กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโรง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน ตำบลปุโรง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโรง

โรงพยาบาลกรงปินัง

โรงพยาบาลกรงปินัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สังคมปัจจุบัน ที่มีการเผชิญกับเหตุการณ์วิกฤตหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก การสูญเสียทรัพย์สิน การปรับตัวต่อปัญหา ปัญหาการใช้สารเสพติด ปัญหาการใช้ความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งหากไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนและต่อเนื่อง มีโอกาสทำให้เกิดความชุกของปัญหาสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวชตามมาได้เช่น โรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ (PTSD) โรคจิตเภทโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล เป็นต้น ทั้งนี้ผู้ป่วยจิตเวชจัดเป็นผู้ป่วยเรื้อรังที่ต้องรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง และต้องอาศัยญาติผู้ดูแลเรื่องการรับประทานยาและการจัดการชีวิตประจำวันของผู้ป่วยทำให้ส่งผลกระทบต่อ การประกอบอาชีพ การขาดรายได้ และเกิดปัญหาทางด้านสุขภาพจิตของตนเองร่วมด้วย
อำเภอกรงปินังมีประชาชนเข้าถึงบริการทางด้านสุขภาพจิตและจิตเวช และได้รับการวินิจฉัยที่รวดเร็วและเพิ่มมากขึ้น จากสถิติผู้ป่วยมารับบริการโรงพยาบาลกรงปินังด้วยโรคทางจิตเวช ปี2566 พบว่า 2 อันดับโรคที่พบบ่อย ได้แก่ โรคจิตเภทและโรคซึมเศร้า ซึ่งจำนวนผู้ป่วยโรคจิตเภท ปี2566จำนวน 91 ราย จำนวนผู้ป่วยโรคซึมเศร้า 215ราย โดยพื้นที่ตำบลปุโรง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา มีจำนวนผู้ป่วยจิตเภท18ราย หมู่ที่ 1 จำนวน11 ราย หมู่ที่ 2 จำนวน2ราย หมู่ที่ 3 จำนวน2 ราย หมู่ที่ 4 จำนวน 3 รายและผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ปี2566 จำนวน 135 รายโดยพื้นที่ตำบลปุโรง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา มีจำนวนผู้ป่วยโรคซึมเศร้า 37 ราย หมู่ที่ 1 จำนวน18 ราย หมู่ที่ 2 จำนวน6 ราย หมู่ที่ 3 จำนวน6 ราย หมู่ 4 จำนวน 7ราย(ข้อมูลจาก HOSxP) ซึ่งปัญหาที่พบบ่อย ได้แก่ ไม่มีผู้ดูแลหลัก ผู้ป่วยขาดนัด ไม่รับประทานยาต่อเนื่อง รวมทั้งญาติและผู้ดูแลขาดความรู้ในเรื่องโรคทางจิตเวช กาดูแลและทักษะการสื่อสารที่เหมาะสม ตลอดจนผู้ป่วยไม่ตระหนักรู้ถึงอาการป่วยของตนเอง ขาดทักษะการจัดการความเครียดที่เหมาะสมและการใช้ชีวิตอยู่ในสังคมร่วมกับบุคคลอื่นได้อย่างปกติ
ทั้งนี้งานจิตเวชและยาเสพติด กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลกรงปินังได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว ของผู้ป่วยจิตเวชและเห็นถึงความสำคัญในการดูแลเชิงรุกในชุมชน การส่งเสริมสุขภาพจิตญาติผู้ดูแล การให้ความรู้ญาติที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคทางจิตเวช และการติดตามดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้ป่วยและลดภาระของญาติ ได้รับการยอมรับและสามารถอยู่ร่วมกันกับบุคคลอื่นในชุมชนได้ปกติ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังได้รับการดูแลติดตามในชุมชน

ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังได้รับการดูแลติดตามในชุมชน

55.00 30.00
2 เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและลดภาระของญาติ

ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

55.00 30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 65
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ญาติและผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวช 55
ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ผู้ป่วยจิตเภท 10

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจง แลกเปลี่ยนการดำเนินงานฝ่ายปกครองในพื้นที่และ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอสม กับทีมจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลกรงปินัง

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจง แลกเปลี่ยนการดำเนินงานฝ่ายปกครองในพื้นที่และ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอสม กับทีมจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลกรงปินัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน 27 คน x 70 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 1,890 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 27 คน x 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 1,350 บาท รวมเป็นเงิน 3,240 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3240.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโรคทางจิตเวช สัญญาณเตือนการฆ่าตัวตาย และการดูแลสุขภาพจิตตนเองแก่ญาติและผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวช

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโรคทางจิตเวช สัญญาณเตือนการฆ่าตัวตาย และการดูแลสุขภาพจิตตนเองแก่ญาติและผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวช
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 55 คน x 70 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน3,850 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 55 คน x 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 2,750 บาท
  • ค่าวิทยากร จำนวน 2 คน x 3 ชั่วโมง x 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
    รวมเป็นเงิน 10,200 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10200.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามเยี่ยมผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังที่มีความเสี่ยงในชุมชน (ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ผู้ป่วยโรคจิตเภท(SMIV) และผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงฆ่าตัวตาย) จำนวน 10 คน จำนวน 2 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเยี่ยมผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังที่มีความเสี่ยงในชุมชน (ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ผู้ป่วยโรคจิตเภท(SMIV) และผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงฆ่าตัวตาย) จำนวน 10 คน จำนวน 2 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 10 คน x 25 บาท x 3 ครั้ง เป็นเงิน 750 บาท รวมเป็นเงิน 750 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,190.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้ป่วยจิตเวชและญาติมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีความรู้ มีทักษะในการใช้ชีวิต ได้รับการยอมรับและสามารถอยู่ร่วมกันกับบุคคลอื่นในชุมชนได้ปกติ


>