กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการโรงเรียนบ้านตะโละใสปลอดขยะ ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

โรงเรียนบ้านตะโละใส

1.นายเกษม สะหมัดหานาย ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน

2.นางสาวสุไรม๊ะ อุศมาตำแหน่ง รองผู้อำนวยการโรงเรียน

3. นางยุภา เพียรสกุลตำแหน่ง ครู คศ.3

4. นายประดิษฐ์ โสะเต่งตำแหน่งครู คศ.1

5. นายสราวุธ งะสมันตำแหน่ง ครูพี่เลี้ยงเด็กพิการ

โรงเรียนบ้านตะโละใส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานมลพิษจากสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้สนับสนุนการดำเนินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) ริเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ๒๕๕๖ จนถึงปัจจุบันนั้น ถือได้ว่าเป็นโครงการที่ดีอีกโครงการหนึ่งที่จะส่งเสริมให้สถานศึกษาทั่วประเทศ

 

0.00

หลักการและเหตุผล
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้สนับสนุนการดำเนินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) ริเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ๒๕๕๖ จนถึงปัจจุบันนั้น ถือได้ว่าเป็นโครงการที่ดีอีกโครงการหนึ่งที่จะส่งเสริมให้สถานศึกษาทั่วประเทศ ดำเนินกิจกรรม ลด คัดแยก และนำกลับขยะมาใช้ประโยชน์ รวมถึงการรวบรวมขยะ เอาส่งไปกำจัดอย่างถูกต้อง ปลูกฝังจิตสำนึก การลด คัดแยกขยะ และนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ในสถานศึกษา สร้างกระบวนการเรียนรู้แก่ผู้เรียนผ่านกิจกรรมต่างๆ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้เรียนในการจัดการขยะ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหน่วยงานหลัก ที่เกี่ยวข้องในการสร้างพลเมืองที่มีคุณภาพในการให้ความรู้ สร้างเจตคดี นำไปสู่การมีความตระหนักและมีจิตสำนึกที่ดีในด้านการจัดการขยะ น้ำเสีย มลพิษทางอากาศ พลังงานและอนุรักษ์ความหลากหลายทางธรรมชาติ โดยมีเป้าหมายเชิงนโยบาย ให้ทุกโรงเรียนทั่วประเทศ ดำเนินการเรื่องการสร้างวินัยด้านการจัดการขยะ น้ำเสีย มลพิษทางอากาศ
โรงเรียนบ้านตะโละใส เป็นโรงเรียนขนาดกลาง มีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 574 คน ปัญหาขยะมูลฝอยภายในโรงเรียนนั้นเกิดจากฝีมือมนุษย์สร้างขึ้นและเกิดจากธรรมชาติ ซึ่งสร้างมลพิษและปัญหาให้กับทางโรงเรียนได้แก่ เศษใบไม้จากต้นไม้ เศษวัชพืชที่มีอยู่ในแปลงเกษตรหรือตาม โคนต้นไม้ต่างๆ จนเกิดการสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก บางครั้งมีมากไม่รู้จะกําจัดอย่างไรจึงปล่อยให้แห้งและเผา ซึ่งเป็นการทำลายชั้นบรรยากาศอาจส่งผลต่อการเกิดภาวะโลกร้อนได้ ขยะที่เกิดจากการทิ้งของคนในชุมชน ที่เข้าไปใช้บริการเล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมต่างๆ ภายในโรงเรียนในช่วงตอนเย็นของวันจันทร์-ศุกร์ หรือวันหยุดเสาร์อาทิตย์ เพราะบางครั้งจุดตั้งถังขยะอยู่ไกลมือจึงไม่สามารถนําไปทิ้งที่ถังขยะได้ เลยทิ้งไว้บริเวณที่ทำกิจกรรมแทน ทำให้สร้างภาระให้กับนักเรียนต้องเก็บทำความสะอาด เศษอาหารหรือเศษเปลือกผลไม้ในโครงการอาหารกลางวันที่นักเรียนรับประทานไม่หมดจนเหลือทิ้งและจากการจัดทำผลไม้ที่เป็นอาหารเสริมให้กับนักเรียนซึ่งผลไม้บางชนิดต้องปอกเปลือกรับประทานเศษเปลือกที่เหลือนําไปทิ้งโดยเปล่าประโยชน์ กล่องนม UHT หรือถุงนมพาสเจอร์ไรส์จากโครงการอาหารเสริมของโรงเรียน ถุงพลาสติกที่ใช้แล้วซึ่งมาจากจากการใส่สิ่งของจากนักเรียนหรือจากบุคลากรภายในโรงเรียน เศษวัสดุเหลือใช้จากคนในชุมชนหรือผู้ปกครองนักเรียน ซึ่งชุมชนหรือผู้ปกครองมองไม่เห็นคุณค่าทิ้งลงถัง จากปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบให้โรงเรียนบ้านตะโละใสมีขยะที่เกิดจากธรรมชาติและเกิดจากที่มนุษย์สร้างขึ้น จึงได้ร่วมกันวางแผนดำเนินการแก้ไขปัญหา โดยจัดทำโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) ขึ้นที่บูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการบริหารจัดการขยะให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น ผ่านการร่วมมือกับ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะครู ผู้ปกครอง และนักเรียน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เด็กนักเรียนระดับชั้นอนุบาลจนถึงระดับประถมศึกษา มีความเข้าใจในการคัดแยกขยะแต่ละประเภท การนำขยะกลับมาใช้ใหม่ การทำสื่อการเรียนการทำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ ปรับปรุงภูมทัศน์ให้น่าอยู่

เด็กนักเรียนระดับชั้นอนุบาลจนถึงระดับชั้นประถมศึกษา มีความรู้ความเข้าใจ และเล็งเห็นความสําคัญ ในเรื่องการลด การคัดแยกขยะ การนําขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้
ผู้ปกครองเด็กนักเรียนระดับชั้นอนุบาลจนถึงระดับชั้นประถมศึกษา มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องขยะมากขึ้น ทั้งการทำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 32
สภานักเรียน 15
เครือข่ายผู้ปกครองนักเรียน 110

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมการจัดการขยะครู และบุคลากรทางการศึกษา สภานักเรียน และเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านตะโละใส

ชื่อกิจกรรม
อบรมการจัดการขยะครู และบุคลากรทางการศึกษา สภานักเรียน และเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านตะโละใส
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าตอบแทนวิทยากร วันที่ 1จำนวน 5 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 1 คนรวม 3,000บาท

2.ค่าอาหารเที่ยง อาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับคุณครู บุคลากรทางการศึกษา และสภานักเรียน ที่เข้าร่วมอบรม

ค่าอาหารเที่ยงจำนวน 80 คน คนละ 80 บาท จำนวน 1 มื้อ รวม 6,400 บาท

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน80คน จำนวน 2 มื้อๆละ 25 บาทรวม 4,000 บาท

3 ค่าตอบแทนวิทยากร วันที่ 2 จำนวน 5 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน1 คนรวม 3,000 บาท

4 ค่าอาหารเที่ยง อาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียน

ค่าอาหารเที่ยงจำนวน 77คน คนละ 80บาท จำนวน 1มื้อ รวม 6,160 บาท

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 77 คน จำนวน 2 มื้อๆละ 25 บาท รวม 3,850บาท

รวมเงิน 26,410

กำหนดการจัดกิจกรรมโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School)

“กิจกรรม อบรมการจัดการขยะ ครูและบุคลากรทางการศึกษา

สภานักเรียน และเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านตะโละใส”

ณ อาคารอเนกประสงค์โรงเรียนบ้านตะโละใส

08.30-08.50 น.- ครูบุคลากรสภานักเรียนและเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียนลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม

โดยพร้อมเพรียงกัน ณ อาคารอเนกประสงค์โรงเรียนบ้านตะโละใส

08.50-09.00 น.- พิธีเปิด

09.00-10.00 น.- วิทยากรบรรยายและให้ความรู้เรื่องประเภทของขยะ

10.00-10.15 น.- พักรับประทานอาหารว่าง

10.15-12.15 น.- วิทยากรบรรยายและให้ความรู้เรื่องการลดการคัดแยกขยะ

12.15-13.15 น.- พักรับประทานอาหารกลางวันและปฏิบัติศาสนกิจ

13.15-14.45 น.- วิทยากรบรรยายและให้ความรู้เรื่องการนำขยะกลับมาใช้ใหม่

14.45-15.00 น.-- พักรับประทานอาหารว่าง

15.00-15.30 น.- วิทยากรบรรยายและให้ความรู้เรื่องการนำขยะกลับมาใช้ใหม่ (ต่อ)

15.30-16.00 น.-กิจกรรมสรุปผลและสะท้อนผล

16.00-16.30 น. - พิธีปิด

หมายเหตุ กำหนดการนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

การอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะ และการใช้ประโยชน์ จากขยะในรูปแบบต่างๆ กับผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้คุณครู และบุคลากรทางการศึกษา

นักเรียน และเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านตะโละใส

ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลด การคัดแยกขยะ และการนําขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่เพื่อให้โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่

ร่มรื่นสวยงาม ปลอดขยะ และมีบรรยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26410.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการประกวดสิ่งประดิษฐ์จากเศษวัสดุเหลือใช้ นำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ ผลิตสื่อการเรียน การสอนและผลิตปุ๋ยชีวภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการประกวดสิ่งประดิษฐ์จากเศษวัสดุเหลือใช้ นำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ ผลิตสื่อการเรียน การสอนและผลิตปุ๋ยชีวภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กระดาษการ์ดขาว จำนวน 3 ห่อๆละ 120 บาท รวม 360 บาท

กระดาษ A4 จำนวน 2 รีมๆ ละ 150 บาท รวม 300 บาท

กากน้ำตาล ขนาด 5 ลิตร จำนวน 5 แกลลอนแกลอนละ 100 บาท รวม 500 บาท

EM หัวเชื้อจุลินทรีย์ ขนาด 1 ลิตร จำนวน 5 ขวด ขวดละ 100 บาท รวม 500 บาท

ภาชนะหมักปุ๋ยชีวภาพ ถังพลาสติก 120ลิตร จำนวน 3 ถังถังละ 360 บาท รวม1,080บาท

สมุดเบอร์ 2 จำนวน 5 เล่ม (ทำบัญชี + คุมทะเบียนเกียรติบัตร) รวม 250บาท

รวมเงิน 2,990 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กิจกรรมการประกวดสิ่งประดิษฐ์จากเศษวัสดุเหลือใช้ นำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ ผลิตสื่อการเรียน การสอนและผลิตปุ๋ยชีวภาพเพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนในระดับประถมศึกษาชั้นอนุบาล 2 – ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนได้แสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์ ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดร่วมกัน ซึ่งส่งผลในการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์และการเผยแพร่ความรู้ในอนาคต รวมทั้งยังได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2990.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมคัดแยกขยะ ลดขยะอินทรีย์ กินอาหาร ให้หมดไม่เหลือเศษอาหาร

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมคัดแยกขยะ ลดขยะอินทรีย์ กินอาหาร ให้หมดไม่เหลือเศษอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตะแกรงคัดแยกขยะ 5 ชุด นาด100x100x60 เซนติเมตร ชุดละ 2,000 บาท รวม 10,000บาท
รวมเงิน 10,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

การจัดการขยะมูลฝอย ของเสียอันตรายและมูลฝอยติดเชื้ออย่างจากการจัดเก็บขยะมูลฝอยในบริเวณโรงเรียนพบว่ามีปริมาณขยะมูลฝอยเพิ่มขึ้นทุกปี โดยขยะมูลฝอยที่รถจัดเก็บขยะนำไปกำจัดนั้นประกอบด้วย ขยะอินทรีย์ ได้แก่ เศษอาหาร เศษผัก ผสไม้ ขยะรึไชเคิล ได้แก่ ขวดแก้ว ขวดน้ำพลาสติก กล่องนม น้ำผลไม้ ฯลฯ ขยะอันตราย ได้แก่ หลอดไฟแบบถ่านไฟฉาย กระป๋องสเปรย์ๆ และขยะทั่วไป ได้แก่ ถุงพลาสติก โฟม ถุงขนม ฯลฯ ส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักคัดแยกขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทางในระดับครูและบุคลากรทางการศึกษา ต่อยอดไปจนถึงผู้ปกครอง และนักเรียนทุกคนในชุมชน ลดค่าใช้จ่ายในการจ้างเหมากำจัดขยะมูลฝอย พร้อมทั้งเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 4 ธนาคารขยะ

ชื่อกิจกรรม
ธนาคารขยะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ถังพลาสติก 50 ลิตร22 ใบๆ ละ 150 บาท รวม 3,300บาท

ตาชั่ง 5 ก.ก. 1 เครื่องรวม 630 บาท

โรงพักขยะ 1 หลัง ขนาด 10 ตารางเมตร รวม 10,000บาท

รวมเงิน 13,930 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จัดหาสถานที่ ที่ใช้ในการจัดเก็บขยะรีไซเคิลก่อนนำไปขาย ยึดหลักว่าเป็นสถานที่ที่สามารถเก็บรวบรวมขยะรีไซเคิลได้ ป้องกันแดดฝนได้ ถ้ามีพื้นที่เพียงพอควรแยก ประเภทขยะรีไซเคิลอย่างชัดเจน เป็นช่องสำหรับขยะรีไซเคิลแต่ละประเภท เช่น แก้ว โลหะ/อโลหะ พลาสติก กระดาษ เป็นต้น ในกรณีที่ไม่มีสถานที่เก็บรวบรวม สามารถใช้วิธีการรับฝากตอนเช้า และให้ร้านรับซื้อของเก่ามารับซื้อในเวลาที่กำหนด แลกเปลี่ยนค่าตอบแทนเป็นเงินสดหรือวัสดุอุปกรณ์ที่หลากหลาย เพื่อสร้างแรงจูงใจให้แก่นักเรียนและผู้ที่มาติดต่อรับบริการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13930.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมที่ 5 แปลงสาธิตเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการนำปุ๋ยชีวภาพจากกิจกรรมผลิตปุ๋ยชีวภาพมาใช้ประโยชน์ ซึ่งทางโรงเรียนมีแปลงสาธิตการเกษตรอยู่แล้ว

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 5 แปลงสาธิตเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการนำปุ๋ยชีวภาพจากกิจกรรมผลิตปุ๋ยชีวภาพมาใช้ประโยชน์ ซึ่งทางโรงเรียนมีแปลงสาธิตการเกษตรอยู่แล้ว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 53,330.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ครู เครือข่ายผู้ปกครองและนักเรียน มีความรู้เรื่องการลด การคัดแยกขยะ และการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่

2. นักเรียนเห็นความสำคัญ สามารถปฏิบัติการลด การคัดแยกขยะ และการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้

3. โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่ร่มรื่นสวยงาม ปลอดขยะ และมีบรรยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้


>