กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโรง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์และป้องกันโรคไอกรน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโรง

โครงการรณรงค์และป้องกันโรคไอกรน

ตำบลปุโรง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไอกรนเป็นโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ ทำให้มีการอักเสบของเยื่อบุทางเดินหายใจ และเกิดอาการไอ ที่มีลักษณะพิเศษคือ ไอซ้อนๆ ติดๆ กัน 5-10 ครั้ง หรือมากกว่านั้นจนเด็กหายใจไม่ทัน จึงหยุดไอและมีอาการหายใจเข้าลึกๆ เป็นเสียง วู๊ป (Whooping cough) สลับกันไปกับการไอเป็นชุดๆ จึงมีชื่อเรียกว่า “โรคไอกรน” บางครั้งอาการอาจจะเรื้อรังนานเป็นเวลา 2-3 เดือน โรคไอกรนเป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่ายจากการไอ จาม รดกันโดยตรง ผู้สัมผัสโรคที่ไม่มีภูมิคุ้มกันจะติดเชื้อและเกิดโรคเกือบทุกราย โรคนี้พบได้บ่อยในเด็ก ส่วนใหญ่ติดเชื้อมาจากผู้ใหญ่ในครอบครัว ซึ่งมีการติดเชื้อแต่ไม่มีอาการ (carrier) หรือมีอาการไม่มาก โรคไอกรนเป็นได้กับทารกตั้งแต่เดือนแรก ทั้งนี้ เนื่องจากภูมิคุ้มกันจากแม่ผ่านมายังลูกไม่ได้หรือได้น้อยมาก ในเด็กเล็กอาการจะรุนแรงมากและมีอัตราตายสูง ส่วนใหญ่ของผู้ที่มีอาการรุนแรงและเสียชีวิต เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปีและเป็นเด็กที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนโดยทั่วไปแล้วโรคนี้เป็นได้ทุกอายุ ถ้าไม่มีภูมิคุ้มกัน แต่ในวัยหนุ่มสาวหรือผู้ใหญ่อาจไม่มีอาการ หรือไม่มีอาการแบบไอกรนส่วนใหญ่จึงไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไอกรน
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา ได้จัดเก็บข้อมูลผู้ป่วยไอกรนที่มีแนวโน้นเพิ่มขึ้นในจังหวัดยะลา ตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม ๒๕๖๗ ถึงปัจจุบัน มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว จำนวนผู้ป่วยไอกรนมากสุดอำเภอบันนังสตา จำนวน ๔๔ ราย อำเภอเมืองยะลา จำนวน ๒๗ ราย อำเภอธารโต จำนวน ๒๓ ราย อำเภอกาบัง จำนวน ๒๐ ราย อำเภอยะหา จำนวน ๑๒ ราย อำเภอเบตง ๙ ราย ส่วนอำเภอรามันและอำเภอกรงปินัง จำนวนอำเภอละ 5 ราย ส่วนใหญ่พบผู้ป่วยไอกรนในเด็กอายต่ำกว่า 9 ปี
องค์การบริหารส่วนตำบลปุโรง มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัด จำนวน 4 ศูนย์ มีนักเรียนทั้งหมด จำนวน 103 คน ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัยเตาะแตะ 29 คน, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปุโรง 35 คน, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตะโล๊ะปานะ 28 คน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านลูโบ๊ะกาโล 11 คนดังนั้นเพื่อเป็นการควบคุม ป้องกันและระงับการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ตามอำนาจหน้าที่แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 มาตรา 67 (3) ป้องกันและระงับโรคระบาดงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลปุโรงจึงได้จัดทำโครงการรณรงค์และป้องกันโรคไอกรนขึ้น เพื่อเพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไอกรน การปฏิบัติตนในการป้องกันโรค และลดอัตราการเจ็บป่วยโรคติดต่อที่ส่งผลต่อสุขภาพที่ดีของประชาชนในชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไอกรน การปฏิบัติตนในการป้องกันโรค

ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไอกรน การปฏิบัติตนในการป้องกันโรค

0.00
2 เพื่อลดอัตราการเจ็บป่วยโรคติดต่อ ที่ส่งผลต่อสุขภาพที่ดีของประชาชนในชุมชน

อัตราการเจ็บป่วยโรคติดต่อที่ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนในชุมชนลดลง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 103
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 160
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 29/01/2024

กำหนดเสร็จ 29/02/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรม ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 750 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
2 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 2 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
750.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรม อบรมให้ความรู้ผู้ปกครองนักเรียนเพื่อป้องกันโรคไอกรน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม อบรมให้ความรู้ผู้ปกครองนักเรียนเพื่อป้องกันโรคไอกรน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ จำนวน 1 ป้าย ขนาด 1.40 x 3.00 เมตร เป็นเงิน 1,050 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 4 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 130 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 9,100 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 130 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 3,250 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
5 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 5 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15800.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรม รณรงค์ประชาสัมพันธ์เชิงรุกและสร้างภูมิคุ้มกันโรคไอกรนด้วยวัคซีน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม รณรงค์ประชาสัมพันธ์เชิงรุกและสร้างภูมิคุ้มกันโรคไอกรนด้วยวัคซีน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ ขนาด A4 (กระดาษอาร์ตมัน) หนาไม่น้อยกว่า 170 กรัม พิมพ์ข้อความอักษรพื้นหลัง 4 สี จำนวน 200 ฉบับๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
6 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรม ประชุมติดตามและประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม ประชุมติดตามและประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,550.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไอกรน การปฏิบัติตนในการป้องกันโรค
2. อัตราการเจ็บป่วยโรคติดต่อที่ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนในชุมชนลดลง


>