กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

คลองรี ปลอดโรคขาดสารไอโอดีน ปี 67

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 1 ตำบลตุยง

1…นางฮะสือนะ มะเซ็ง.................…………………
2…นางมารียะห์ เจ๊ะอาแซ.....…………………………
3…นางจินดาพร ขวัญไฝ………………………………
4…นางคอลีเยาะ บือราเฮง…………………………..
5…นางปิอะ ดอเลาะ…………………………………..

หมู่ที่ 1 บ้านคลองรี ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนเป็นโครงการในพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเพื่อแก้ปัญหาการระบาดของโรคคอพอกทรงริเริ่มด้วยการรณรงค์ให้มีการใช้เกลือไอโอดีนหรือหยดไอโอดีนในการประกอบอาหารและอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการขาดสารไอโอดีน“โรคขาดสารไอโอดีน” เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและมีผลกระทบโดยตรงต่อการพัฒนาประเทศเนื่องจากไอโอดีนมีความสัมพันธ์กับสติปัญญาของมนุษย์โดยเป็นสารตั้งต้นในการสร้างฮอร์โมนธัย-รอยด์ซึ่งมีผลต่อการสร้างใยสมองและการเจริญเติบโตของร่างกาย การขาดสารไอโอดีนส่งผลกระทบในวงกว้างและกลุ่มที่มีผลกระทบมากจากการขาดสารไอโอดีนคือหญิงตั้งครรภ์หากขาดสารไอโอดีนลูกที่คลอดออกมามีโอกาสเสี่ยงที่จะมีความพิการหรือปัญญาอ่อนกลุ่มทารกแรกเกิดจะมีผลต่อความเฉลียวฉลาดและการเจริญเติบโตของเด็กถ้าขาดสารไอโอดีนจะมีอาการทางสมองทำให้เกิดภาวะปัญญาอ่อนซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้จึงจำเป็นที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนให้หมดไปจากเมืองไทย
เพื่อแก้ไขปัญหาโรคขาดสารไอโอดีนในหมู่บ้านการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน จึงได้จัดทำโครงการป้องกันโรคชาดสารไอโอดีนในหมู่บ้าน ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมการใช้เกลือเสริมไอโอดีนคุณภาพของครัวเรือน

ร้อยละ 50 ของครัวเรือนในหมู่บ้านคลองรีมีการใช้เกลือเสริมไอโอดีน

103.00 52.00
2 เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กไอคิวและพัฒนาการสมวัยลดลง

ร้อยละ 95 เด็ก 0-5 ปี ในพื้นที่ มีไอคิวและพัฒนาการสมวัย

28.00 27.00
3 เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาหญิงตั้งครรภ์มีภาวะขาดสารไอโอดีน

ร้อยละ 100 หญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่ไม่มีภาวะขาดสารไอโอดีน

11.00 11.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 40
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 15
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมส่งเสริมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมส่งเสริมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้ความรู้เรื่องสารไอโอดีน แก่ชาวบ้านในหมู่บ้านคลองรี และหมู่บ้านใกล้เคียงเพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของสารไอโอดีน และใช้เกลือเสริมไอโอดีนในครัวเรือน และร้านจำหน่ายอาหาร งบประมาณ
- ค่าอาหารกลางวันจำนวน 50 คน x 60 บาทเป็นเงิน 3,000 บาท - ค่าอาหารว่าง เครื่องดื่ม จำนวน 50 คน x 35 บาท x 2 มื้อเป็นเงิน 3,500 บาท - ค่าวิทยากร 4 ชม.ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท - ค่าป้ายไวนิลในการประชาสัมพันธ์และจัดกิจกรรมโครงการเป็นเงิน 720 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชน ตัวแทนครัวเรือน มีความรู้เรื่องสารไอโอดีน และสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปเผยแพร่และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9620.00

กิจกรรมที่ 2 รุกชุมชน ตรวจสารไอดีน

ชื่อกิจกรรม
รุกชุมชน ตรวจสารไอดีน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจคุณภาพเกลือเสริมไอโอดีนจาก สถานที่จำหน่าย ร้านอาหาร และครัวเรือนในหมู่บ้าน งบประมาณ - ค่าชุดทดสอบไอโอเดทในเกลือเสริมไอโอดีน เป็นเงิน 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีการตรวจคุณภาพเกลือเสริมไอโอดีนจาก สถานที่จำหน่าย ร้านอาหาร และครัวเรือนในหมู่บ้าน ร่วมกับเจ้าหน้าสาธารณสุขของโรงพยาบาลหนองจิกและองค์การบริหารส่วนตำบลตุยง
  2. มีข้อมูลสรุปจากการตรวจคุณภาพเกลือเสริมไอโอดีนในพื้นที่ ใช้ในการปฏิบัติงานในพื้นที่ต่อไป
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 3 ประชุมเครือข่ายสุขภาพและคณะทำงาน เพื่อ สรุป ประเมินผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเครือข่ายสุขภาพและคณะทำงาน เพื่อ สรุป ประเมินผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมเครือข่ายสุขภาพและคณะทำงาน เพื่อ สรุป ประเมินผลโครงการ
งบประมาณ
- ค่าอาหารว่าง เครื่องดื่ม มื้อละ 35 บาท x 8 คน x 3 ครั้งเป็นเงิน840 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
840.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,460.00 บาท

หมายเหตุ :
วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)
1) ขับเคลื่อนมาตรการควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนระดับหมู่บ้าน
1.1 กำหนดนโยบาย/มาตรการการควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรและมีการสื่อสารให้ผู้เกี่ยวข้องและประชาชนทราบ
1.2 จัดประชุมถ่ายทอดความรู้และทำความเข้าใจเรื่องการป้องกันและโรคขาดสารไอโอดีนแก่ประชาชนในหมู่บ้าน
1.3 ตรวจคุณภาพเกลือเสริมไอโอดีนจาก สถานที่จำหน่าย ร้านอาหาร และครัวเรือนในหมู่บ้าน
1.4 กำหนดกติกาชุมชน “ไม่บริโภคเกลือเสริมไอโอดีนที่ไม่ได้คุณภาพ ”
2) ดำเนินมาตรการเสริมไอโอดีน
2.1 การเสริมไอโอดีนในอาหาร โดยรณรงค์ให้บริโภคเกลือเสริมไอโอดีนที่มีคุณภาพในปริมาณที่เหมาะสม
2.2 การเสริมอาหารสำหรับหญิงตั้งครรภ์ โดยความร่วมมือกับกลุ่มงานบริการปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลหนองจิก
3) รับการตรวจประเมินหมู่บ้านไอโอดีน และมอบป้ายหมู่บ้านไอโอดีน
4) สรุปผลการดำเนินงานโครงการชุมชนหมู่บ้านไอโอดีนเพื่อการควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้เรื่องสารไอโอดีน ตระหนักถึงความสำคัญของสารไอโอดีน และใช้เกลือเสริมไอโอดีนในครัวเรือน และร้านจำหน่ายอาหาร
2. ร้านค้า/ร้านขายของชำในหมู่บ้านมีการจำหน่ายเกลือเสริมไอโอดีน
3. หญิงตั้งครรภ์ได้รับสารไอโอดีนที่เพียงพอ
4. เด็กทารกแรกเกิดไม่ขาดสารไอโอดีน
5. ครัวเรือนได้รับการส่งเสริมการใช้เกลือเสริมไอโอดีนคุณภาพ
6. เด็กในพื้นที่ หมู่ที่ 1 บ้านคลองรี ตำบลตุยงมีไอคิวและพัฒนาการสมวัยที่ดีขึ้น


>