กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก รพ.สต.บ้านตรับ ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตรับ

นาย อะซาน สมหวัง

พื้นที่ดำเนินการทั้ง 5 หมู่ ประกอบด้วย หมู่ที่ 2 บ้านตุหรง หมู่ที่ 3 บ้านปลักปลิง หมู่ที่ 4 บ้านขุนทอง หมู่ 9 บ้านตรับเหนือ หมู่ 11 บ้านตรับใต้

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออก ยังเป็นสาเหตุการป่วยที่สำคัญของพื้นที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตรับ ตำบลจะโหนงเนื่องจากสภาพภูมิประเทศทางภูมิศาสตร์ที่เอื้อต่อการแพร่กระจายของโรค และประชากร วัยเรียน และวัยทำงาน ในพื้นที่มีการเคลื่อนย้าย เพื่อประกอบการประกอบอาชีพ จากรายงานย้อนหลัง 5 ปี ปี 2561 พบ 5 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 131.32 ต่อแสนประชากร ปี 2562 พบ 4 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 108.45 ต่อแสนประชากร ปี 2563 พบ 3 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 78.95 ต่อแสนประชากร ปี 2564 – 2565 ไม่พบผู้ป่วย และปี 2566 พบ 21 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 602.76ต่อแสนประชากร แยกเป็นหมู่ที่ 2 จำนวน 4 ราย หมู่ 3 จำนวน 4 ราย หมู่ 4 จำนวน 5 ราย หมู่ 9 จำนวน 6 ราย หมู่ 11 จำนวน 2 รายโดยปี 2567 ตอนนี้ มีผู้ป่วย ทั้งหมด 8 ราย แยกเป็น หมู่ 9 จำนวน 4 ราย หมู่ 2 จำนวน 1 ราย และหมู่ที่ 11 จำนวน 2 ราย ซึ่งตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข อัตราป่วยต้องไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร ดังนั้นการป้องกันที่ควบคุมอย่างทันทีและมีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตรับ จึงจัดทำโครงการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในชุมชน เพื่อลดอัตราป่วยของโรค ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ส่งเสริมการดำเนินงานทีม SRRT ให้เข้มแข็ง มีวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ ในการควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากเครื่องพ่นหมอกควันที่ใช้อยู่มีอายุใช้งานมาประมาณ 10 ปี มีการชำรุดไปตามสภาพด้วยโครงการนี้จึงได้จัดทำทั้งการประชาสัมพันธ์ และการปรับปรุงสิ่งแวดล้อม และจัดซื้ออุปกรณ์ เพื่อให้การดำเนินงานควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้พี่น้องประชาชนมีความปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ลดอัตราป่วยของโรคไข้เลือดออก อัตราป่วยของโรคไข้เลือดออก ไม่เกินร้อยละ 10 ต่อแสนของประชากร
  • อัตราป่วยของโรคไข้เลือดออก ไม่เกินร้อยละ 10 ต่อแสนประชากร
  • พบผู้ป่วยน้อยลง
  • ค่า hi น้อยกว่าร้อยล่ะ 10
  • ค่า ci น้อยกว่าร้อยล่ะ 10
60.00 10.00
2 ลดอัตราป่วยตายของโรคไข้เลือดออก
  • อัตราป่วยตายของโรคไข้เลือดออกเป็นศูนย์
60.00 10.00
3 - เพื่อไม่ให้มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่
  • การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ลดน้อยลง
60.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/03/2024

กำหนดเสร็จ 31/12/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมทีมงานควบคุมโรค

ชื่อกิจกรรม
ประชุมทีมงานควบคุมโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมเจ้าหน้าที่ สาธารณสุขในตำบลจะโหนงร่วมกับทีมอสม. วางแผนดำเนินงาน

• ค่าอาหารว่าง 25 คน จำนวน 1 มื้อๆ ล่ะ 25 บาท 6 ครั้ง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 27 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการแบ่งทีม และ กำหนดวางแผนหน้าที่การทำงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3750.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรม Big cleaning day 5 หมู่บ้าน (กรณีในพื้นที่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 2 รายขึ้นไป) หมู่ละ 20 คน x 5 หมู่บ้าน = 100 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม Big cleaning day 5 หมู่บ้าน (กรณีในพื้นที่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 2 รายขึ้นไป) หมู่ละ 20 คน x 5 หมู่บ้าน = 100 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ถุงดำ ขนาด 24 x 28 จำนวน 10 แพ็ค x 80 เป็นเงิน 800 บาท
  • ค่าอาหารว่าง 25 บ. x 100 คน x 1 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท
  • แผ่นพับให้ความรู้ 300 ชุด x 5 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
  • ป้ายไวนิล ประชาสัมพันธ์ ขนาด 1.2 x 2.4 ม. จำนวน 2 ชิ้น เป็นเงิน 1,000 บาท
  • โลชั่น 300 ซอง x 5 บาท รวมป็นเงิน 1500 บาท
  • ค่าน้ำมันดีเซล 60 ลิตร ลิตรล่ะ 31 บาท รวมเป็นเงิน 1860 บาท
  • น้ำมันเบนซิน 30 ลิตร ลิตรล่ะ 46 บาท รวมเป็นเงิน 1380 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มีนาคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10540.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมพ่นหมอกควัน กรณีมีผู้ป่วยไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมพ่นหมอกควัน กรณีมีผู้ป่วยไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าจ้างพ่นหมอกควัน ผู้ป่วยไข้เลือดออก 30 ราย พ่น 2 ครั้ง ครั้งล่ะ 300 เป็นเงิน 18,000 บาท
  • ค่าน้ำยาพ่นหมอกควัน จำนวน 4 ขวด ขวดละ 1,500 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
  • ค่าทรายฟอสเฟส จำนวน 4 ถัง ถังละ 4,000 บาท เป็นเงิน 16,000 บาท
  • ค่าสเปรย์พ่นกำจัดยุง จำนวน 100 กระป๋อง กระป๋องละ 100 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท
  • ค่าโลชั่นทากันยุง จำนวน 100 ซองซองละ 6 บาท เป็นเงิน 600 บาท
  • น้ำมันเบนซิน จำนวน 80 ลิตร x 45 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  • น้ำมันโซล่าร์ จำนวน 240 ลิตร x 36 เป็นเงิน 8,640

  • ผู้ป่วย 1 ราย (เฉลี่ย 50 หลังคาเรือน) พ่น 2 ครั้ง ใช้น้ำมันโซล่าร์ 30 ลิตร

  • ผู้ป่วย 1 ราย พ่น 2 ครั้ง ใช้น้ำมันเบนซิน 8 ลิตร
ระยะเวลาดำเนินงาน
8 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ลดการเสียชีวิต ไม่พบการระบาดเพิ่มในพื้นที่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
56840.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 71,130.00 บาท

หมายเหตุ :
***ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้***

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ในเรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกที่ถูกต้อง
- ไม่พบอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกรายใหม่ในทุกกลุ่มอายุ
- ความชุกชุมของลูกน้ำยุงลายของหลังคาเรือนมีค่า HI ไม่เกิน 10 ให้มีค่า CI เท่ากับ 0
- ชุมชนและหน่วยงานทุกภาคส่วนมีความตระหนักถึงอันตรายของยุงลายและโรคไข้เลือดออกและมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
- ไม่พบลูกน้ำยุงลายในพื้นที่


>