กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์และป้องกันโรคไอกรน
รหัสโครงการ 67-L4113-05-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลปุโรง
วันที่อนุมัติ 18 กันยายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 29 มกราคม 2567 - 29 กุมภาพันธ์ 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 21,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลเลาะห์ หะยีสามะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปุโรง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 103 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 160 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไอกรนเป็นโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ ทำให้มีการอักเสบของเยื่อบุทางเดินหายใจ และเกิดอาการไอ ที่มีลักษณะพิเศษคือ ไอซ้อนๆ ติดๆ กัน 5-10 ครั้ง หรือมากกว่านั้นจนเด็กหายใจไม่ทัน จึงหยุดไอและมีอาการหายใจเข้าลึกๆ เป็นเสียง วู๊ป (Whooping cough) สลับกันไปกับการไอเป็นชุดๆ จึงมีชื่อเรียกว่า “โรคไอกรน” บางครั้งอาการอาจจะเรื้อรังนานเป็นเวลา 2-3 เดือน โรคไอกรนเป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่ายจากการไอ จาม รดกันโดยตรง ผู้สัมผัสโรคที่ไม่มีภูมิคุ้มกันจะติดเชื้อและเกิดโรคเกือบทุกราย โรคนี้พบได้บ่อยในเด็ก ส่วนใหญ่ติดเชื้อมาจากผู้ใหญ่ในครอบครัว ซึ่งมีการติดเชื้อแต่ไม่มีอาการ (carrier) หรือมีอาการไม่มาก โรคไอกรนเป็นได้กับทารกตั้งแต่เดือนแรก ทั้งนี้ เนื่องจากภูมิคุ้มกันจากแม่ผ่านมายังลูกไม่ได้หรือได้น้อยมาก ในเด็กเล็กอาการจะรุนแรงมากและมีอัตราตายสูง ส่วนใหญ่ของผู้ที่มีอาการรุนแรงและเสียชีวิต เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปีและเป็นเด็กที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนโดยทั่วไปแล้วโรคนี้เป็นได้ทุกอายุ ถ้าไม่มีภูมิคุ้มกัน แต่ในวัยหนุ่มสาวหรือผู้ใหญ่อาจไม่มีอาการ หรือไม่มีอาการแบบไอกรนส่วนใหญ่จึงไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไอกรน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา ได้จัดเก็บข้อมูลผู้ป่วยไอกรนที่มีแนวโน้นเพิ่มขึ้นในจังหวัดยะลา ตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม ๒๕๖๗ ถึงปัจจุบัน มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว จำนวนผู้ป่วยไอกรนมากสุดอำเภอบันนังสตา จำนวน ๔๔ ราย อำเภอเมืองยะลา จำนวน ๒๗ ราย อำเภอธารโต จำนวน ๒๓ ราย อำเภอกาบัง จำนวน ๒๐ ราย อำเภอยะหา จำนวน ๑๒ ราย อำเภอเบตง ๙ ราย ส่วนอำเภอรามันและอำเภอกรงปินัง จำนวนอำเภอละ 5 ราย ส่วนใหญ่พบผู้ป่วยไอกรนในเด็กอายต่ำกว่า 9 ปี องค์การบริหารส่วนตำบลปุโรง มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัด จำนวน 4 ศูนย์ มีนักเรียนทั้งหมด จำนวน 103 คน ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัยเตาะแตะ 29 คน, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปุโรง 35 คน, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตะโล๊ะปานะ 28 คน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านลูโบ๊ะกาโล 11 คนดังนั้นเพื่อเป็นการควบคุม ป้องกันและระงับการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ตามอำนาจหน้าที่แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 มาตรา 67 (3) ป้องกันและระงับโรคระบาดงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลปุโรงจึงได้จัดทำโครงการรณรงค์และป้องกันโรคไอกรนขึ้น เพื่อเพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไอกรน การปฏิบัติตนในการป้องกันโรค และลดอัตราการเจ็บป่วยโรคติดต่อที่ส่งผลต่อสุขภาพที่ดีของประชาชนในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไอกรน การปฏิบัติตนในการป้องกันโรค

ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไอกรน การปฏิบัติตนในการป้องกันโรค

0.00
2 เพื่อลดอัตราการเจ็บป่วยโรคติดต่อ ที่ส่งผลต่อสุขภาพที่ดีของประชาชนในชุมชน

อัตราการเจ็บป่วยโรคติดต่อที่ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนในชุมชนลดลง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 21,550.00 0 0.00
2 ก.พ. 67 กิจกรรม ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินงาน 0 750.00 -
5 ก.พ. 67 กิจกรรม อบรมให้ความรู้ผู้ปกครองนักเรียนเพื่อป้องกันโรคไอกรน 0 15,800.00 -
6 - 28 ก.พ. 67 กิจกรรม รณรงค์ประชาสัมพันธ์เชิงรุกและสร้างภูมิคุ้มกันโรคไอกรนด้วยวัคซีน 0 5,000.00 -
29 ก.พ. 67 กิจกรรม ประชุมติดตามและประเมินผล 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไอกรน การปฏิบัติตนในการป้องกันโรค
  2. อัตราการเจ็บป่วยโรคติดต่อที่ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนในชุมชนลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2567 16:57 น.