ลดเสี่ยง ลดโรคแทรกซ้อนผู้ป่วยความดัน เบาหวาน รพ.สต.บ้านในเมือง งบประมาณ 2567
ชื่อโครงการ | ลดเสี่ยง ลดโรคแทรกซ้อนผู้ป่วยความดัน เบาหวาน รพ.สต.บ้านในเมือง งบประมาณ 2567 |
รหัสโครงการ | 67-L5313-01-003 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | รพ.สต.บ้านในเมือง ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล |
วันที่อนุมัติ | 16 สิงหาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 16 สิงหาคม 2567 - 31 ธันวาคม 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ธันวาคม 2567 |
งบประมาณ | 21,780.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวอรทัย อุสมา |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | อำเภอละงู จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 21,780.00 | |||||
รวมงบประมาณ | 21,780.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | 300 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง : |
||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 36 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไม่ติดต่อ ( Non – Communicable Diseases : NCD )เป็นกลุ่มโรคที่มีความสัมพันธ์กับนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เช่น การรับประทานอาหารหวาน มัน เค็มจัด การไม่ออกกำลังกาย ความเครียด การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก ประกอบกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป รวมถึงการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช่ในวิถีชีวิตมากขึ้น ทำให้การเข้าถึงปัจจัยเสี่ยงโรค NCD เป็นสิ่งที่ง่ายขึ้น ส่งผลให้กลุ่มโรค NCD เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของโลกและประเทศไทย
จากสถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เพิ่มขึ้นในทุกๆปี ข้อูลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในเมือง อำเภอละงู จังหวัดสตูล จากข้อมูล 3 ปีย้อนหลัง (ปี 2564 – 2566 ) พบว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี ร้อยละ 55.39 , 54.63 , 60.69 ตามลำดับ และ พบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี เพียงร้อยละ 24.61 , 28.65 , 29.46 ตามลำดับ ซึ่งข้อมูลผู้ป่วยหลอดเลือดสมองที่ได้รับการขึ้นทะเบียน รพ.ละงู -มิย.67 จำนวน 45 ราย ผู้ป่วยโรคหัวใจ จำนวน 25 ราย ผู้ป่วยเบาหวานมีแผลประมาณ 10 ราย โดนตัดเท้า/นิ้วเท้า 5 ราย ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ส่วนใหญ่ไม่สามารถควบคุมโรคได้ ผู้ป่วยบางส่วนยังขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนของโรคที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบต่างๆในร่างกายเช่นโรคหัวใจ ตา ไต เท้า หลอดเลือดสมอง ซึ่งจะนำไปสู่การเกิด อัมพฤก อัมพาต เป็นต้น และอาจจะส่งผลกระทบไม่ว่าจะทางด้านร่างกาย จิตใจ ฐานะทางเศรษฐกิจตามมา
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในเมือง จึงเล็งเห็นความสำคัญ จึงได้จัดทำโครงการ "ลดเสี่ยง ลดโรคแทรกซ้อนผู้ป่วยความดัน เบาหวาน รพ.สต.บ้านในเมือง งบประมาณ 2567 "เพื่อให้ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยเบาหวาน มีความรู้และสร้างทักษะเพื่อการดูแลด้วยตนเอง การปรับพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต การรับประทานยาอย่างถูกต้องและการรักษาอย่างต่อเนื่อง และเสริมทักษะการดูแลตนเองที่เหมาะสมทั้งด้านร่างกายและจิตใจ และส่งเสริม สนับสนุนให้มีการบริการในศูนย์บริการสุขภาพในชุมชน ( Health Station check ) โดยมีแกนนำสุขภาพให้การคัดกรอง ให้คำแนะนำ ดูแลรักษาเบื้องต้นได้อย่างต่อเนื่องและทันท่วงที
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.อบรมฟื้นฟูความรู้แก่แกนนำสุขภาพในชุมชน ในศูนย์บริการสุขภาพในชุมชน ( Health Station check ) แกนนำสุขภาพในชุมชน ในศูนย์บริการสุขภาพในชุมชน ( Health Station check )มีความรู้ในการประเมินสุขภาพ แนวทางในการดำเนินงานในสถานบริการแก่ผู้ป่วยในเขตรับผิดชอบ |
100.00 | 0.00 |
2 | 2. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้และทักษะการดูแลตนเองให้ควบคุมโรคได้ ไม่มีภาวะแทรกซ้อนทาง ตา ไตเท้า หัวใจ สมอง ลดลง ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยความโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ได้รับการตรวจภาวะแทรกซ้อนทาง ตา ไต เท้า หัวใจ หลอดเลือดสมอง และมีภาวะแทรกซ้อนลดลง |
50.00 | 0.00 |
3 | 3. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในพื้นที่สามารถเข้าถึงการตรวจวัดติดตามระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตได้ด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในพื้นที่สามารถเข้าถึงการรับบริการ ร้อยละ 80 |
80.00 | 0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 300 | 21,780.00 | 3 | 21,780.00 | |
1 ส.ค. 67 - 31 ธ.ค. 67 | 2. กิจกรรมอบรมให้ความรู้และเสริมทักษะการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 300 คน | 300 | 19,800.00 | ✔ | 19,800.00 | |
1 - 30 ก.ย. 67 | กิจกรรมที่ 1 แกนนำสุขภาพในชุมชนมีความรู้และทราบถึงแนวทางการให้บริการ การดูแลผู้ป่วยในศูนย์บริการสุขภาพในชุมชน ( Health Station check ) | 0 | 900.00 | ✔ | 900.00 | |
1 พ.ย. 67 - 31 ธ.ค. 67 | กิจกรรมที่ 3 รายงานและติดตามผลของการดำเนิน ปัญหาและอุปสรรคในการจัดตั้งศูนย์การให้บริการ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาต่อยอด | 0 | 1,080.00 | ✔ | 1,080.00 |
- แกนนำด้านสุขภาพมีความรู้ ความสามารถในการดูแลผู้ป่วยและสามารถ่ายถอดความรู้ไปยังผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง
- ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้และทักษะการดูแลตนเองให้ควบคุมโรคได้ โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนของโรค
- ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในพื้นที่ได้รับการเข้าถึงการบริการอย่างทั่วถึง รวดเร็วและลดระยะเวลาการรอคอย มีความพึงพอใจเพิ่มขึ้น
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2567 16:14 น.