กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมผู้สูงวัยตำบลคลองขุด ใส่ใจสุขภาพกายและจิต

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด (สาขา)

ชื่อองค์กรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด (สาขา)
1. นางสาวบุปผาพนมคุณ หัวหน้าหน่วยบริการ.รพ.สต.คลองขุด(สาขา) 090-0743814
2. นางกรรณิการ์ปานทอง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ 086-9609808
3. นางสาวปิยวรรณแสงทอง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ 062-6464052
4. นางสาววินีตา ประทีปวัฒนพันธ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ 063-5366514
5. นางสาวอาภาสูสัน นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ 084-3009446

หมู่ที่ 3,4 และ 7 ตำบลคลองขุด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีกลุ่มหรือสังกัดชมรม

 

8.24

ประเทศไทยเข้าสู่ “สังคมสูงอายุ” (Aged Society) ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ กล่าวคือ มีประชากรอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๑๐ ของประชากรทั้งประเทศ และเพิ่มเป็นร้อยละ ๑๕ ของประชากรทั้งประเทศ เมื่อสิ้นปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ที่ผ่านมา คาดว่าประเทศไทยจะมีประชากรสูงอายุสูงถึงร้อยละ ๒๐ ใน พ.ศ.๒๕๖๔ กลายเป็น “สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์” (complete aged society) จากการสำรวจของกรมอนามัย (๒๕๕๖) พบว่าทำให้ประชากรผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านปริมาณและสัดส่วนต่อประชากรอันเนื่องมาจากการพัฒนาด้านสาธารณสุขและทางการแพทย์ ทำให้อัตราการตายลดลง ผู้สูงอายุจึงมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น แต่ผู้สูงอายุก็ได้รับผลกระทบจากการเสื่อมถอยของร่างกายตามวัย รวมทั้งผลของโรคเรื้อรังและอุบัติเหตุ จึงนำไปสู่ความถดถอยของร่างกายและจิตใจจนเกิดภาวะพึ่งพิง ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้หรือช่วยเหลือตัวเองได้น้อย หรืออาจมีอาการสมองเสื่อม จนเกิดภาวะทุพพลภาพในที่สุดสิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุดำเนินชีวิตอย่างไม่มีความสุข ผู้สูงอายุจึงควรได้รับการดูแลทั้งด้านร่างกายและจิตใจจากคนรอบข้าง และผู้สูงอายุเองจำเป็นต้องให้ความสนใจดูแลสุขภาพตนเองให้สมบูรณ์แข็งแรงมีคุณภาพชีวิตที่ดี ป้องกันการเกิดโรคต่างๆ รวมทั้งฟื้นฟูสุขภาพเมื่อมีภาวะของโรค และควบคุมให้ภาวะของโรคเหล่านั้นมีอาการคงที่ ไม่กำเริบรุนแรงหรือเสื่อมถอยมากกว่าเดิม ทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่า สามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคม และมีความสุขในบั้นปลายของชีวิต
เทศบาลตำบลคลองขุดมีประชากรทั้งหมด ๒๐,๕๓๒ คน พบว่ามีผู้สูงอายุในพื้นที่หมู่ที่ ๓, ๔ และ ๗ ตำบลคลองขุด จำนวน ๑,๖๘๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๘.๒๑ ของประชากรทั้งหมด (ข้อมูลจากทะเบียนราษฎร์ เทศบาลตำบลคลองขุด ณ เดือนตุลาคม ๒๕๖๖) จากการตรวจประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธล เอดีแอล โดยหน่วยบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด (สาขา) พบผู้สูงอายุที่มีคะแนนเอดีแอล ๑๒-๒๐ คะแนน (ติดสังคม) จำนวน ๑,๖๔๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๘.๐๓ ผู้สูงอายุที่มีคะแนนเอดีแอล ๕-๑๑ คะแนน (ติดบ้าน) จำนวน ๒๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๐.๑๑ ผู้สูงอายุที่มีคะแนนเอดีแอล ๐-๔ คะแนน (ติดเตียง) จำนวน ๑๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๐.๐๖
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด (สาขา)จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมผู้สูงวัยตำบลคลองขุด ใส่ใจสุขภาพกายและจิต ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ขึ้น เพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในตำบลคลองขุด ได้รับการตรวจประเมินภาวะสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ผู้สูงอายุเกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงและพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี ป้องกันการเกิดโรค รวมทั้งฟื้นฟูสภาพเมื่อมีภาวะเจ็บป่วย ทั้งนี้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่าย จะต้องร่วมมืออย่างจริงจังและต่อเนื่องในการเตรียมความพร้อมให้ผู้สูงอายุทุกคนตลอดจนบุคคลในครอบครัวและชุมชน เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้มีอายุขัยที่ยืนยาวขึ้น มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ อันนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้สามารถดำรงชีวิตอยู่กับครอบครัว บุตรหลาน และสังคมได้อย่างปกติสุขและมีสุขภาพสมบูรณ์ตามควรแก่วัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มการเข้าร่วมกลุ่ม/ชมรม ของผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุมีกลุ่มหรือสังกัดชมรม เพิ่มขึ้น

8.24 34.26

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 144
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมและคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ (ติดสังคม)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมและคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ (ติดสังคม)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๖. จัดกิจกรรมอบรมและคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ (ติดสังคม) ประกอบด้วย ๖.๑ กิจกรรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพกายและจิตแก่ผู้สูงอายุในเรื่องการส่งเสริมและดูแลสุขภาพร่างกาย การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสภาพร่างกายของผู้สูงอายุ การดูแลสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ ๖.๒ กิจกรรมคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ (ติดสังคม) โดยเจ้าหน้าที่และ อสม.คัดกรองสุขภาพกายและจิตผู้สูงอายุตามแบบ (Basic Geriatric Screening ,BGS) การดูแลสุขภาพตนเอง เพื่อป้องกันโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ข้อเข่าเสื่อมและกระดูกพรุน และโรคสมองเสื่อม เป็นต้น ๖.๓ กิจกรรมคัดกรองผู้สูงอายุที่มีพฤติกรรมพึงประสงค์ ๖.๔ กิจกรรมคัดกรองผู้สูงอายุ ๙ ด้าน ประกอบด้วย ด้านความคิดความจำ ด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย ด้านขาดสารอาหาร ด้านการมองเห็น ด้านการได้ยิน ด้านภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ด้านการกลั้นปัสสาวะ ด้านการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และด้านสุขภาพช่องปาก
๖.๔ กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลตนเองอย่างมีคุณภาพและการอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมผู้สูงอายุและครอบครัวรวมทั้งพูดคุยรูปแบบจัดตั้งและดำเนินงานชมรมผู้สูงอายุและเครือข่ายในชุมชน งบประมาณ
๑.  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับคณะทำงาน เพื่อประชุมชี้แจงโครงการ จำนวน ๒๕ คน ๆ ละ ๓๐ บาท จำนวน ๑ มื้อ รวมเป็นเงิน ๗๕๐ บาท ๒.  อาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน ๗๒ ชุด ๆ ละ ๓๐ บาท จำนวน ๒ มื้อ จำนวน ๒ วัน เป็นเงิน  ๘,๖๔๐ บาท ๓.  อาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน ๗๒ คน ๆ ละ ๗๐ บาท จำนวน ๑ มื้อ จำนวน ๒ วัน เป็นเงิน ๑๐,๐๘๐ บาท ๔.  อาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับคณะทำงาน เพื่อประชุมสรุปผลงาน  จำนวน ๒๕ คน ๆ ละ ๓๐ บาท จำนวน ๑ มื้อ รวมเป็นเงิน ๗๕๐ บาท ๕.  ค่าตอบแทนวิทยากรในการบรรยาย จำนวน ๔ คน ๆ ละ ๒ ชั่วโมง ๆ ละ ๖๐๐ บาท เป็นเงิน ๔,๘๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต ๑.  ผู้สูงอายุ (ติดสังคม) ได้รับการคัดกรองภาวะสุขภาพกายและสุขภาพจิตตามแบบประเมินคัดกรองภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ
๒.  ผู้สูงอายุ (ติดสังคม) มีความรู้และทักษะการดูแลสุขภาพกายและจิตของตนเองเบื้องต้นได้อย่างเหมาะสม ๓.  ผู้สูงอายุ (ติดสังคม) ได้รับการตรวจคัดกรองผู้สูงอายุที่มีพฤติกรรมพึงประสงค์
๔.  ผู้สูงอายุ (ติดสังคม) ได้รับการคัดแยกกลุ่มเสี่ยงที่เฝ้าระวังภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ และกลุ่มที่ส่งต่อผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพเพื่อเข้ารับการรักษาที่ทันท่วงที ๕.  ผู้สูงอายุ (ติดสังคม) มีปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และตระหนักถึงความสำคัญในการอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมผู้สูงอายุและครอบครัว

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25020.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,020.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณต่าง ๆ สามารถถัวจ่ายกันได้ตามการจ่ายจริงกิจกรรมสถานที่และเวลา สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลผลิต
๑. ผู้สูงอายุ (ติดสังคม) ได้รับการคัดกรองภาวะสุขภาพกายและสุขภาพจิตตามแบบประเมินคัดกรองภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ
๒. ผู้สูงอายุ (ติดสังคม) มีความรู้และทักษะการดูแลสุขภาพกายและจิตของตนเองเบื้องต้นได้อย่างเหมาะสม
๓. ผู้สูงอายุ (ติดสังคม) ได้รับการตรวจคัดกรองผู้สูงอายุที่มีพฤติกรรมพึงประสงค์
๔. ผู้สูงอายุ (ติดสังคม) ได้รับการคัดแยกกลุ่มเสี่ยงที่เฝ้าระวังภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ และกลุ่มที่ส่งต่อผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพเพื่อเข้ารับการรักษาที่ทันท่วงที
๕. ผู้สูงอายุ (ติดสังคม) มีปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และตระหนักถึงความสำคัญในการอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมผู้สูงอายุและครอบครัว


>