กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาประดู่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก เขตอบต.นาประดู่ ประจำปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาประดู่

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 2

หมู่ที่ 1 2 3 4 5 7 และ 8 ตำบลนาประดู่ อำเภอโคกโพธิ์ จ.ปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออก เป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยมานาน ส่วนใหญ่มักเป็นในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ในผู้ใหญ่อาจพบได้บ้าง บางรายอาการรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้พื้นที่ตำบลนาประดู่ เป็นพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกและเป็นมาอย่างต่อเนื่อง ส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงฤดูฝนของทุกปี
ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการตรียมพร้อมในการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคอย่างเข้มข้นในพื้นที่ การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้เกิดความตระหนัก ในการเฝ้าระวัง และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ การควบคุมให้ได้ผลอย่างรวดเร็วนั้น ต้องตัดวงจรการติดต่อของโรคอย่างทันท่วงที จึงจำเป็นต้องมีมาตรการควบคุมที่เคร่งครัด ชัดเจน และมีมาตรฐาน ให้ทันต่อสภาวการณ์แพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 4จึงได้จัดทำโครงการชาวนาประดู่ร่วมใจป้องกันภัยจากโรคไข้เลือดออก เขต อบต.นาประดู่ ประจำปี 2568 ขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการป้องกัน เผ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออกให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำชุมชน และประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกตามหลัก 3 เก็บ 3 โรค

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ความเข้าใจและ  ตระหนักในการป้องกันโรคไข้เลือดออก  ตามหลัก 3 เก็บ 3 โรค

85.00 85.00
2 เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดและลดอัตราป่วยของโรคไข้เลือดออก

อัตราป่วยของโรคไข้เลือดออกลดลง

85.00 85.00
3 เพื่อลดค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย ( HI CI ) ของแต่ละหมู่บ้าน มีค่าไม่เกิน 10

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย ( HI  CI ) ของแต่ละหมู่บ้าน  มีค่าไม่เกิน 10

85.00 85.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 85
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก แก่ อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก แก่ อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก แก่ อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำชุมชน

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 86 คนx 35 บาท x2 มื้อ x 1 ครั้ง เป็นเงิน 6,020 บาท

  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 86 คนx 60บาท x 1มื้อ x 1 ครั้ง เป็นเงิน 5,160 บาท

  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คน x 6 ชั่วโมง x300 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

  • ค่าอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม จำนวน 85 ชุด x 50 บาท เป็นเงิน4,250 บาท

  • ค่าเอกสารที่ใช้ในการอบรม จำนวน 85 ชุด x 5 บาท เป็นเงิน 425 บาท

  • ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1 x 4 เมตร เมตรละ 250 บาทจำนวน 1 แผ่น เป็นเงิน 1,000 บาท

  • ค่าสเปรย์ฉีดยุง ขนาด 300 มล. จำนวน 7 โหลๆ ละ 800 บาท เป็นเงิน 5,600 บาท
    รวมเป็นเงิน 24,255 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกตามหลัก 3 เก็บ 3 โรคได้อย่างถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24255.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ ประชาชน เรื่องโรคไข้เลือดออก พร้อมทำลาย แหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ ประชาชน เรื่องโรคไข้เลือดออก พร้อมทำลาย แหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชน เรื่องโรคไข้เลือดออก พร้อมทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 85 คน x35 บาท x 1มื้อ x 1ครั้งเป็นเงิน 2,975 บาท

  • เอกสารให้ความรู้เรื่องไข้เลือดออก จำนวน 1,000 ชุด x 3 บาทเป็นเงิน 3000 บาท

  • ทรายอะเบทจำนวน 1 ถัง 4,500 เป็นเงิน 4500บาท

รวมเป็นเงิน 10,475 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ลูกน้ำยุงลายถูกกำจัด และอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10475.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมประชุมตัวแทนทีมสุ่มประเมิน และลงพื้นที่ออกสุ่มประเมินลูกน้ำยุงลาย 15 คน จำนวน 2 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมตัวแทนทีมสุ่มประเมิน และลงพื้นที่ออกสุ่มประเมินลูกน้ำยุงลาย 15 คน จำนวน 2 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมประชุมตัวแทนทีมสุ่มประเมิน และลงพื้นที่ออกสุ่มประเมินลูกน้ำยุงลาย 15 คน จำนวน 2 ครั้ง

มีงบประมาณดังนี้

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 15 คน x35 บาท x 2มื้อ x 2ครั้ง  เป็นเงิน  2,100 บาท

  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 15 คนx 60 บาท x1 มื้อ x 2ครั้ง เป็นเงิน 1,800บาท

รวมเป็นเงิน 3,900บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ค่า HI CI ในชุมชนลดลงและไม่เกินตามเกณฑ์ที่กำหนด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 38,630.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกตามหลัก 3 เก็บ 3 โรคได้อย่างถูกต้อง

2. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง

3. ค่า HI CI ในชุมชนลดลงและไม่เกินตามเกณฑ์ที่กำหนด


>