กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขามีเกียรติ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 80 (วังปริงเพ็ชรไพศาล)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขามีเกียรติ

โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 80 (วังปริงเพ็ชรไพศาล)

-

โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 80 (วังปริงเพ็ชรไพศาล)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 80 (วังปริงเพ็ชรไพศาล) เป็นโรงเรียนที่ขับเคลื่อนการดำเนินงานตามโครงการสุขภาพดีด้วยทฤษฎีเพื่อน (ตาย) ด้วยหลัก 10 อ (Thailand 10 for Health) วิถีชีวิตใหม่ยุคดิจิทัลตามแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ที่ทรงมุ่งส่งเสริมให้คนไทยมีสุขภาพดี ซึ่งการเสริมสร้างสุขภาพกับการศึกษา เป็นสิ่งที่จะต้องดำเนินการควบคู่กันไป การพัฒนาเด็กและเยาวชนจึงอยู่ที่กระบวนการจัดการศึกษาและการสร้างสุขภาพ ภายใต้ความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง นับตั้งแต่ระดับครอบครัว โรงเรียน ชุมชนและองค์กรในท้องถิ่นจะต้องประสานความร่วมมือ ประสานประโยชน์ที่เอื้อต่อการพัฒนาเด็กให้มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขและปลอดภัย ดังนั้นโรงเรียนจึงต้องมีหน้าที่ให้ความรู้และพัฒนาคนให้มีสุขภาพและศักยภาพที่ดี ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีความรู้ความเข้าใจ รู้เท่าทันสื่อโซเซียลและข้อมูลข่าวสารด้านสุขอนามัย การส่งเสริมสุขภาพอนามัยในโรงเรียนจึงจำเป็นต่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า การส่งเสริมสุขภาพและอนามัยแก่นักเรียน การให้ความรู้ด้านสุขภาพ ช่วยให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 80 (วังปริงเพ็ชรไพศาล) มีความตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพของนักเรียน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพขึ้นภายใต้แนวทางการดำเนินงานของโครงการสุขภาพดีด้วยทฤษฎีเพื่อน (ตาย)ด้วยหลัก 10 อ (Thailand 10 for Health) วิถีชีวิตใหม่ยุคดิจิทัลเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้การดูแลรักษาสุขภาพร่างกายการป้องกันโรคและภัยอันตรายใกล้ตัวต่างๆที่อาจเกิดขึ้นกับนักเรียนได้ถูกต้องได้ ตลอดจนนักเรียนสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ จึงจัดให้มีโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมให้นักเรียน ป.4-6 และ ม.1-3 ได้รับการอบรมความรู้ด้าน อย.น้อย 2. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนชั้น ป.1-6 และ ม.1-3 เข้าร่วมอบรมเป็นจิตอาสางานด้านอนามัยโรงเรียน 3. เพื่อนักเรียนได้มีสุขภาพเส้นผมที่ดีและปราศจากเหา 2.4 เพื่อให้บริการด้านสุขภาพเบื้องต้นแก่นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน

1 ร้อยละ 80 นักเรียนชั้น ป.4-6 และ ม.1-3 เข้าร่วมอบรมเป็น อย.น้อย
2 ร้อยละ 80 นักเรียนชั้น ป.1-6 และ ม.1-3 เข้าร่วมอบรมเป็นจิตอาสางานด้านอนามัยโรงเรียน 3 ร้อยละ 80 นักเรียนได้รับการกำจัดเหาด้วยพืชสมุนไพร 4 ร้อยละ 80 นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนได้รับบริการเบื้องต้นด้านสุขภาพ

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/09/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.จัดอบรม อย.น้อย 2. อบรมจิตอาสางานด้านอนามัย 3. การกำจัดเหาด้วยพืชสมุนไพรในท้องถิ่น

ชื่อกิจกรรม
1.จัดอบรม อย.น้อย 2. อบรมจิตอาสางานด้านอนามัย 3. การกำจัดเหาด้วยพืชสมุนไพรในท้องถิ่น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรม อย.น้อย -ค่าป้ายไวนิลโครงการ 1.52.4 ม.=540 -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท 30 คน * 2 มื้อ =  1,500 บาท - ชุดตรวจแบคทีเรียในอาหาร(SI 2)
จำนวน 1 กล่อง เป็นเงิน 1,200 บาท - ชุดตรวจสารบอแรกซ์(50 ชุด) 1 กล่อง เป็นเงิน 400  บาท - ชุดตรวจสารกันรา (50 ชุด) 1 กล่อง   เป็นเงิน 400 บาท - ชุดตรวจสารฟอกขาว(50 ชุด) จำนวน 1 กล่อง เป็นเงิน 400 บาท - ชุดตรวจสารฟอร์มาลีน (30 ชุด)              จำนวน 1 กล่อง เป็นเงิน 2,000 บาท - ชุดตรวจน้ำมันทอดซ้ำ (25 ชุด) 1 กล่อง เป็นเงิน 400 บาท 2. อบรมจิตอาสางานด้านอนามัย -ค่าป้ายไวนิลโครงการ 1.52.4 ม.=540 -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท 30 คน * 2 มื้อ =  1,500 บาท - เอกสารประกอบการอบรมจำนวน 30 ชุดราคาชุดละ 10 บาท เป็นเงิน 300 บาท 3. การกำจัดเหาด้วยพืชสมุนไพรในท้องถิ่น ค่าป้ายไวนิลโครงการ 1.52.4 ม.=540 บาท ค่าผ้าขนหนูผืนกลาง  109 ผืน * 15 บาท = 1,635 บาท กะละมัง 5010 = 500 บาท ขันน้ำ  5020 = 1,000  บาท แชมพูสระผม 240 * 6 โหล = 1,440 บาท หมวกคลุมอาบน้ำ 10920 = 2,180 บาท หวีเสนียด 109*10 = 1,090  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียนระดับชั้น ป.1 – ม.2 เข้าร่วมเป็นคณะทำงานด้านสุขภาพของโรงเรียน กลุ่ม อย.น้อย
    จิตอาสางานด้านอนามัย
    2 นักเรียนได้รับการกำจัดเหาด้วยสมุนไพรพื้นบ้านของท้องถิ่น
    3 มีบริการด้านสุขภาพเบื้องต้นแก่นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17565.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,565.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>