รู้จักเลือก รู้จักใช้ ปลอดภัยจากการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และเครื่องสำอาง ตำบลละงู
ชื่อโครงการ | รู้จักเลือก รู้จักใช้ ปลอดภัยจากการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และเครื่องสำอาง ตำบลละงู |
รหัสโครงการ | 67-L5313-02-008 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)ตำบลละงู |
วันที่อนุมัติ | 16 สิงหาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 16 สิงหาคม 2567 - 31 ธันวาคม 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ธันวาคม 2567 |
งบประมาณ | 117,781.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | 1.นางสุวรรณี ติ้งหวัง 2.นางฮาดีน๊ะ สาหมีด 3.นางกลิ่น แซ่เบ้ 4.นางบีฉ๊ะ องศารา 5. นางลัดดาวัล วงศ์น้ำรอบ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 117,781.00 | |||||
รวมงบประมาณ | 117,781.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 180 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ | 20.00 | ||
2 | ร้านค้าในตำบลละงูจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพและ/หรือ เครื่องสำอางที่ผิดกฎหมาย | 5.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
อสม.ถือเป็นแนวหน้าในการทำงานคุ้มครองผู้บริโภค เนื่องจากเป็นผู้ใกล้ชิดผู้บริโภคในชุมชน หากอสม.มีความรู้ความเข้าใจและเท่าทันกับสิ่งที่ไม่ปลอดภัย ก็จะสามารถเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ไม่ถูกต้อง สามารถเตือนภัยอันตรายให้กับผู้คนในชุมชน และยังสามารถส่งต่อข้อมูลเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปลอดภัยให้แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต่อไปได้ (ข้อมูลจาก คู่มือ อสม.คุ้มครองผู้บริโภค,สสส.) และจากงานวิจัยโครงการพัฒนาระบบคุ้มครองผู้บริโภคภาคใต้ได้ทำการวิจัยบทบาท อสม.ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ใน 3 จังหวัด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี สงขลา และสตูล พบว่าผลิตภัณฑ์ที่มักประสบปัญหาของผู้บริโภคมาก คือ เครื่องสำอาง และนมพร้อมดื่ม สิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการคือ เพิ่มช่องทางและโอกาสร้องเรียนของผู้บริโภคให้มากขึ้น (ข้อมูลจากงานวิจัยโครงการพัฒนาระบบคุ้มครองผู้บริโภคภาคใต้ โดย เภสัชกรสมชาย ละอองพันธุ์)อสม.และประชาชนสามารถใช้ชุดทดสอบสารต้องห้ามเบื้องต้นของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตรวจทดสอบผลิตภัณฑ์ที่เข้าข่ายหรือสงสัยว่าอาจมีสารปนเปื้อนได้ด้วยตนเอง (ข้อมูลจาก คู่มือ อสม.คุ้มครองผู้บริโภค,สสส.)
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลละงู มีสมาชิกทั้งสิ้น 317 คน มีบทบาทหน้าที่ตามมาตรฐานการสาธารณสุขมูลฐาน และตามมาตรฐานสมรรถนะ อสม. (ข้อมูลจากคู่มืออสม.ยุคใหม่ กระทรวงสาธารณสุข)ซึ่งการดำเนินงานจากที่ผ่านมา ชมรม อสม. ตำบลละงู เน้นการป้องกันและควบคุมโรค ทั้งโรคติดต่อ และโรคเรื้อรัง เช่น ไข้เลือดออก โควิด 19 เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น แต่ยังขาดผลการดำเนินงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ทำให้ยังไม่มีฐานข้อมูลของงานคุ้มครองผู้บริโภค ประกอบกับได้รับทราบข้อมูลการสุ่มสำรวจร้านค้าที่ขายเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สุขภาพในพื้นที่อำเภอละงู โดย เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคอำเภอละงู จำนวน 4 ร้าน พบเครื่องสำอางเข้าข่ายผิดกฎหมาย 15 ผลิตภัณฑ์ที่ยังวางขายในร้าน ได้แก่ ครีมฝาสีขาว, Clobetamil G ครีมพม่า, ครีม Mui Lee Hiang, ครีมประทินผิว Best Beauty, สบู่บัวหิมะ, Gold Mask, KT Night Cream, Aura White, สบู่ไข่มุกผสมหิมะ, สบู่น้ำนมข้าว, K.Brothers, สบู่ไวท์เทนนิ่งไรท์มิ้ลค์, Collagen Beauty ream และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเข้าข่ายผิดกฎหมาย 2 ผลิตภัณฑ์ที่ยังวางขายในร้าน ได้แก่ S Slim ผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก และ Collagen Bio Clinic ผิวขาว (ข้อมูลจากหน่วยงานประจำจังหวัดสตูล สภาองค์กรของผู้บริโภค) ซึ่ง หากยังมีการจำหน่ายหรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่เข้าข่ายผิดกฎหมายเหล่านี้ อาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของผู้บริโภค
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลละงู เห็นความสำคัญในการป้องกันและต้องการส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลละงูมีความรู้ความเข้าใจในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอางที่ปลอดภัยโดยการสำรวจข้อมูลเพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูลร้านค้าในพื้นที่ตำบลละงูที่มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอางเข้าข่ายผิดกฎหมาย และให้คำแนะนำกรณีตรวจพบสารปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์สุขภาพที่จำหน่าย โดยประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ร่วมลงตรวจทดสอบผลิตภัณฑ์ และการออกเกียรติบัตรให้แก่ร้านค้าที่ผ่านการสำรวจแล้วพบว่าจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกกฎหมายและปลอดภัย จึงได้จัดทำ “โครงการรู้จักเลือก รู้จักใช้ ปลอดภัยจากการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และเครื่องสำอาง ตำบลละงู” ขึ้น โดยการสร้างแกนนำเพื่อเป็นตัวแทนในการเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชนในตำบลละงู และเฝ้าระวัง ตรวจสอบ ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายภายในตำบลละงูต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อเกิดกลไกเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอางเข้าข่ายผิดกฎหมายในพื้นที่ตำบลละงู -มีกลไกเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอางเข้าข่ายผิดกฎหมายในพื้นที่ตำบลละงูจำนวน 1 ชุด -ร้อยละ 100 ของร้านค้าในพื้นที่ตำบลละงูที่ตรวจพบว่า จำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอางที่เข้าข่ายผิดกฎหมายไม่นำมาจำหน่ายซ้ำ |
80.00 | 100.00 |
2 | เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจอันตรายจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพและเครื่องสำอาง เข้าข่ายผิดกฎหมาย
ให้กับแกนอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่ตำบลละงู ร้อยละ 90 ของแกนนำมีความรู้ความเข้าใจอันตรายจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพและเครื่องสำอาง เข้าข่ายผิดกฎหมาย |
100.00 | 100.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 681 | 117,781.00 | 0 | 0.00 | |
5 ก.ย. 67 | สื่อสารประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลเรื่องโทษของการใช้เครื่องสำอางผลิตภัณฑ์สุขภาพอันตราย | 0 | 0.00 | - | ||
5 ก.ย. 67 | เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถอดบทเรียนการดำเนินงานโครงการ สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแบบรายงาน | 30 | 9,600.00 | - | ||
9 ก.ย. 67 | ประชุมคณะทำงานโครงการจำนวน 25 คน | 25 | 2,971.00 | - | ||
23 ก.ย. 67 | อบรมให้ความรู้แกนนำ อสม. เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ | 180 | 56,160.00 | - | ||
1 - 31 ต.ค. 67 | สำรวจการจำหน่ายและจัดทำฐานข้อมูลร้านค้าที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและ/หรือเครื่องสำอาง หมู่ที่ 1 – 18 ตำบลละงู | 180 | 35,550.00 | - | ||
1 - 10 พ.ย. 67 | เวทีคืนข้อมูลร่วมกำหนดกติการ้านชำปลอดผลิตภัณฑ์สุขภาพเครื่องสำอางเสี่ยงผิดกฎหมาย | 50 | 4,500.00 | - | ||
1 - 20 ธ.ค. 67 | ติดตามประเมินผลร้านค้าในพื้นที่ตำบลละงูจำนวน 2 ครั้ง | 36 | 7,200.00 | - | ||
2 ธ.ค. 67 | มอบเกียรติบัตรร้านค้าขายผลิตภัณฑ์สุขภาพปลอดภัย ออกโดยสภาองค์กรของผู้บริโภค หน่วยงานจังหวัดสตูล | 180 | 1,800.00 | - |
- แกนนำที่เข้ารับการอบรมและประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง
- ร้านค้าในตำบลละงู ไม่จำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมาย
- เกิดนวัตกรรมการเฝ้าระวังและรับแจ้งเหตุกรณีพบผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ก.ค. 2567 00:00 น.