 16.16 น. – 16.30 น. บททดสอบความรู้หลังอบรม และประเมินความพึงพอใจ งบประมาณ 1. ค่าอาหารกลางวัน 70 คน x 60 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 4,200 บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 70 คน x 30 บาท x 2 มื้อเป็นเงิน 4,200 บาท 3. ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน x 600 บาท x 6 ชม. เป็นเงิน 3,600 บาท 4. ค่าไฟฉายพร้อมถ่าน 70 กระบอก x 150 บาท เป็นเงิน 10,500 บาท 5. ค่าทรายอะเบท 1 ถัง เป็นเงิน 6,000 บาท 6. ค่าวัสดุที่ใช้ในการอบรม ได้แก่ ปากกา สมุด แฟ้ม ฯลฯ เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • เกิดอาสาสมัครประจำบ้านกำจัดลูกน้ำยุงลาย
  • ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
29500.00

กิจกรรมที่ 3 ประชุมถอดบทเรียน (AAR)

ชื่อกิจกรรม
ประชุมถอดบทเรียน (AAR)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประชุมถอดบทเรียนให้แก่ ตัวแทนจาก รพ., ตัวแทนจากเทศบาล, อสม., ประธานชุมชน กำหนดการ 08.30 น. – 08.45 น.ลงทะเบียน 08.46 น. – 09.00 น. พิธีเปิดโครงการ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก 09.01 น. – 11.00 น.กิจกรรมถอดบทเรียน โดย หัวหน้างานควบคุมโรคและระบาดวิทยา โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก 11.01 น. – 12.00 น. วางแผนโครงการปีงบประมาณ 2567 งบประมาณ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คน x 30 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 1,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • เกิดกระบวนการถอดบทเรียน (AAR) จากกิจกรรมที่ดำเนินการ
  • ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมประชุม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 39,400.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ลดอัตราป่วย และอัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออก
2. มีภาคีเครือข่ายในการควบคุมป้องกันไข้เลือดออก เกิดความร่วมมือระหว่างประชาชน องค์กรและหน่วยงานในท้องถิ่น ในการดำเนินกิจกรรมกำจัดลูกน้ำยุงลายในพื้นที่อำเภอสุไหงโก-ลก
3. อาสาสมัครประจำบ้านมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้น


>