กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

รู้จักเลือก รู้จักใช้ ปลอดภัยจากการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และเครื่องสำอาง ตำบลละงู

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)ตำบลละงู

1. นางสุวรรณีติ้งหวัง
2. นางลัดดาวัลวงศ์น้ำรอบ
3. นางบีฉ๊ะองศารา
4. นางฮาดีน๊ะสาหมีด
5. นางกลิ่น แซ่เบ้

หมู่ 1 - 18 ตำบลละงู

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ

 

20.00
2 ร้านค้าในตำบลละงูจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพและ/หรือ เครื่องสำอางที่ผิดกฎหมาย

 

5.00

อสม.ถือเป็นแนวหน้าในการทำงานคุ้มครองผู้บริโภค เนื่องจากเป็นผู้ใกล้ชิดผู้บริโภคในชุมชน หากอสม.มีความรู้ความเข้าใจและเท่าทันกับสิ่งที่ไม่ปลอดภัย ก็จะสามารถเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ไม่ถูกต้อง สามารถเตือนภัยอันตรายให้กับผู้คนในชุมชน และยังสามารถส่งต่อข้อมูลเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปลอดภัยให้แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต่อไปได้ (ข้อมูลจาก คู่มือ อสม.คุ้มครองผู้บริโภค,สสส.) และจากงานวิจัยโครงการพัฒนาระบบคุ้มครองผู้บริโภคภาคใต้ได้ทำการวิจัยบทบาท อสม.ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ใน 3 จังหวัด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี สงขลา และสตูล พบว่าผลิตภัณฑ์ที่มักประสบปัญหาของผู้บริโภคมาก คือ เครื่องสำอาง และนมพร้อมดื่ม สิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการคือ เพิ่มช่องทางและโอกาสร้องเรียนของผู้บริโภคให้มากขึ้น (ข้อมูลจากงานวิจัยโครงการพัฒนาระบบคุ้มครองผู้บริโภคภาคใต้ โดย เภสัชกรสมชาย ละอองพันธุ์)อสม.และประชาชนสามารถใช้ชุดทดสอบสารต้องห้ามเบื้องต้นของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตรวจทดสอบผลิตภัณฑ์ที่เข้าข่ายหรือสงสัยว่าอาจมีสารปนเปื้อนได้ด้วยตนเอง (ข้อมูลจาก คู่มือ อสม.คุ้มครองผู้บริโภค,สสส.)
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลละงู มีสมาชิกทั้งสิ้น 317 คน มีบทบาทหน้าที่ตามมาตรฐานการสาธารณสุขมูลฐาน และตามมาตรฐานสมรรถนะ อสม. (ข้อมูลจากคู่มืออสม.ยุคใหม่ กระทรวงสาธารณสุข)ซึ่งการดำเนินงานจากที่ผ่านมา ชมรม อสม. ตำบลละงู เน้นการป้องกันและควบคุมโรค ทั้งโรคติดต่อ และโรคเรื้อรัง เช่น ไข้เลือดออก โควิด 19 เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น แต่ยังขาดผลการดำเนินงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ทำให้ยังไม่มีฐานข้อมูลของงานคุ้มครองผู้บริโภค ประกอบกับได้รับทราบข้อมูลการสุ่มสำรวจร้านค้าที่ขายเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สุขภาพในพื้นที่อำเภอละงู โดย เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคอำเภอละงู จำนวน 4 ร้าน พบเครื่องสำอางเข้าข่ายผิดกฎหมาย 15 ผลิตภัณฑ์ที่ยังวางขายในร้าน ได้แก่ ครีมฝาสีขาว, Clobetamil G ครีมพม่า, ครีม Mui Lee Hiang, ครีมประทินผิว Best Beauty, สบู่บัวหิมะ, Gold Mask, KT Night Cream, Aura White, สบู่ไข่มุกผสมหิมะ, สบู่น้ำนมข้าว, K.Brothers, สบู่ไวท์เทนนิ่งไรท์มิ้ลค์, Collagen Beauty ream และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเข้าข่ายผิดกฎหมาย 2 ผลิตภัณฑ์ที่ยังวางขายในร้าน ได้แก่ S Slim ผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก และ Collagen Bio Clinic ผิวขาว (ข้อมูลจากหน่วยงานประจำจังหวัดสตูล สภาองค์กรของผู้บริโภค) ซึ่ง หากยังมีการจำหน่ายหรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่เข้าข่ายผิดกฎหมายเหล่านี้ อาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของผู้บริโภค
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลละงู เห็นความสำคัญในการป้องกันและต้องการส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลละงูมีความรู้ความเข้าใจในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอางที่ปลอดภัยโดยการสำรวจข้อมูลเพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูลร้านค้าในพื้นที่ตำบลละงูที่มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอางเข้าข่ายผิดกฎหมาย และให้คำแนะนำกรณีตรวจพบสารปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์สุขภาพที่จำหน่าย โดยประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ร่วมลงตรวจทดสอบผลิตภัณฑ์ และการออกเกียรติบัตรให้แก่ร้านค้าที่ผ่านการสำรวจแล้วพบว่าจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกกฎหมายและปลอดภัย จึงได้จัดทำ “โครงการรู้จักเลือก รู้จักใช้ ปลอดภัยจากการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และเครื่องสำอาง ตำบลละงู” ขึ้น โดยการสร้างแกนนำเพื่อเป็นตัวแทนในการเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชนในตำบลละงู และเฝ้าระวัง ตรวจสอบ ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายภายในตำบลละงูต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเกิดกลไกเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอางเข้าข่ายผิดกฎหมายในพื้นที่ตำบลละงู

แกนนำผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจด้านการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพและสามารถถ่ายทอดให้แก่ประชาชนได้

80.00 80.00
2 เพื่อลดการใช้/จำหน่าย ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยหรือผิดกฎหมาย

ร้านค้าในตำบลละงู ไม่จำหน่ายผลิตภัณฑ์เสรอมอาหารและ/หรือเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยหรือผิดกฎหมาย

100.00 100.00
3 เพื่อสร้างนวัตกรรมการเฝ้าระวังและรับแจ้งเหตุ กรณีพบผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย

เกิดนวัตกรรมที่ใช้ในการเฝ้าระวังและรับแจ้งเหตุ กรณีพบผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย

1.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 180
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2024

กำหนดเสร็จ 31/12/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้สร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่แกนนำ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้สร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่แกนนำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 อบรมให้ความรู้แกนนำเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ ได้แก่ ยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และเครื่องสำอาง จำนวน 180 คน ระยะเวลา 1 วัน ณ อาคารสนามฟุตซอล อบต.ละงู 1.2 แกนนำ นำความรู้ที่ได้รับส่งต่อให้แก่ประชาชนในพื้นที่ และร้านค้าที่ลงสำรวจ รายละเอียดงบประมาณ ดังนี้ - ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อ 180 คน x 80 บาท = 14,400 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อๆละ 35 บาท x 180 คน = 12,600 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยาย 2 คนๆละ 3 ชม.ละ 600 บาท = 3,600 บาท - ค่าจัดทำคู่มือให้ความรู้ ชุดละ 20 บาท x 180 ชุด = 3,600 บาท - ค่าจัดทำแบบทดสอบความรู้ก่อน-หลังการอบรม จำนวน 360 แผ่นๆละ 1 บาท = 360 บาท - ค่าแฟ้มกระดุม สมุดจดบันทึก ปากกา ชุดละ 50 บาท x 180 ชุด = 9,000 บาท - ค่าป้ายไวนิลโครงการขนาด 1.2 x 2.4 ตร.ม. จำนวน 1 ป้าย = 346 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 สิงหาคม 2567 ถึง 31 ตุลาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ ได้แก่ ยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และเครื่องสำอาง และสามารถถ่ายทอดความรู้สู้ประชาชนได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
43906.00

กิจกรรมที่ 2 สำรวจการจำหน่ายและจัดทำฐานข้อมูลร้านค้าที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและ/หรือเครื่องสำอาง หมู่ที่ 1-18 ตำบละงู

ชื่อกิจกรรม
สำรวจการจำหน่ายและจัดทำฐานข้อมูลร้านค้าที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและ/หรือเครื่องสำอาง หมู่ที่ 1-18 ตำบละงู
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

แกนนำลงสำรวจการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านค้าภายในตำบลละงู ตรวจหาสารสเตียรอยด์ในเครื่องสำอาง ตรวจสอบฉลากผลิตภัณฑ์สุขภาพ และจัดทำทะเบียนเพื่อเป็นฐานข้อมูล และลงสำรวจติดตามหลังอบรม 1 เดือน และ 3 เดือน
รายละเอียดงบประมาณ ดังนี้ - ค่าสำเนาแบบสำรวจ จำนวน 1,800 ชุดๆละ 1 บาท = 1,800 บาท - ค่าจัดซื้อชุดทดสอบเครื่องสำอางแบบ 4 in 1 (สารสเตียรอยด์,สารไฮโดรควิโนน,สารปรอท และกรดเรทิโนอิก)ขนาด 5 Test/กล่อง จำนวน 50 กล่องๆละ 2,250 บาท = 112,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 สิงหาคม 2567 ถึง 30 พฤศจิกายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีฐานข้อมูลร้าค้าที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพ และผ่านการทดสอบและตรวจสอบว่าปลอดภัยต่อผู้บริโภค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
114300.00

กิจกรรมที่ 3 มอบเกียรติบัตรร้านค้าขายผลิตภัณฑ์สุขภาพปลอดภัย

ชื่อกิจกรรม
มอบเกียรติบัตรร้านค้าขายผลิตภัณฑ์สุขภาพปลอดภัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

มอบเกียรติบัตรร้านค้าขายผลิตภัณฑ์สุขภาพปลอดภัย รายละเอียดงบประมาณ ดังนี้ - ค่าจัดทำเกียรติบัตรร้านค้าขายผลิตภัณฑ์สุขภาพปลอดภัย จำนวน 180 แผ่นๆละ 10 บาท = 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้านค้าที่ผ่านการตรวจสอบและทดสอบ ได้รับเกียรติบัตรร้านค้าขายผลิตภัณฑ์สุขภาพปลอดภัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1800.00

กิจกรรมที่ 4 จัดทำนวัตกรรมการเฝ้าระวังและรับแจ้งเหตุกรณีพบผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย ด้วยแอพพลิเคชั่นในโทรศัพท์มือถือ

ชื่อกิจกรรม
จัดทำนวัตกรรมการเฝ้าระวังและรับแจ้งเหตุกรณีพบผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย ด้วยแอพพลิเคชั่นในโทรศัพท์มือถือ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำนวัตกรรมการเฝ้าระวังและรับแจ้งเหตุกรณีพบผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย ด้วยแอพพลิเคชั่นในโทรศัพท์มือถือ -ไม่ใช้งบประมาณ-

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 สิงหาคม 2567 ถึง 30 พฤศจิกายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดนวัตกรรมที่ใช้เฝ้าระวังและรับแจ้งเหตุกรณีพบผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย ด้วยแอพพลิเคชั่นในโทรศัพท์มือถือ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแบบรายงาน ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.ละงู

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแบบรายงาน ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.ละงู
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแบบรายงาน ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.ละงู

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2567 ถึง 20 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สรุปผล จัดทำรายงานผลในระบบ และปิดโครงการ จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 160,006.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. แกนนำที่เข้ารับการอบรมและประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง
2. ร้านค้าในตำบลละงู ไม่จำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมาย
3. เกิดนวัตกรรมการเฝ้าระวังและรับแจ้งเหตุกรณีพบผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย


>