กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าม่วง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก รพ.สต.ท่าม่วง ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าม่วง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าม่วง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าม่วง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่คุกคามสุขภาพอนามัยของประชาชน ทั้งในระดับประเทศ จังหวัด และระดับพื้นที่ จึงมีความจำเป็นต้องมีแนวทาง กลวิธีหรือกิจกรรมในการป้องกันและควบคุมโรค ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิ์ผล ซึ่งต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

 

80.00

จากสถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือกออกมีการพัฒนาขึ้นไม่ระบาดปี เว้น 2 ปี แบบเมื่อก่อนโดยในขณะนี้มีการระบาดที่ต่อเนื่องและมีแนวโน้มที่สูงขึ้นอาจมีสาเหตุมาจากสภาพแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศความใส่ใจและพฤติกรรมสุขภาพในเรื่องโรคไข้เลือดออก เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดต้องมีการควบคุมต่อเนื่อง ทั้งทางกายภาพ ชีวภาพและเคมีในพื้นที่อย่างเป็นระบบครบวงจร

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักในเรื่องโรคไข้เลือดออก สามารถดูแลตนเองครอบครัว และชุมชนให้ปลอดภัยจากไข้เลือดออกได้

ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในเรื่องการป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก อย่างน้อย 80%

80.00 100.00
2 2.เพื่อลดต้นเหตุของการเกิดโรค โดยสำรวจ กำจัด และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลานทั้งทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ ลดค่า HI , CI

ลดต้นเหตุการณ์เกิดโรค โดนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ทุก 7 วัน  100%

80.00 100.00
3 3. เพื่อกำจัดยุงตัวแก่และปรับปรุงด้านสุขาภิบาลให้เหมาะสม

ปรับปรุงด้านสุขาภิบาลและกำจัดยุงตัวแก่ ป้องกันการเกิดโรค

80.00 100.00
4 4. เพื่อลดอัตราป่วย อัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

ลดอัตราป่วย อัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออกอัตราป่วยไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร อัตราตายเป็น 0

80.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 97
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรม กำจัดลูกน้ำยุงลาย เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรม กำจัดลูกน้ำยุงลาย เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมกำจัดลูกน้ำยุงลายโดยใช้ทรายอเบท โดยให้ อสม.สำรวจแหล่งกำเนิดลูกน้ำยุงลายตามบ้านเรือนของประชาชนในพื้นที่และใช้ทรายอเบทในการกำจัดลูกน้ำลุงลาย มีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้ 1. ประชุมเพื่อเตรียมการในการดำเนินการสำรวจแหล่งกำเนิดของลูกน้ำยุงลาย 2. ดำเนินการสำรวจแหล่งกำเนิดและใส่ทรายอเบทในจุดที่พบแหล่งกำเนิด 3. สนับสนุนวัสดุเพื่อป้องกันโรคในกรณีมีความเสี่ยง โดยมีค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำเนินการ ดังนี้ 1. ค่าอาหารว่าง สำหรับผู้เข้าร่วมดำเนินกิจกรรม จำวน 97 คน คนละ 25 บาท เป็นเงิน 2,425 บาท 2. ค่าทรายอเบทกำจัดลูกน้ำยุงลาย จำนวน 5 ถัง (1 ถัง มี 500 ถุง) ถังละ 4,900 บาท เป็นเงิน 24,500 บาท 3. ค่าสเปรย์กำจัดยุง จำนวน 150 กระป๋อง กระป๋องละ 120 บาท เป็นเงิน 18,000 บาท 4. ค่าโลชั่นทากันยุง จำนวน 150 ขวด ขวดละ 50 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท 5. ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก ขนาด 1 .5x 2 เมตร จำนวน 6 ป้าย เป็นเงิน 3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
56025.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมพ่นหมอกควันกำจัดยุง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมพ่นหมอกควันกำจัดยุง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

พ่นหมอกควันในกรณีเกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชน และพ่นหมอกควันในสถานศึกษา ซึ่งประกอบด้วย
1.โรงเรียน จำนวน 4 โรงเรียน 2.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 3 ศูนย์ 3.โรงเรียนสอนศาสนา จำนวน 1 แห่ง 4.โรงเรียนตาดีกา จำนวน 4 แห่ง โดยมีค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำเนินการ ดังนี้ 1. น้ำยาพ่นหมอกควันกำจัดยุงลาย จำนวน 6 ขวด ขวดละ 1,650 บาท เป็นเงิน 9,900 บาท 2. น้ำมันดีเซล จำนวน 450 ลิตร ราคาลิตรละ 35 บาท เป็นเงิน 15,750 บาท 3. น้ำมันเบนซิน 95จำนวน 100 ลิตร ราคาลิตรละ 40 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท 4. ค่าจ้างพ่นหมอกควัน กรณีเปิดภาคการศึกษา วันละ 300 บาท จำนวน 4 คน 3 วัน 2 ครั้ง เป็นเงิน 7,200บาท 5. ค่าจ้างพ่นหมอกควันกรณีเกิดโรค วันละ 300 บาท จำนวน 2 คน 40 ครั้ง เป็นเงิน 24,000 บาท 6.ค่าครุภัณฑ์เครื่องพ่นหมอกควัน 1 เครื่อง เป็นเงิน 85,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
145850.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรม Big Cleaning Day

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม Big Cleaning Day
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ดำเนินการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชนและศาสนสถาน สถานศึกษาและพื้นที่สาธารณะในชุมชน โดยมีค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำเนินการ ดังนี้ 1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการจัดกิจกรรม จำนวน 97 คน คนละ 25 บาท 4 ครั้ง 9,700 บาท 2. ค่าเอกสารสุขศึกษาประชาสัมพันธ์ เรื่องโรคไข้เลือดออก จำนวน 2,000 แผ่น แผ่นละ 1 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11700.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมติดตามสถานการณ์และประเมินผลการป้องกันการเกิดโรค

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามสถานการณ์และประเมินผลการป้องกันการเกิดโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมติดตามการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไช้เลือดออก โดยไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 213,575.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1ประชาชนเห็นความสำคัญและประโยชน์จากการจัดการกับขยะและสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคไข้เลือดออก
2ลดภาวะการเกิดโรคและอันตรายอันเกิดจากขยะและสิ่งแวดล้อม
3เกิดบ้านตัวอย่าง อย่างน้อย 80% และหมู่บ้านต้นแบบการกำจัดขยะและสิ่งแวดล้อม
4ประชาชนมีความปลอดภัยจากโรคและภาวะที่เกิดจากขยะและสิ่งแวดล้อม
5ประชาชนมีการดูแลที่พักอาศัยและสิ่งแวดล้อมได้อย่างถูกต้องและยั่งยืน
6ประชาชนสามารถดูแลตนเอง ครอบครัวและชุมชนให้ปลอดภัยจากไข้เลือดได้


>