กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ขับขี่ปลอดภัยสวมหมวกนิรภัย มีวินัยจราจร ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดบ้านนาพญา

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ขับขี่ปลอดภัยสวมหมวกนิรภัย มีวินัยจราจร ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดบ้านนาพญา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดบ้านนาพญา

1.นางนารีรัตน์สอเหลบโทร 0947722902
2.นางอาซีซะ แดงเหม โทร0824343845
3.นางฝาตีม๊ะ รักสัตย์ โทร0805448648
4.นางยูนิราชอบงาม โทร 0657370403
5.นางฮาเบี้ยะหมัดหยำ

หมู่ที่ 8 บ้านนาพญา ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานความปลอดภัยทางถนน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดบ้านนาพญา ตั้งอยู่หมู่ที่8 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล เด็กในเขตบริการหมู่ที่ 8 ในปีการศึกษา 2567 มีเด็กนักเรียนทั้งหมด 20 คน จากการสังเกตในการมารับ -ส่ง นักเรียนพบว่าผู้ปกครองส่วนใหญ่ไม่ได้สวมใส่หมวกนิรภัยในการเดินทางและปัจจุบันศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดบ้านนาพญา ได้ทำการย้ายสถานที่ใหม่ โดยอยู่ในช่วง ถนนทางเข้าศูนย์เด็กเล็กมัสยิดบ้านนาพญายังไม่แล้วเสร็จ ถนนทางเข้ามีจุดเสี่ยง เป็นลุ่ม เป็นบ่อ ทำให้เป็นอุปสรรคในการเดินทางมาเรียนของนักเรียนประกอบกับพ่อแม่ต้องเร่งรีบไปทำงานนอกบ้านโดยการรับ-ส่งนักเรียน เป็นหน้าที่ของปู่ ย่า ตา ยายเดินทางของนักเรียนส่วนใหญ่เดินทางโดยการใช้รถจักรยานยนต์และไม่สวมหมวกนิรภัย เนื่องจากผู้ปกครองเห็นว่าเป็นระยะทางใกล้ ประมาณ 1-2 กิโลเมตร ประกอบกับผู้ปกครองขาดความตระหนักถึงความปลอดภัยในการเดินทางและไม่ได้ให้ความสำคัญในการสวมหมวกนิรภัยให้กับบุตร-หลาน เมื่อเกิดอุบัติเหตุกับเด็กนักเรียนไม่สามารถมาเรียนได้ จากเหตุการณ์ที่ผ่านมา อุบัติเหตุได้เกิดขึ้นภายในหมู่บ้านประมาณ 5-6 เหตุการณ์ จากเหตุการณ์ด้งกล่าวทำให้เด็กได้รับผลกระทบส่งผลให้เด็กได้รับความบาดเจ็บ อาการบาดเจ็บที่ศรีษระ มีผลกระทบต่อการเรียนมีพัฒนาการที่ล่าช้า ผู้ปกครองต้องเสียเวลาในการดูแลเด็กไม่สามารถทำงาน ซึ่งหมวกนิรภัยมีประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงที่จะบาดเจ็บศรีษระและลดอาการรุนแรงของอาการบาดเจ็บลงได้ และเพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการขับขี่ปลอดภัยสวมหมวกนิรภัยและทักษะการช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุ จากการสำรวจพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ของผู้ปกครองที่มารับ-ส่งเด็กนักเรียนรวมทั้งนักเรียนที่นั่งซ้อนมาด้วยนั้น พบว่าไม่มีใครสวมหมวกนิรภัยมา สะท้อนให้เห็นถึงความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่าภัยอันตรายรอบตัวนั้นสามารถเกิดขึ้นได้แบบไม่คาดฝันและเป็นเรื่องที่น่ากังวล ที่พ่อ แม่ ผู้ปกครอง หลายๆ คน ไม่ตระหนักถึงความสำคัญในการให้บุตร-หลานสวมใส่หมวกนิรภัย ขณะเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์ และบางคนแม้จะสวมหมวกนิรภัยให้กับเด็กแต่กลับไม่รู้ว่าจะเลือกใช้หมวกนิรภัยที่มีคุณภาพ มีขนาดพอดีกับศีรษะเด็ก และจะสวมใส่หมวกนิรภัยให้กับเด็กอย่างถูกวิธีได้อย่างไร ด้วยเหตุนี้การรณรงค์ ส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัย ให้ได้มาตรฐานรวมถึงการเรียนรู้วิธีการใช้ถนนอย่างถูกต้อง จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการป้องกัน และสร้างความตระหนักถึงความปลอดภัยบนท้องถนนเพื่อลดการสูญเสียจากอุบัติเหตุดังนั้น เพื่อกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่ถูกต้องในการใช้ถนน การสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่เด็ก พ่อ แม่ และผู้ปกครอง ให้เห็นถึงความสำคัญของการใช้หมวกนิรภัย พร้อมอบรมให้ความรู้ จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมากในการช่วยลดจำนวนผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตในเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กที่ถือเป็นอนาคตของชาติ ดังนั้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดบ้านนาพญา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ จึงได้จัดโครงการเดินทางปลอดภัยสวมหมวกนิรภัยเมื่อนั่งรถจักรยานยนต์ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดบ้านนาพญา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการจุดเสี่ยงและพฤติกรรมเสี่ยง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในชุมชน
  • เกิดคณะทำงานที่ขับเคลื่อนโครงการที่มีส่วนร่วมของภาคส่วน
  • เกิดมาตรการร่วมในการลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่
0.00
2 เพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยง(ไม่สวมใส่หมวกกันน็อค)ของผู้ปกครองและเด็กขณะขับรถจักรยานยนต์

ผู้ปกครองและเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาพญา ร้อยละ 80 สวมหมวกกันน็อค ขับขี่ปลอดภัย

0.00

เพื่อส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัยและได้มาตรฐานขณะเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 20
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ปกครองของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดบ้านนาพญ 20

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2024

กำหนดเสร็จ 30/12/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานโครงการ 10 คน จำนวน 3 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานโครงการ 10 คน จำนวน 3 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงานโครงการ 10 คน จำนวน 3 ครั้ง ประกอบด้วย ตัวแทนครูจำนวน 5 คน ตัวแทนผู้ปกครองจำนวน 3 คน ผู้ใหญ่บ้านจำนวน 1 คน โต๊ะอีม่าม 1 คน
ครั้งที่ 1 ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจโครงการร่วมกัน แบ่งบทบาทหน้าที่ พร้อมวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน ออกแบบสำรวจข้อมูลฯ
ครั้งที่ 2 ประชุมติดตามการทำงานครั้งที่ 1 และสรุปผลสำรวจข้อมูลจุดเสี่ยงพร้อมจัดทำแผนที่จุดเสี่ยงในชุมชนและแผนในการปรับปรุงจุดเสี่ยงร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และร่างข้อตกลงร่วมฯ
ครั้งที่ 3 ประชุมติดตามการทำงานครั้งที่ 2 และสรุปผลการดำเนินงานโครงการ
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 10 คน x 25 บาท = 250 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ เช่น กระดาษ ปากกา เป็นต้น = 200 บาท
รวมค่าใช้จ่าย 450 บาท x 3 ครั้ง = 1,350 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 30 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
- เกิดคณะทำงานโครงการฯ จำนวน 10 คน
- มีรายงานการประชุมจำนวน 3 ครั้ง
ผลลัพธ์
- เกิดการวางแผนงานร่วมกันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ปัญหา อุปสรรค ความสำเร็จ เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาและขยายผลกิจกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1350.00

กิจกรรมที่ 2 สำรวจข้อมูลจำนวนเด็กที่ไม่สวมหมวกนิรภัย ข้อมูลจุดเสี่ยงเส้นทางที่เด็กเดินทางมาโรงเรียน ข้อมูลยานพาหนะผู้ปกครองของเด็กนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดบ้านนาพญา

ชื่อกิจกรรม
สำรวจข้อมูลจำนวนเด็กที่ไม่สวมหมวกนิรภัย ข้อมูลจุดเสี่ยงเส้นทางที่เด็กเดินทางมาโรงเรียน ข้อมูลยานพาหนะผู้ปกครองของเด็กนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดบ้านนาพญา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สำรวจข้อมูลจำนวนเด็กที่ไม่สวมหมวกนิรภัย ข้อมูลจุดเสี่ยงเส้นทางที่เด็กเดินทางมาโรงเรียน ข้อมูลยานพาหนะปกครองของเด็กนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดบ้านนาพญา นำข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่การจัดการปัญหาต่อไป
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
- สมุดบันทึกข้อมูลจำนวน 20 ชุด x 20 บาท = 400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 กรกฎาคม 2567 ถึง 30 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
- ได้ชุดข้อมูลจำนวนเด็กที่ไม่สวมหมวกนิรภัย ข้อมูลจุดเสี่ยงเส้นทางที่เด็กเดินทางมาโรงเรียน ข้อมูลเศรษฐานะปกครองของเด็กนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดบ้านนาพญา จำนวน 1 ชุด ผลลัพธิ์
- มีข้อมูลเชิงปริมาณจำนวนเด็กที่ไม่สวมหมวกนิรภัย ข้อมูลจุดเสี่ยงเส้นทางที่เด็กเดินทางมาโรงเรียน ข้อมูลเศรษฐานะผู้ปกครองของเด็กนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดบ้านนาพญา จำนวน 1 ชุด
- แผนการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมให้เด็กสวมหมวกนิรภัย แก้ไขจุดเสี่ยงเส้นทางที่เด็กเดินทางมาโรงเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
400.00

กิจกรรมที่ 3 เวทีคืนข้อมูล อบรมให้ความรู้เรื่องอันตรายจากไม่สวมหมวกนิรภัย และร่วมกำหนดข้อตกลงร่วมของผู้ปกครองของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดบ้านนาพญา

ชื่อกิจกรรม
เวทีคืนข้อมูล อบรมให้ความรู้เรื่องอันตรายจากไม่สวมหมวกนิรภัย และร่วมกำหนดข้อตกลงร่วมของผู้ปกครองของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดบ้านนาพญา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เวทีคืนข้อมูลผลการสำรวจจำนวนเด็กที่ไม่สวมหมวกนิรภัย ข้อมูลจุดเสี่ยงเส้นทางที่เด็กเดินทางมาโรงเรียน อบรมให้ความรู้เรื่องอันตรายจากไม่สวมหมวกนิรภัย และร่วมกำหนดข้อตกลงร่วมของผู้ปกครองของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดบ้านนาพญา ผู้ปกครอง ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต. อสม. โต๊ะอีม่าม ชรบ. เป็นต้น จำนวน 30 คน และฝึกวิธีการสวมหมวกที่ถูกวิธีให้กับผู้ปกครองเมื่อมีการสวมหมวกให้บุตรหลาน และติดประกาศกติการ่วมไว้หน้า ศพด.นาพญา
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 คน x 25 บาท = 750 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร 600 บาท x 3 ชม. = 1,800 บาท
- ค่าป้ายไวนิลโครงการขนาด 1.2 x 2.4 = 432 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ ปากกาเคมี กระดาษบรุฟ กระดาษกาวย่น เป็นต้น = 500 บาท
- ค่าหมวกนิรภัย 20 ใบ x 200 บาท = 4,000 บาท
- ป้ายติดประกาศอคลิลิคพร้อมใส่กรอบ ขนาด 60 ซม. X 120 ซม. เป็นเงิน 1,800 บาท รวมค่าใช้จ่าย 9,282 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
14 สิงหาคม 2567 ถึง 14 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
- ข้อมูลผลการสำรวจเด็กที่ไม่สวมหมวกนิรภัยได้รับการวิเคราะห์
ผลลัพธ์
- มีการตกลงกติการ่วมเพื่อแก้ไขปัญหาการไม่สวมหมวกนิรภัยของเด็กนักเรียน
- พ่อ แม่ ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจถึงอันตรายของการไม่สวมหมวกนิรภัยและวิธีการเลือกหมวกและการสวมหมวกที่ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9282.00

กิจกรรมที่ 4 ปรับปรุงจุดเสี่ยงอันตราย

ชื่อกิจกรรม
ปรับปรุงจุดเสี่ยงอันตราย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ปรับปรุงจดเสี่ยงอันตรายโดยความร่วมมือจากผู้แทนชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยว ร่วมปรับปรุงจุดเสี่ยงตามแผนที่วางไว้จากข้อมูลผลการสำรวจที่ได้ร่วมกันวิเคราะห์ โดยจะมีการจัดกิจกรรมวันหยุด
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
- ค่าอาหารกลางวัน 30 คน x 60 บาท = 1,800 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 คน x 25 บาท x 2 มื้อ = 1,500 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการพัฒนาจุดเสี่ยง 2,000 บาท (จอบ มีด ถุงดำ ถุงมือ) รวมค่าใช้จ่าย 5,300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลลัพธ์
- จุดเสี่ยงในชุมชนได้รับการปรับปรุง
- ภาคีภาคส่วนให้ความร่วมมือในการปรับปรุงจุดเสี่ยง
- ข้อมูลจุดเสี่ยงที่ไม่สามารถดำเนินการได้เองได้รับการส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5300.00

กิจกรรมที่ 5 ติดตามเฝ้าระวังการสวมหมวกนิรภัยที่ได้มาตรฐานขณะเดินทางด้วยรถจักยานยนต์

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเฝ้าระวังการสวมหมวกนิรภัยที่ได้มาตรฐานขณะเดินทางด้วยรถจักยานยนต์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามเฝ้าระวังการสวมหมวกนิรภัยที่ได้มาตรฐานขณะเดินทางด้วยรถจักยานยนต์ของเด็กนักเรียนทุกวันทำการ
โดยการจดบันทึก/ถ่ายภาพเด็กและผู้ปกครองมารับ-ส่งเด็กนักเรียน ไม่มีค่าใช้จ่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
14 สิงหาคม 2567 ถึง 30 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

รายงานผลการติดตามเฝ้าระวังการสวมหมวกนิรภัยที่ได้มาตรฐานขณะเดินทางด้วยรถจักยานยนต์ของเด็กนักเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 6 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถอดบทเรียนการดำเนินงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถอดบทเรียนการดำเนินงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ถอดบทเรียนการดำเนินงานโครงการเพื่อต่อยอดการดำเนินงานและส่งต่อข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 20 คน ประกอบด้วย ครู ผู้แทนผู้ปกครอง ท้องที่ ท้องถิ่น อสม. เป็นต้น
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 20 คน x 25บาท = 500 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร 3 ชม. x600 บาท = 1,800 บาท
รวมค่าใช้จ่าย 2,300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 ธันวาคม 2567 ถึง 17 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
ได้ทราบปัญหา/อุปสรรค ปัจจัยที่ทำให้เกิดความสำเร็จ การดำเนินงานของโครงการเพื่อนำไปปรับใช้ในครั้งถัดไป ผลลัพธ์
- รายงานผลการถอดบทเรียนการดำเนินงานโครงการจำนวน 1 ชุด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,632.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มเป้าหมายสามารถป้องกันอุบัติเหตุใช้เส้นทางจราจร เกิดพฤติกรรมการใช้รถใช้ถนนที่ถูกต้องและปลอดภัย
2..ผู้ปกครองและเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาพญา ร้อยละ 80 ขับขี่ปลอดภัย และสวมหมวกนิรภัย
3.เกิดภาคีเครือข่ายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนในระดับหมู่บ้าน


>