กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน ตำบลปุโรง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
รหัสโครงการ 67-L4113-01-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลกรงปินัง
วันที่อนุมัติ 5 ตุลาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 14,190.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอิรฟาน หะยีอิแต
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลกรงปินัง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุขภาพจิต
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 65 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สังคมปัจจุบัน ที่มีการเผชิญกับเหตุการณ์วิกฤตหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก การสูญเสียทรัพย์สิน การปรับตัวต่อปัญหา ปัญหาการใช้สารเสพติด ปัญหาการใช้ความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งหากไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนและต่อเนื่อง มีโอกาสทำให้เกิดความชุกของปัญหาสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวชตามมาได้เช่น โรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ (PTSD) โรคจิตเภทโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล เป็นต้น ทั้งนี้ผู้ป่วยจิตเวชจัดเป็นผู้ป่วยเรื้อรังที่ต้องรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง และต้องอาศัยญาติผู้ดูแลเรื่องการรับประทานยาและการจัดการชีวิตประจำวันของผู้ป่วยทำให้ส่งผลกระทบต่อ การประกอบอาชีพ การขาดรายได้ และเกิดปัญหาทางด้านสุขภาพจิตของตนเองร่วมด้วย
อำเภอกรงปินังมีประชาชนเข้าถึงบริการทางด้านสุขภาพจิตและจิตเวช และได้รับการวินิจฉัยที่รวดเร็วและเพิ่มมากขึ้น จากสถิติผู้ป่วยมารับบริการโรงพยาบาลกรงปินังด้วยโรคทางจิตเวช ปี2566 พบว่า 2 อันดับโรคที่พบบ่อย ได้แก่ โรคจิตเภทและโรคซึมเศร้า ซึ่งจำนวนผู้ป่วยโรคจิตเภท ปี2566จำนวน 91 ราย จำนวนผู้ป่วยโรคซึมเศร้า 215ราย โดยพื้นที่ตำบลปุโรง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา มีจำนวนผู้ป่วยจิตเภท18ราย หมู่ที่ 1 จำนวน11 ราย หมู่ที่ 2 จำนวน2ราย หมู่ที่ 3 จำนวน2 ราย หมู่ที่ 4 จำนวน 3 รายและผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ปี2566 จำนวน 135 รายโดยพื้นที่ตำบลปุโรง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา มีจำนวนผู้ป่วยโรคซึมเศร้า 37 ราย หมู่ที่ 1 จำนวน18 ราย หมู่ที่ 2 จำนวน6 ราย หมู่ที่ 3 จำนวน6 ราย หมู่ 4 จำนวน 7ราย(ข้อมูลจาก HOSxP) ซึ่งปัญหาที่พบบ่อย ได้แก่ ไม่มีผู้ดูแลหลัก ผู้ป่วยขาดนัด ไม่รับประทานยาต่อเนื่อง รวมทั้งญาติและผู้ดูแลขาดความรู้ในเรื่องโรคทางจิตเวช กาดูแลและทักษะการสื่อสารที่เหมาะสม ตลอดจนผู้ป่วยไม่ตระหนักรู้ถึงอาการป่วยของตนเอง ขาดทักษะการจัดการความเครียดที่เหมาะสมและการใช้ชีวิตอยู่ในสังคมร่วมกับบุคคลอื่นได้อย่างปกติ ทั้งนี้งานจิตเวชและยาเสพติด กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลกรงปินังได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว ของผู้ป่วยจิตเวชและเห็นถึงความสำคัญในการดูแลเชิงรุกในชุมชน การส่งเสริมสุขภาพจิตญาติผู้ดูแล การให้ความรู้ญาติที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคทางจิตเวช และการติดตามดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้ป่วยและลดภาระของญาติ ได้รับการยอมรับและสามารถอยู่ร่วมกันกับบุคคลอื่นในชุมชนได้ปกติ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังได้รับการดูแลติดตามในชุมชน

ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังได้รับการดูแลติดตามในชุมชน

55.00 30.00
2 เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและลดภาระของญาติ

ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

55.00 30.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 14,190.00 0 0.00
1 เม.ย. 67 - 31 ส.ค. 67 ประชุมชี้แจง แลกเปลี่ยนการดำเนินงานฝ่ายปกครองในพื้นที่และ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอสม กับทีมจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลกรงปินัง 0 3,240.00 -
1 เม.ย. 67 - 31 ส.ค. 67 จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโรคทางจิตเวช สัญญาณเตือนการฆ่าตัวตาย และการดูแลสุขภาพจิตตนเองแก่ญาติและผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวช 0 10,200.00 -
1 เม.ย. 67 - 31 ส.ค. 67 ติดตามเยี่ยมผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังที่มีความเสี่ยงในชุมชน (ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ผู้ป่วยโรคจิตเภท(SMIV) และผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงฆ่าตัวตาย) จำนวน 10 คน จำนวน 2 ครั้ง 0 750.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้ป่วยจิตเวชและญาติมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีความรู้ มีทักษะในการใช้ชีวิต ได้รับการยอมรับและสามารถอยู่ร่วมกันกับบุคคลอื่นในชุมชนได้ปกติ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2566 00:00 น.