กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการดูแลสุขภาพกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังโรคเบาหวาน ตำบลหารเทา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

น.ส.สุชาดา สังข์สุวรรณ
น.ส.สุมิตา สาเส็ม
นายพงษ์สิทธิ์ คงนวล
นายกรมทรัพย์ ภูลี
นางแน่งน้อย ทองราช

เทศบาลตำบลหารเทา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตำบลหารเทามี 11 หมู่บ้าน มีประชากรทั้งสิ้น 10,012 คน ชาย 4,985 คน ร้อยละ 49.79 หญิง 5,077คน ร้อยละ 50.68 จำนวนผู้สูงอายุ (60ปีขึ้นไป) 1,941คนคิดเป็นร้อยละ19.39 ของประชากรทั้งหมดชาย 845 คน ร้อยละ 43.53 หญิง 1,096คน ร้อยละ 56.47 เตรียมพร้อมสู่วัยสูงอายุ 50-59 1,469 คน ปี คิดเป็นร้อยละ75.68 ผู้สูงอายุ 60-69 ปี 466 คน คิดเป็นร้อยละ 24.02ผู้สูงอายุ 70-79 ปี 588 คน คิดเป็นร้อยละ30.29 ผู้สูงอายุ 80-89 ปี 887 คน คิดเป็นร้อยละ45.69 มีผู้สูงอายุติดบ้าน 400 คน คิดเป็นร้อยละ ผู้สูงอายุติดเตียงจำนวน92 คน ผู้สูงอายุที่ป่วยแต่ไปไหนมาไหนได้ 208 คน คิดเป็นร้อยละ 10.72 ผู้สูงอายุที่ไม่มีปัญหาการเจ็บป่วย 1,641 คน คิดเป็นร้อยละ 84.56 ผู้สูงอายุที่เป็นผู้พิการจำนวน 211 คน คิดเป็นร้อยละ 10.87 มีปัญหาซึมเศร้าในผู้สูงอายุ 186 คน คิดเป็นร้อยละ 9.58 มีประชากรเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน จำนวน1,325คิดเป็นร้อยละ13.23 โรควัณโรค คิดเป็นร้อยละ0.15 โรคความดันโลหิตสูง คิดเป็นร้อยละ5.92 โรคไตจำนวน คิดเป็นร้อยละ0.10
จากการประสานงานของ เครือข่ายสุขภาวะชุมชนตำบลหารเทาร่วมกับกลุ่มทำงานจิตอาสาในพื้นที่ ประกอบด้วย กลุ่มอสม.กลุ่มผู้สูงวัย และยุวชนต้นกล้า จำนวน 20 คนโดยกลุ่มผู้มีจิตอาสา ต้องการพัฒนาต่อยอดความรู้กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs ที่เกิดจากพฤติกรรมป้องกันได้ ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน จึงเห็นความจำเป็นในการให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับและเฝ้าระวังโรคเบาหวานทั้งการบริโภคอาหารเป็นยา และการนำสมุนไพรของในท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นสินค้าผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับสภาพผิวกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานกลุ่มผู้สูงวัยที่มีปัญหาด้านผิวหนัง ปัญหาผิวแพ้ง่ายโดยมีข้อมูลพื้นฐานจากการจัดเก็บฐานข้อมูลของชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายคือ กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังเบาหวานและผู้ดูแลในพื้นที่ตำบลหารเทาจำนวน 50 คน ได้รับความรู้ เพื่อฟื้นฟูสุขภาพร่างกายและการดูแลด้วยการเน้นการใช้อาหารเป็นยาและใช้ผลิตภัณฑ์ในการทำความสะอาดร่างกายที่เหมาะกับคนเป็นโรคเบาหวาน ตามการวินิจฉัยหรือข้อบ่งชี้ทางการแพทย์

กลุ่มเป้าหมายได้รับการดูแลที่ถูกต้องและสามารถใช้อาหารเป็นยาในการบรรเทาโรคได้

50.00 1.00
2 เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้าถึงข้อมูลที่ช่วยให้การใช้ชีวิตแบบรู้เท่าทันโรคและถูกต้องตามหลักสาธารณสุขตามความจำเป็น

กลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงข้อมูลการดูแลสุขภาพได้

50.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 20

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมสร้างความเข้าใจบทบาทหน้าที่ของคณะทำงาน  จำนวน 5 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดคณะทำงานที่สามารถดำเนินโครงการอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ จำนวน 5 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 2 กำหนดสำรวจกลุ่มเป้าหมาย และติดตามความคืบหน้าของกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
กำหนดสำรวจกลุ่มเป้าหมาย และติดตามความคืบหน้าของกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ลงพื้นที่สำรวจกลุ่มเป้าหมายคือ กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังกลุ่มเบาหวาน ตรวจวัดข้อมูลสุขภาพ -จัดทำประวัติสุขภาพกลุ่มเป้าหมาย -ตรวจสุขภาพกลุ่มเป้าหมาย เพื่อวินิจฉัยว่าต้องได้รับการฟื้นฟูร่างกายในด้านใดบ้าง -ติดตามผลสุขภาพของกลุ่มเป้าหมาย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดฐานข้อมูลสุขภาพกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังโรคเบาหวานที่เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 30 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9550.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังเบาหวานจากภายในสู่ภายนอก

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังเบาหวานจากภายในสู่ภายนอก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ให้สุขศึกษาเรื่องการดูแลอวัยวะในร่างกาย เพื่อป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อน -ดำเนินการให้ความรู้การฟื้นฟูสุขภาพร่างกายกลุ่มเป้าหมายที่มีผลการวินิจฉัย หรือข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ ตามแนวทางการดูแลจากภายในสู่กายภายนอก

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดชุดองค์ความรู้ ข้อมูลสุขภาพของโรคเรื้อรัง เบาหวาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26150.00

กิจกรรมที่ 4 รณรงค์ ประชาสัมพันธ์การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ ประชาสัมพันธ์การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ -ลงพื้นที่รณรงค์

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดสื่อประชาสัมพันธ์โรคเบาหวาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4650.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 41,350.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังเบาหวาน ได้รับการการดูแลสุขภาพที่จำเป็นด้วยการใช้อาหารเป็นยาและได้ใช้สบู่ที่เหมาะกับสภาพผิวของคนเป็นโรคเบาหวาน
2. ประชาชนกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังเบาหวานและผู้ดูแล มีความรู้เรื่องการกินและการดำเนินชีวิตประจำวันให้มีความสุขมากขึ้นด้วยการรู้เท่าทันโรคเบาหวานและสามารถป้องกันโรคที่เกิดแทรกซ้อน


>