กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ลดเสี่ยง ลดโรคแทรกซ้อนผู้ป่วยความดัน เบาหวาน รพ.สต.บ้านในเมือง งบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

รพ.สต.บ้านในเมือง ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล

หมู่ที่ 3,4,6,12,15,17 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไม่ติดต่อ ( Non – Communicable Diseases : NCD )เป็นกลุ่มโรคที่มีความสัมพันธ์กับนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เช่น การรับประทานอาหารหวาน มัน เค็มจัด การไม่ออกกำลังกาย ความเครียด การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก ประกอบกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป รวมถึงการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช่ในวิถีชีวิตมากขึ้น ทำให้การเข้าถึงปัจจัยเสี่ยงโรค NCD เป็นสิ่งที่ง่ายขึ้น ส่งผลให้กลุ่มโรค NCD เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของโลกและประเทศไทย
จากสถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เพิ่มขึ้นในทุกๆปี ข้อูลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในเมือง อำเภอละงู จังหวัดสตูล จากข้อมูล 3 ปีย้อนหลัง (ปี 2564 – 2566 ) พบว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี ร้อยละ 55.39 , 54.63 , 60.69 ตามลำดับ และ พบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี เพียงร้อยละ 24.61 , 28.65 , 29.46 ตามลำดับ ซึ่งข้อมูลผู้ป่วยหลอดเลือดสมองที่ได้รับการขึ้นทะเบียน รพ.ละงู -มิย.67 จำนวน 45 ราย ผู้ป่วยโรคหัวใจ จำนวน 25 ราย ผู้ป่วยเบาหวานมีแผลประมาณ 10 ราย โดนตัดเท้า/นิ้วเท้า 5 ราย ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ส่วนใหญ่ไม่สามารถควบคุมโรคได้ ผู้ป่วยบางส่วนยังขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนของโรคที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบต่างๆในร่างกายเช่นโรคหัวใจ ตา ไต เท้า หลอดเลือดสมอง ซึ่งจะนำไปสู่การเกิด อัมพฤก อัมพาต เป็นต้น และอาจจะส่งผลกระทบไม่ว่าจะทางด้านร่างกาย จิตใจ ฐานะทางเศรษฐกิจตามมา
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในเมือง จึงเล็งเห็นความสำคัญ จึงได้จัดทำโครงการ "ลดเสี่ยง ลดโรคแทรกซ้อนผู้ป่วยความดัน เบาหวาน รพ.สต.บ้านในเมือง งบประมาณ 2567 "เพื่อให้ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยเบาหวาน มีความรู้และสร้างทักษะเพื่อการดูแลด้วยตนเอง การปรับพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต การรับประทานยาอย่างถูกต้องและการรักษาอย่างต่อเนื่อง และเสริมทักษะการดูแลตนเองที่เหมาะสมทั้งด้านร่างกายและจิตใจ และส่งเสริม สนับสนุนให้มีการบริการในศูนย์บริการสุขภาพในชุมชน ( Health Station check ) โดยมีแกนนำสุขภาพให้การคัดกรอง ให้คำแนะนำ ดูแลรักษาเบื้องต้นได้อย่างต่อเนื่องและทันท่วงที

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.อบรมฟื้นฟูความรู้แก่แกนนำสุขภาพในชุมชน ในศูนย์บริการสุขภาพในชุมชน ( Health Station check )

แกนนำสุขภาพในชุมชน ในศูนย์บริการสุขภาพในชุมชน ( Health Station check )มีความรู้ในการประเมินสุขภาพ แนวทางในการดำเนินงานในสถานบริการแก่ผู้ป่วยในเขตรับผิดชอบ

100.00 0.00
2 2. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้และทักษะการดูแลตนเองให้ควบคุมโรคได้ ไม่มีภาวะแทรกซ้อนทาง ตา ไตเท้า หัวใจ สมอง ลดลง

ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยความโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ได้รับการตรวจภาวะแทรกซ้อนทาง ตา ไต เท้า หัวใจ หลอดเลือดสมอง และมีภาวะแทรกซ้อนลดลง

50.00 0.00
3 3. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในพื้นที่สามารถเข้าถึงการตรวจวัดติดตามระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตได้ด้วยตนเอง

เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในพื้นที่สามารถเข้าถึงการรับบริการ ร้อยละ 80

80.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 300
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 36
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2024

กำหนดเสร็จ 31/12/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 แกนนำสุขภาพในชุมชนมีความรู้และทราบถึงแนวทางการให้บริการ การดูแลผู้ป่วยในศูนย์บริการสุขภาพในชุมชน ( Health Station check )

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 แกนนำสุขภาพในชุมชนมีความรู้และทราบถึงแนวทางการให้บริการ การดูแลผู้ป่วยในศูนย์บริการสุขภาพในชุมชน ( Health Station check )
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1 อบรมฟื้นฟูความรู้ แนวทาง ทักษะ ให้แก่แกนนำสุขภาพในชุมชน ในศูนย์บริการสุขภาพในชุมชน ( Health Station check ) เพื่อทราบถึงบทบาทหน้าที่ ขั้นตอนการให้บริการ การเข้าถึงการรับบริการในผู้ป่วยที่สามารถมารับบริการได้ รวมถึงการรวบรวมผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง - แกนนำสุขภาพในชุมชน หมู่ละ 5 คน 6 หมู่บ้าน จำนวน 30 คน ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท จำนวน1 มื้อ เป็นเงิน 900บาท (จัดอบรมโดยเจ้าหน้าที่ รพ.สต.)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำสุขภาพ มีความรู้ แนวทาง ทักษะในการดูแลผู้ป่วยในศูนย์บริการสุขภาพในชุมชน ( Health Station check )เพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
900.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรมอบรมให้ความรู้และเสริมทักษะการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 300 คน

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรมอบรมให้ความรู้และเสริมทักษะการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 300 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมอบรม โดยจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานที่รับยา ที่รพ.สต.บ้านในเมือง จำนวนทั้งหมด300 คน จากจำนวนคนไข้ทั้งหมด 344 คนหรือตัวแทนหมู่บ้านละ 50 คน จำนวน 6 วัน 1.1 ให้ความรู้และเสริมทักษะการดูแลตนเอง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การกินยาที่ถูกวิธี เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงจำนวน 300 คน
    1.2 สร้างความตระหนัก ความตื่นตัวให้กับผู้ป่วยในเรื่องการป้องกันการเกิดแทรกซ้อนทางตา ไต เท้า หัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤก อัมพาต ของโรคที่อาจจะเกิดขึ้น และสามารถป้องกันโรค/ไปรักษาได้ทันท่วงที 1.3 การให้บริการคลีนิกโรคเรื้อรังของ รพ.สต.และหารือ/กิจกรรมแลกเปบี้ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการเข้าถึงบริการเพื่อลดความแออัดของผู้ป่วย 1.4 การให้บริการศูนย์ health station ในชุมชนและบทบาทหน้าที่ของผู้รับผิดชอบศูนย์ การจัดการผู้ป่วยเข้ารับบริการในศูนย์สุขภาพในชุมชน หลักในการแบ่งผู้ป่วยโดยยึดหลักการใช้ปิงปอง 7 สีในการประเมินผู้ป่วยและผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง

- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม มื้อละ 30 บาท จำนวน 1 มื้อ จำนวน 300 คน เป็นเงิน 9,000 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท 3 ชั่วโมง จำนวน 6 วัน เป็นเงิน 10,800 บาท รวมเป็นเงิน 19,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีความรู้ มีความตระหนักในการดูแลตัวเองเพิ่มขึ้น รวมถึงรู้ระบบขั้นตอนการให้บริการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19800.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 รายงานและติดตามผลของการดำเนิน ปัญหาและอุปสรรคในการจัดตั้งศูนย์การให้บริการ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาต่อยอด

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 รายงานและติดตามผลของการดำเนิน ปัญหาและอุปสรรคในการจัดตั้งศูนย์การให้บริการ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาต่อยอด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการรายงานผลและติดตามผลการดำเนินงานในการจัดตั้งศูนย์ให้บริการ ปํญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน กลุ่มเป้าหมาย อสม.ประจำศูนย์การให้บริการ จำนวน 2 คน ผู้นำชุมชน จำนวน 2 คน ตัวแทนผู้ป่วย หมู่ละ 2 คน จำนวน 6 หมู่บ้าน รวมทั้งสิ้น 36 คน - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม มื้อละ 30 บาท จำนวน 1 มื้อ จำนวน 36 คน เป็นเงิน 1,080 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อให้ผู้ป่วย/ผู้ให้บริการ มีความพึงพอใจในการรับการบริการเพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1080.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,780.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. แกนนำด้านสุขภาพมีความรู้ ความสามารถในการดูแลผู้ป่วยและสามารถ่ายถอดความรู้ไปยังผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง
2. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้และทักษะการดูแลตนเองให้ควบคุมโรคได้ โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนของโรค
3. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในพื้นที่ได้รับการเข้าถึงการบริการอย่างทั่วถึง รวดเร็วและลดระยะเวลาการรอคอย มีความพึงพอใจเพิ่มขึ้น


>