กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แดงหม้อ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ "สูงวัยอย่างมีคุณค่า ชราอย่างมีความสุข"

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แดงหม้อ

สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลเเดงหม้อ

1.นายสมชาย สายเสมา
2.นางสาวสมพร ทุมวงค์
3.นางนิภาพร นนนารถ
4.นายไชยวัฒน์ บุญอุ้ย
5.นางสาวพัชราพรรณหมื่นสุข

บ้านบุตร หมู่ที่ 3 เเละหมู่ที่ 4 ตำบลเเดงหม้อ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

63.46
2 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

51.22

การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรวัยสูงอายุอย่างรวดเร็วส่งผลถึงความต้องการการดูแลด้านสุขภาพ เพิ่มขึ้นตามเช่นเดียวกัน ในขณะที่ทุกคนต่างคาดหวังว่าจะมีอายุยืนยาวและมีสุขภาพดี แต่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มักมีโรคประจำตัวอย่างน้อยคนละ 1 โรคซึ่งเกิดจากการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันลดลง แต่ขณะเดียวกันมี เวลาอยู่นิ่งเฉย (Sedentary time) เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่มประชากรอายุอื่น
การมีกิจกรรมทางกาย ที่ไม่เพียงพอ และการมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง ของประชากรมีอัตราเพิ่มขึ้นทั่วโลก และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 4 ของประชากรโลก ในประเทศไทยพบว่า คนไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ร้อยละ 71 ของการเสียชีวิตทั้งหมด การมีกิจกรรมทางกายที่ลดลงร่วมกับการมีพฤติกรรมเนือยนิ่งที่เพิ่มขึ้น เป็นปัจจัยการเกิดโรคไม่ติดต่อ (Non-communicable disease: NCDs) มากมาย ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน ภาวะของเมตะบอลิคซินโดรม หรือ “โรคอ้วนลงพุง” ภาวะกระดูกพรุน ภาวะซึมเศร้าและ โรควิตกกังวล เป็นต้นทำให้คนไทย เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยจากโรคที่สามารถป้องกันได้ เพราะสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงหลักนั้นเกิดจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของแต่ละบุคคล
จากหลักการและเหตุผล ดังกล่าวองค์การบริหารส่วนตำบลแดงหม้อได้ตระหนักถึงความสำคัญการมีกิจกรรมทางการที่เพียงพอ ในกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ใหญ่เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี จึงได้จัดทำโครงการ สูงวัยอย่างมีคุณค่า ชราอย่างมีความสุข ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ

ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

63.46 65.46
2 เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

51.22 55.22

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 11
กลุ่มผู้สูงอายุ 12
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 14/08/2024

กำหนดเสร็จ 12/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ขั้นตอนที่ 1 ชี้เเจ้งรายละเอียดโครงการให้คณะทำงานทราบ

ชื่อกิจกรรม
ขั้นตอนที่ 1 ชี้เเจ้งรายละเอียดโครงการให้คณะทำงานทราบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.นัดหมายการประชุม คณะทำงาน นำโดย ผู้รับผิดชอบโครงการ ฝ่ายบริหารเเละเจ้าหน้าที่กองศึกษา จำนวน 5 คน,ผู้นำชุมชนจำนวน 6 คน ตัวเเทนชุมชน จำนวน 6 คน เเละรพ.สต.จำนวน 2 คน
2.ชี้เเจ้งรายละเอียดการจัดทำโครงการ เเละปรึกษาหากำหนดวันที่่จัดกิจกรรม รวมถึงเป้าหมายที่จะเข้าร่วม เป็นผู้สูงอายุในหมู่บ้าน จำนวน 23 คน
3.เสนอเนื้อหาข้อกิจกรรมให้ผู้คณะทำงานทราบเเละเเสดงความคิดเห็น 3.1 กิจกรรมเป็นลักษณะการบรรยายให้ความรู้-การสาธิตเเละให้ผู้เข้าอบรมฝึกปฏิบัติในห้องอบรมเเละส่วนของประชาชนในชุมชน จะสร้างสื่อประชาสัมพันธ์หอกระจายทุกเช้า เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญในการออกกำลังกาย
3.2 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้รับสมุดการเก็บข้อมูล เพื่อลงบันทึกกิจกรรมเเต่ละวันที่ได้มีกิจกรรมทางกาย อาทิเช่น การเดิน-ปั่นจักรยาน ไปตักบาตรตอนเช้า /ไปทำวัตรที่วัด/ไปซื้อของ /เดินทางไปประกอบอาชีพ เป็นต้น 3.3 มีการออกลงพื้นที่ดูกิจกรรม เเละถ่ายภาพ เพื่อติดตามผลจากการฝึกอบรม
4.เเบ่งหน้าที่รับผิดชอบเเต่ละส่วนงานในเเต่ละกิจกรรม 4.1 จัดทำหนังสือเพื่อเสนออนุมัติโครงการ 4.2 ติดต่อประสานเเละนัดหมายกับท่านวิทยากร รวมถึงประเด็นเนื้อหาที่จะมาประกอบการบรรยาย 4.3 เเจ้งประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานภายนอกทราบ เช่น ผู้นำเเต่ละหมู่บ้านประชาสัมพันธ์ ผู้ที่สนใจเข้าร่วมอบรม

ระยะเวลาดำเนินงาน
14 สิงหาคม 2567 ถึง 14 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.คณะทำงานเเต่ละส่วน ทราบถึงรายละเอียดเเละขั้นตอนของกิจกรรมในการจัดโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ขั้นตอนที่ 2 คัดกรอง พัฒนาศักยภาพกลุ่มเสี่ยงโรค NCDs ครั้งที่ 1

ชื่อกิจกรรม
ขั้นตอนที่ 2 คัดกรอง พัฒนาศักยภาพกลุ่มเสี่ยงโรค NCDs ครั้งที่ 1
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.กิจกรรมการดำเนินงานเชิญวิทยากรให้ความรู้จำนวน 1 ท่านซึ่งมีเนื้อหาในดำเนินกิจกรรมเเบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้
- ส่วนที่ 1.การบรรยายในหัวข้อหัวข้อที่ 1 .ความรู้เกี่ยวกับ กิจกรรมทางกาย ( PA: Physical Activity)หัวข้อที่ 2 การดูเเลสุขภาพผู้สูงวัย ตามหลักการ 3 อ. 2 ส.รหัสป้องกันโรค - ส่วนที่ 2 การสาธิต กิจกรรมทางกาย/การออกกำลังกาย เเละ การฝึกปฏิบัติรวมถึงเเนะนำ -ข้อควรระวังในการออกกำลังกาย
2.งบประมาณการดำเนินโครงการ (1) ค่าตอบเเทนวิทยากร (4 ชม.X 600 บาท x 1 คน) เป็นเงิน 2,400 บาท
(2) ค่าอาหารกลางวัน (23 คน X 60 บาท) เป็นเงิน 1,380 บาท
(3) อาหารว่าง (23 คนX40บาท X 1 มื้อ) เป็นเงิน 920 บาท (4) ค่าป้ายโครงการ จำนวน 1 ป้าย ขนาด 1 x 2 เมตร เป็นเงิน 240 บาท (5) ค่าวัสดุประกอบการอบรม จำนวน 1,560 บาท

3.กำหนดระยะการดำเนินโครงการ
ช่วงเช้า08.00- 08.30 น. -ลงทะเบียน
08.30 -08.40 น.- เปิดโครงการ ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลเเดงหม้อ
08.40- 12.00 น.- ฟังบรรยายภาคทฤษฏีส่วนที่ 1 หัวข้อที่ 1 -2 โดยวิทยากร นางรัชวรรณ เจริญชัยข้าราชการบำนาญ ตำเเหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ 12.00 - 13.00 น.-พักรับประทานอาหารกลางวัน ช่วงบ่าย 13.00 -15.00 น.-ฟังบรรยาย หัวข้อหัวข้อที่ 1 .ความรู้เกี่ยวกับ กิจกรรมทางกาย ( PA: Physical Activity) -ภาคปฏิบัติ ด้วนส่วนที่ 2 การสาธิต กิจกรรมทางกาย/การออกกำลังกาย เเละ การฝึกปฏิบัติรวมถึงเเนะนำ -ข้อควรระวังในการออกกำลังกาย
4.หลังจากที่ผ่านการอบรม ผู้เข้ารบรมจะได้รับ สมุดบันทึกข้อมูล1 เล่ม เเละอธิบายการบันทึกข้อมูล เพื่อเก็บข้อมูลในการทำกิจกรรมทางกายเเต่ละวันเพื่อวัดผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหลังจากอบรมรวมถึงพร้อมกำหนดวันนำส่งสมุด
5.การสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในชุมชนได้ตระหนักเเละได้ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมทางกาย จะดำเนินการทำสปอตวิทยุ ขอความอนุเคราะห์ให้ทางผุ้นำชุมชน นำไปเปิดเสียงตามสาย (หอกระจายข่าว ) ช่วงเช้า 20นาที

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 สิงหาคม 2567 ถึง 23 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจ เเละมีทักษาเพิ่มเติมกิจกรรมทางการ การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ 2.ผู้เข้าอบรมมีความรู้พื้นฐาน ตามหลัก 3 อ. 2 ส รหัสป้องกันโรค 3. เพิ่มสมรรถนะด้านความรู้ เรื่องการเพิ่มกิจกรรมทางกาย/ออกกำลังกาย3.ผู้เข้าอบรมสามารถเป็นเเกนนำเเละเป็นเเบบอย่างการออกกำลังกายหรือการทำกิจกรรทางกาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6500.00

กิจกรรมที่ 3 ขั้นตอนที่ 3 ติดตามผลการดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
ขั้นตอนที่ 3 ติดตามผลการดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ผู้เข้าอบรมจะได้รับสมุดบันทึกข้อมูล 1 เล่มเพื่อเป็นข้อมูลบันทึกส่วนที่ 1 ข้อมูลผู้เข้าอบรม -ความรู้ก่อนอบรม ส่วนที่ 2บันทึกกิจกรรมทางการที่ทำเเต่ละวัน (ตั้งเเต่วันที่ 23ส.ค 2567 - 13 กันยายน2567 ) อาทิ กิจกรรมเดิน - ปั่นจักรยาน ไปใส่บาตร/ ไปวัด/ ไปตลาด ไปสวน/เก็บขยะ/รดน้ำผักรวมกิจกรรมต่าง ๆส่วนที่ 3 สรุปวิเคราะห์ข้อมูล เป็นกิจกรรมที่ทำประจำ / เวลาทำกิจกรรม ชม ต่อสัปดาห์/ สุขภาพ เป็นต้น 2.กำหนดส่งสมุดบันทึกวันที่มาอบรมจบโครงการ ในวันที่ 11 กันยายน 2567 3.ประเมินผลการดำเนินการจากการสังเกต โดยให้คณะทำงานเเต่ละหมู่บ้าน ถ่ายภาพกิจกรรมต่าง ๆของผู้สูงอายุหรือผู้เข้าอบรมส่งให้ส่วนกลางเก็บข้อมูลใช้ประกอบ


2.งบประมาณการดำเนินโครงการ (1) ค่าตอบเเทนวิทยากร (2 ชม.X 600 บาท x 1 คน) เป็นเงิน 1,200 บาท (2) ค่าอาหารกลางวัน (23 คน X 60 บาท) เป็นเงิน 1,380 บาท
(3) อาหารว่าง (23 คนX40บาท X 1 มื้อ) เป็นเงิน 920 บาท

3.กำหนดระยะการดำเนินโครงการ
ช่วงเช้า 08.00- 08.30 น. -ลงทะเบียน
08.30-08.40 น. -เปิดโครงการ ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลเเดงหม้อ 08.40-10.00 น. -คัดกรองสุขภาพหลังจากการอบรม 10.00-12.00-เเลกเปลี่ยนความรู้ของผู้เข้าอบรมระหว่างกัน 12.00-13.00 น.- พักรับประทานอาหารกลางวัน ช่วงบ่าย 13.00 -15.00 น. ผู้เข้าอบรม ทำกิจกรรมนันทนาการฝึกงานฝีมือทำโมบาย -สรุปผลภาพรวมในการจัดกิจกรรมโดยหมอจาก รพ.สต.เเดงหม้อ

ระยะเวลาดำเนินงาน
11 กันยายน 2567 ถึง 11 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ได้ผลการดำเนินโครงการ โดยการผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่งสมุดบันทึกข้อมูลประจำเดือนเเละข้อมูลสรุปผล (ประเมินตนเอง)
2.ภาพถ่ายประกอบ โดยให้คณะทำงานเเต่ละหมู่บ้าน ถ่ายภาพกิจกรรมต่าง ๆของผู้สูงอายุหรือผู้เข้าอบรมส่งให้ส่วนกลางเก็บข้อมูลใช้ประกอบ (ประเมินภายนอก)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3500.00

กิจกรรมที่ 4 ขั้นตอนที่ 4 สรุปเเละรายงานการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ขั้นตอนที่ 4 สรุปเเละรายงานการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.รวบรวบสมุดบันทึกข้อมูลข้อมูลอบรม เพื่อนำมาสรุปผลดำเนิน-ผลที่ได้ตามระยะเวลาการดำเนินโครงการ -ระยะเเรก (ก่อนการอบรม) -ระยะหลังการอบรม 3 เดือน ตั้งเเต่ เดือนสิงหาคม 2567 ถึง กันยายน 2567 - ภาพรวมจากการสังเกต ข้อมูลจากคณะทำงานเเต่ละหมู่บ้าน
2.ทำรายงานสรุปผลการดำเนินงาน ข้อเสนอเเนะ เเละ ปัญหาที่เกิด เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการพัฒนาเเละเเก้ไขในการทำโครงการต่อไป 3.สรุปรายงานผลการดำเนินเเละนำเสนอข้อมูลให้ผู้เกี่ยวข้องเเละคณะทำงานได้ทราบผลการดำเนินงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
12 กันยายน 2567 ถึง 12 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ทราบผลดำเนินงาน ข้อเสนอเเนะะ เเละปัญหาที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการเพื่อเป็นข้อมูลเเละเเนวทางแก้ไขในการจัดทำโครงการครั้งถัดไป 2.จากสื่อประชาสัมพันธ์หอกระจายข่าวเเต่ละหมู่บ้านทำให้มีผู้สนใจเเละมีการทำกิจกรรมทางกายมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์) ร้อยละ 65.66
2.เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่ ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)ร้อยละ 55.22


>